:: กราวน์ไวร์ Ground Wire เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมกันมากในรถแข่ง แต่ที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นเพราะส่วนใหญ่เขาจะไม่ใช้สีสันใช้เป็นสายสีดำจนเรามองผ่านๆ เป็นส่วนช่วยให้ไฟฟ้ากระแสลบเดินครบวงจรมากขึ้นกว่าการใช้ตัวถังรถเป็นส่วนนำไฟฟ้าแบบโรงงาน
:: แล้วมันช่วยอะไรได้บ้าง
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดตั้งร้อยละเก้าสิบให้ความคิดเห็นว่า อัตราเร่งดีขึ้น เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น
มีแนวโน้มประหยัดน้ำมันมากขึ้นแต่ไม่กินมากไปกว่าเดิมแน่ ( ยกเว้นแต่จะกระทืบคันเร่งมากกว่าเดิม )
สตารท์ง่ายขึ้น เสียงดังของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ปั้มติ๊ก พัดลมแอร์ เสียงกวนวิทยุลดลง และอีกมากมายมีแต่จะดีขึ้น
มิน่าล่ะนักแต่งรถอเมริกาและญี่ปุ่นถึงนิยมกันนัก อย่างนี้ต้องรีบหามาติดตั้งบ้าง แต่พอไปเจอราคา
แล้วแทบจะเปลี่ยนใจ เพราะราคามีตั้งแต่ 1,500 จนถึง 8,000 บาท ยิ่งเป็นของสำนักแต่งแรงๆกลับยิ่งแพงมาก
หน้าตาก็เหมือนๆกันเก็บสตางค์ไว้เติมน้ำมันดีกว่า แต่จริงๆแล้วเราสามารถทำเองได้ด้วยงบประมาณ
ไม่กี่ร้อยบาทอย่างนี้ค่อยน่าลงทุนลงแรงทำกันหน่อย
:: รู้จักประโยชน์ และ จุดที่จะติดตั้ง
ก่อนที่เราจะติดตั้งคุณต้องรู้ก่อนว่าจะติดตั้งที่ไหนเพราะอะไรจึงจะมีประโยชน์สูงสุด และ สิ้นงบประมาณ น้อยที่สุด
1. แบตเตอร์รี่ ที่ขั้วลบเป็นหัวใจหลักของงานเป็นตัวที่เราจะดึงกระแสไฟฟ้า ไปใช้ในส่วนต่างๆ ของ เครื่องยนต์ และ
ในรถนต์
2. ขั้วดินของไดชารจ์ ไดชารจ์เป็นตัวสร้างกระแสไฟไปเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอร์รี่ ถ้าไฟชารจ์เข้า แบตเตอร์ร ี่ได้ไวขึ้น
ไดชารจ์จะตัดการทำงานเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ มีส่วนให้ประหยัดน้ำมัน ได้มากขึ้น
3. ขั้วกราวน์ของกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์รวมของกระแสลบที่จะต่อเข้าเซนเซอร์ต่างๆ เช่น กล่องควบคุมเครื่องยนต์
, หัวฉีด , คอยล์ , จานจ่าย ,ปั้มน้ำมัน,เซนเซอร์เครื่องยนต์ ฯลฯ ส่วนใหญ่ ่ทุกเครื่องยนต์จะมีสายรวมกราว์นที่ออกมา
จากกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดสายไฟยึดลงกราวน์รวมไว้ที่เครื่องโดยอาศัยโลหะตัวเครื่องเป็นตัวส่งกระแสไฟ
แต่ตัวเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยโลหะหลายชนิด รวมกันทำให้เกิดความต้านทาน ดังนั้นการต่อไฟตรงจะทำให้กล่อง
และเซนเซอร์ต่างๆ ควบคุมทำงาน ได้เต็มที่ เครื่องยนต์เดินราบเรียบขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น
4. สายกราวน์รวมของตัวถังรถยนต์ สังเกตว่าโรงงานจะอาศัยตัวถังรถยนต์ที่เป็นเหล็กเป็นส่วนนำไฟฟ้า แต่เนื่องจาก
เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จะมีความต้านทานมากสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรมองหา สายดินรวมของตัวถังรถยนต์
ส่วนใหญ่แล้วมักต้องไล่ดูจากชุดสายไฟ จะทำให้ระบบไฟต่างๆ ในรถยนต์ ทำงานดีขึ้น เช่นไฟหน้าสว่างขึ้น
พัดลมไฟฟ้าทำงานแรงขึ้น และอีกมาก
5. สายดินของเครื่องยนต์ แถวๆไดสตาร์ทจะทำให้รถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น
6. อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องเสียง เพาเวอร์แอมป์ ที่เพิ่มเข้าไปจะทำให้ทุกอย่าง ทำงานได้
้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
:: การเตรียมอุปกรณ์
1. สายไฟขนาด 6 mm หรือ 8 mm เลือกได้
ทุกสีตามใจชอบ หาซื้อได้ที่บ้านหม้อ หรือ
ร้านเครื่องเสียงทั่วไป ราคาเมตรละ 40 – 80 บาท
2. แผ่นทองแดง , ทองเหลือง , หรืออลูมิเนียม , เหล็ก
หนาซัก 1.5 – 2 หุน หาได้ตาม ร้านขายของเก่า
หรือร้านฮาดท์แวร์ ขายเป็น กิโลกรัม
ราคาแล้วแต่วัสดุที่เลือกใช้ เพื่อนำกระแสไฟฟ้า
( ดูจากค่านำกระแสไฟ ดีที่สุดคือ ทองคำขาว > ทองคำ >
เงิน > ทองแดง > ทองเหลือง > สแตนเลส > เหล็ก >
อลูมิเนียม ) ถ้าเป็นทองเหลืองของใหม่ ก.ก. ละ
200 – 250 บาท (ใช้ไม่เกิน 2 ขีดต่อตัวหละครับ)
3. หัวหางปลาที่จะเชื่อมกับสายไฟ ใช้หัวแบนกลม ประมาณ 10- 12 ตัว ราคาตัวละ 3 – 5 บาท
4. น็อตสแตนเลสหกเหลี่ยมยึด ใช้เป็นเบอร์ 10 ยาว 1/2 นิ้ว 6 ตัว ราคาตัวละ 5 -10 บาท / ตัว
5. อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตะกั่วบัคกรี ท่อหด เทปพันสายไฟ สายรัด
:: ขั้นตอนการทำ
1. หากระดาษแข็งมาวาดรูปแล้วตัดกระดาษแบบให้ได้รูปตามที่เราต้องการ
2. นำแบบทาบกับวัสดุ เช่นทองเหลือง หรืออลูมิเนียม ที่จะใช้เป็นเพลทยึดสายไฟให้ได้ตามแบบ แล้วตัดแผ่น
ทองเหลือง หรือ วัสดุให้ได้ตามแบบ แล้วทำการตกแต่งชิ้นงาน
3. เจาะรูวัสดุที่แผ่นเพลต ตราฟเกลียว เพื่อใช้ยึดน๊อตหกเหลี่ยม
4. วัดสายไฟในจุดที่ต้องการแต่ละจุด ตัดสายไฟออกเป็นเส้นๆ แล้วสวมหางปลา แล้วบัคกรีตะกั่ว
เพื่อความแน่นหนา
5. นำแผ่นเเพลตยึดกับจุดในตัวรถ หรือแบตเตอร์รี่ แล้วนำสายที่ใส่หางปลา แล้วมายึดติดแล้วต่อ
ไปยังจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการ
:: ข้อเเนะนำ
ควรเช็คให้ดีว่าจุดที่จะยึดเป็นจุดกราวน์แน่นอน ถ้ามีการย้ายเเบตเตอร์รี่ไว้หลังรถ ควรต่อสาย
ไปยังเเบตเตอร์รี่เลยดีที่สุด ควรหาสายรัดและเทปพันสายไฟพันสายไฟเพื่อป้องกันไฟรัดวงจร
และห่างจากจุดหมุนพวกสายพาน สายไม่จำเป็นต้องใช้สายที่มีขนาดใหญ่มาก สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
แต่ควรจะยึดในส่วนที่สำคัญและหลายๆจุดดีกว่า หรือทำไว้หลายๆตัวแล้วเดินสายให้ได้มากจุดที่สุด
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
แนะนำวิธีการล้างห้องเครื่อง อย่างไร ให้สวยงามและถูกวิธี
นักแต่งรถอย่างเราๆ เรื่องดูแลความสะอาดรถสุดที่รัก นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งชีพ ภายนอกต้องสะอาด ภายในต้องหอมกลุ่น จะให้ล้างให้ขัดยังไงขอให้บอก แต่พอคิดถึงเรื่องจะล้างห้องเครื่องทีไร คิดแล้วคิดอีก บางคนบอกว่า เครื่องหัวฉีดห้ามโดนน้ำบ้าง ล้างแล้วจะทำให้เครื่องรวนบ้าง หรือเครื่องพังไปเลย (เรื่องนี้ผมไม่เถียง แต่เป็นการล้างที่ผิดวิธี) ให้ร้านล้างอัดฉีดเขาทำให้ดีกว่า ร้านที่ล้างดีก็ดีไป บางร้านบอกกลัวมีปัญหา แล้วจะล้างเอาไปเปิดโชว์สาวหรือพี่ (ย้อนให้อีก) แต่ที่แย่กว่า บางร้านบอกไม่มีปัญหารับประกันเอี่ยมแน่ ผลเอี่ยมจริงแต่วิ่งไม่ได้ สตาร์ทไม่ติด สะดุดรวนไปทั้งคัน แล้วมาบอกอีกว่าเครื่องพี่ไม่ค่อยดี สงสัยหัวเทียนบอด พอจะรื้อเปลี่ยนหัวเทียน แม่งปลาแทบอยู่ได้ น้ำเต็มๆเบ้าหัวเทียนเลย ก็พวกเอาเครื่องอัดฉีด เป่าน้ำเข้าไปเต็มๆขนาดนั้น ไม่เอี่ยมอย่างไงไหว กว่าจะซ่อมมาให้กลับมาเข้าที่เข้าทางได้ก็เป็นอาทิตย์ ถ้าจะล้างห้องเครื่องยนต์ ให้สะอาดเอี่ยม ปราศจากคราบฝุ่น คราบน้ำมัน สวยงาม เปิดเครื่องโชว์ได้ไม่อายใคร ตรวจเช็คปัญหาพวกเรื่องน้ำมันรั่วซึมได้ง่าย และไม่มีปัญหามีล้างอย่างไร และต้องระวังจุดใดบ้าง
เตรียมอุปกรณ์ การทำความสะอาดล้างห้องเครื่อง
1. น้ำยาล้างเครื่องยนต์ หาซื้อได้ตามเชียงกง หรือร้านอะไหล่ ราคาไม่เกิน 500 บาท/แกลลอน ที่แนะนำลองยี่ห้อ RAZZO
2. น้ำมันผสม เลือกได้ทั้ง 2 แบบ คือน้ำมันเบนซิล 91 ก็พอ หรือจะใช้ 95 ก็ได้(มันแพงเกินไปหน่อย) หรือน้ำมันโซล่าหรือน้ำมันดีเซลนี่หละ แล้วอย่าพึ่งรีบไปผสมแล้วอยากเอี่ยมไปล้างก่อนล่ะ อ่านให้จบก่อนดีกว่า ผสมผิดคิดจนตายได้ อย่างนี้หละที่เขาเรียกว่า เคล็ดลับ
3. แปรงทาสี ขนาดพอเหมาะสัก 1 นิ้ว หรือ 1.5 นิ้ว , ฟองน้ำล้างรถ (ไม่ต้องใช้แพงๆครับ เพราะมันโดนน้ำมันทีเดียวก็อาจเหลวเสียทิ้งได้เลย) หรือสก็อตไบท์ สำหรับท่านที่คิดว่าเครื่องสกปรกมากๆ
4. ถุงพลาสติก เทปพันสายไฟ หรืออะไรก็ได้ที่ใกล้เคียง คงไม่ได้เอามาใส่ขยะแน่ จุดประสงค์ใช้เปิดตามปลั๊กไฟเพื่อกันน้ำ
5. น้ำยาเคลือบเงา พวก Waxy หรือ Carwash หรือไม่มีจริงๆ ก็พวกน้ำยาครอบจักรวาล Sonax , WD40 หรือใช้ควบคู่กันก็ดีครับ
6. เครื่องเป่าลม เครื่องปั้มลมแรงๆ หรือพวกเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถเป่าลมได้ ยิ่งแรงๆยิ่งดี ใช้ในการเป่าน้ำให้แห้ง
7. น้ำ คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ขั้นตอนการทำความสะอาด
1. ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ก่อน การล้างครั้งนี้เราต้องใช้น้ำ และน้ำคือสื่อไฟฟ้า อาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรต่อระบบไฟหัวฉีด กล่องคอมพิวเตอร์พังได้ (พังมาเยอะ) หรือเกิดไฟช็อตลุกติดน้ำมันผสมได้ (กลายเป็นได้ซื้อรถใหม่ทั้งคัน ) และอย่างน้อยก็ป้องกันคนหวังดี แอบไปสตาร์ทเครื่องในขณะคุณที่กำลังล้างเครื่องอยู่
2. หุ้มพลาสติกปลั๊กไฟ และพวกขั้วไฟฟ้าต่างๆ เช่น ปลั๊กจานจ่าย จานจ่าย คอยล์ ตัวช่วยจุดระเบิด ปลั๊กเซนเซอร์ หัวฉีดต่างๆ
ที่พอจะหุ้มได้ กล่องฟิวส์ และปลั๊กไฟที่สำคัญทุกๆ จุด
3. ผสมน้ำมันล้าง กับน้ำยา หาภาชนะมาเทน้ำยาล้างเครื่องลงไปก่อน แล้วใช้น้ำมันเทผสม
การเลือกใช้น้ำมันผสม
น้ำมันดีเซล โซล่า ใช้กรณีที่สกปรกน้อย พวกจุดที่มีฝุ่นผงเกาะ น้ำมันเปื้อนเล็กน้อย คอไอดีที่เป็นอะลูมิเนียม หรือพวกจุดต่างๆที่ต้องการความเงางาม และจุดที่เป็นอลูมิเนียมปัดเงา การผสมน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดความเงางามเพิ่มขึ้น อัตตราส่วนไม่ควรเกิน 2:1 (น้ำยา 2 ส่วน : น้ำมันโซล่า 1 ส่วน) ผสมมากเกินไปจะใสล้างไม่ค่อยออก ผสมน้อยไปก็ล้างไม่ค่อยออกเหมือนกัน
น้ำมันเบนซิล ใช้ในกรณีสกปรกมากๆ จุดที่จะล้างมีคราบน้ำมันเหนียว หรือเป็นคราบแข็งเป็นเวลานานๆ การผสมน้ำมันเบนซิลมีผลในการกัดที่รุนแรงมาก ไม่ควรใช้ทากับพลาสติก จุดที่เป็นสีดำ จุดที่พ่นสีด้วยสีเสปย์ หรือพวกอลูมิเนียมเงา หรือปัดเงา จะทำให้เกิดคราบกัดขาว อัตตาส่วนผสมไม่ควรเกิน 3:1 หรือ 2:1 (น้ำยา 3 ส่วน : น้ำมัน 1 ส่วน) ผสมมากการกัดก็รุนแรงมาก
4. ทาน้ำยาผสมล้างให้ทั่ว ใช้แปรงทาสี จุ่ม และค่อยๆทา ถ้าไม่ออกทาแรงๆ ถ้าไม่ออกก็ฟองน้ำ สก็อตไบท์ บรรเลงลงไปเลยครับ นี่หละเคล็ดลับ แต่การใช้สก็อตไบท์ ต้องระวังหน่อย อย่าขัดพวกสีรถ หรือพวกพลาสติก จะทำให้เกิดรอย ใช้ในจุดที่อยากให้ออกจริงๆ ต้องระวัง
5. ใช้น้ำล้างออก ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดน้ำยาและคราบออก ตามจุดที่ควรระวังเช่น ฝาครอบสายหัวเทียน สายหัวเทียน ฝาครอบวาล์ว จานจ่าย ตัวช่วยจุดระเบิด กล่องฟิวส์ และจะสำคัญเกี่ยวกับระบบไฟทุกๆจุด และใช้น้ำค่อยๆเทราดไปในส่วนที่ต้องการล้าง ใช้แปรง และฟองน้ำ ควบคู่กันจนออกหมด
6. เป่าลมไล่น้ำให้แห้ง ใช้เครื่องปั้มลม หรือเครื่องดูดฝุ่น(ต่อให้เป็นแบบเป่าลมได้) หรือถ้าไม่มีจริงๆ ก็ไดเป่าผมเนี่ยหละครับ ต้องลงทุนกันบ้างแล้ว เป่าไล่น้ำตามจุดต่างๆ ออกให้หมด เน้นๆพวกปลั๊กไฟ จานจ่าย และหัวเทียน พร้อมแกะพลาสติกหุ้มออกให้หมด และเป่าลมจนน้ำแห้งสนิท
7. ใส่ขั้วแบตสตาร์ทเครื่องได้ เป็นการทดสอบว่ามีน้ำเข้าไปตามปลั๊กไฟหรือไม่ ถ้าเครื่องยังเดินสมบูรณ์ไม่มีปัญหาถือว่าไชโยโอเค ถ้าเกิดสตาร์ทไม่ติด หรือเดินไม่นิ่ง ต้องถอดขั้วแบต และเป่าลมไล่น้ำอีกครั้ง เน้นๆจานจ่าย คอยล์ ปลั๊กหัวเทียน และปลั๊กไฟต่างๆ ถ้าไม่แน่ใจให้ถอดมา แล้วเป่าลมให้แห้ง พ่นน้ำยากันสนิม หรือน้ำยาล้างหน้าคอนแทค ถือเป็นการทำความสะอาดขั้วไฟไปในตัว
8. เคลือบเงา หลังจากสตาร์ทเครื่องอุ่นสักพักจนน้ำแห้งดี รอให้เครื่องเย็นก่อนครับ แล้วใช้น้ำยาเคลือบเงา พวก Waxy มาจุ่มด้วยฟองน้ำ และทาในจุดที่ต้องการให้เงางาม ถือว่าดีที่สุด หรือใช้น้ำมันพวกครอบจักรวาล พ่นเคลือบในจุดที่แห้ง และจะเกิดสนิม ใช้น้ำมันเครื่องกับจารบี ทาหรือหยอดในจุดหมุนต่างๆ เป็นการป้องกันสนิม และหล่อลื่นไปในตัว การใช้น้ำมันเครื่องมาทาให้เงางาม ผลเสียคือฝุ่นจะจับตัวเร็วมาก ถ้าเป็นน้ำมันครอบจักรวาล พวกนี้จะระเหยตัวเร็ว ต้องพ่นเคลือบและเช็ดบ่อยๆ
เสร็จเรียบร้อยแล้วกับการล้างห้องเครื่อง ให้สวยงามและถูกวิธี ขอสำคัญคือทำความสะอาดบ่อยๆ และถือโอกาสตรวจเช็คส่วนต่างของประกอบต่างๆ เช่นท่อน้ำ ท่อน้ำมัน น้ำรั่ว น้ำมันเครื่องซึม สายพาน สายไฟ อื่นๆ ไปด้วยในตัวเลยนะครับ
เตรียมอุปกรณ์ การทำความสะอาดล้างห้องเครื่อง
1. น้ำยาล้างเครื่องยนต์ หาซื้อได้ตามเชียงกง หรือร้านอะไหล่ ราคาไม่เกิน 500 บาท/แกลลอน ที่แนะนำลองยี่ห้อ RAZZO
2. น้ำมันผสม เลือกได้ทั้ง 2 แบบ คือน้ำมันเบนซิล 91 ก็พอ หรือจะใช้ 95 ก็ได้(มันแพงเกินไปหน่อย) หรือน้ำมันโซล่าหรือน้ำมันดีเซลนี่หละ แล้วอย่าพึ่งรีบไปผสมแล้วอยากเอี่ยมไปล้างก่อนล่ะ อ่านให้จบก่อนดีกว่า ผสมผิดคิดจนตายได้ อย่างนี้หละที่เขาเรียกว่า เคล็ดลับ
3. แปรงทาสี ขนาดพอเหมาะสัก 1 นิ้ว หรือ 1.5 นิ้ว , ฟองน้ำล้างรถ (ไม่ต้องใช้แพงๆครับ เพราะมันโดนน้ำมันทีเดียวก็อาจเหลวเสียทิ้งได้เลย) หรือสก็อตไบท์ สำหรับท่านที่คิดว่าเครื่องสกปรกมากๆ
4. ถุงพลาสติก เทปพันสายไฟ หรืออะไรก็ได้ที่ใกล้เคียง คงไม่ได้เอามาใส่ขยะแน่ จุดประสงค์ใช้เปิดตามปลั๊กไฟเพื่อกันน้ำ
5. น้ำยาเคลือบเงา พวก Waxy หรือ Carwash หรือไม่มีจริงๆ ก็พวกน้ำยาครอบจักรวาล Sonax , WD40 หรือใช้ควบคู่กันก็ดีครับ
6. เครื่องเป่าลม เครื่องปั้มลมแรงๆ หรือพวกเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถเป่าลมได้ ยิ่งแรงๆยิ่งดี ใช้ในการเป่าน้ำให้แห้ง
7. น้ำ คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ขั้นตอนการทำความสะอาด
1. ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ก่อน การล้างครั้งนี้เราต้องใช้น้ำ และน้ำคือสื่อไฟฟ้า อาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรต่อระบบไฟหัวฉีด กล่องคอมพิวเตอร์พังได้ (พังมาเยอะ) หรือเกิดไฟช็อตลุกติดน้ำมันผสมได้ (กลายเป็นได้ซื้อรถใหม่ทั้งคัน ) และอย่างน้อยก็ป้องกันคนหวังดี แอบไปสตาร์ทเครื่องในขณะคุณที่กำลังล้างเครื่องอยู่
2. หุ้มพลาสติกปลั๊กไฟ และพวกขั้วไฟฟ้าต่างๆ เช่น ปลั๊กจานจ่าย จานจ่าย คอยล์ ตัวช่วยจุดระเบิด ปลั๊กเซนเซอร์ หัวฉีดต่างๆ
ที่พอจะหุ้มได้ กล่องฟิวส์ และปลั๊กไฟที่สำคัญทุกๆ จุด
3. ผสมน้ำมันล้าง กับน้ำยา หาภาชนะมาเทน้ำยาล้างเครื่องลงไปก่อน แล้วใช้น้ำมันเทผสม
การเลือกใช้น้ำมันผสม
น้ำมันดีเซล โซล่า ใช้กรณีที่สกปรกน้อย พวกจุดที่มีฝุ่นผงเกาะ น้ำมันเปื้อนเล็กน้อย คอไอดีที่เป็นอะลูมิเนียม หรือพวกจุดต่างๆที่ต้องการความเงางาม และจุดที่เป็นอลูมิเนียมปัดเงา การผสมน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดความเงางามเพิ่มขึ้น อัตตราส่วนไม่ควรเกิน 2:1 (น้ำยา 2 ส่วน : น้ำมันโซล่า 1 ส่วน) ผสมมากเกินไปจะใสล้างไม่ค่อยออก ผสมน้อยไปก็ล้างไม่ค่อยออกเหมือนกัน
น้ำมันเบนซิล ใช้ในกรณีสกปรกมากๆ จุดที่จะล้างมีคราบน้ำมันเหนียว หรือเป็นคราบแข็งเป็นเวลานานๆ การผสมน้ำมันเบนซิลมีผลในการกัดที่รุนแรงมาก ไม่ควรใช้ทากับพลาสติก จุดที่เป็นสีดำ จุดที่พ่นสีด้วยสีเสปย์ หรือพวกอลูมิเนียมเงา หรือปัดเงา จะทำให้เกิดคราบกัดขาว อัตตาส่วนผสมไม่ควรเกิน 3:1 หรือ 2:1 (น้ำยา 3 ส่วน : น้ำมัน 1 ส่วน) ผสมมากการกัดก็รุนแรงมาก
4. ทาน้ำยาผสมล้างให้ทั่ว ใช้แปรงทาสี จุ่ม และค่อยๆทา ถ้าไม่ออกทาแรงๆ ถ้าไม่ออกก็ฟองน้ำ สก็อตไบท์ บรรเลงลงไปเลยครับ นี่หละเคล็ดลับ แต่การใช้สก็อตไบท์ ต้องระวังหน่อย อย่าขัดพวกสีรถ หรือพวกพลาสติก จะทำให้เกิดรอย ใช้ในจุดที่อยากให้ออกจริงๆ ต้องระวัง
5. ใช้น้ำล้างออก ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดน้ำยาและคราบออก ตามจุดที่ควรระวังเช่น ฝาครอบสายหัวเทียน สายหัวเทียน ฝาครอบวาล์ว จานจ่าย ตัวช่วยจุดระเบิด กล่องฟิวส์ และจะสำคัญเกี่ยวกับระบบไฟทุกๆจุด และใช้น้ำค่อยๆเทราดไปในส่วนที่ต้องการล้าง ใช้แปรง และฟองน้ำ ควบคู่กันจนออกหมด
6. เป่าลมไล่น้ำให้แห้ง ใช้เครื่องปั้มลม หรือเครื่องดูดฝุ่น(ต่อให้เป็นแบบเป่าลมได้) หรือถ้าไม่มีจริงๆ ก็ไดเป่าผมเนี่ยหละครับ ต้องลงทุนกันบ้างแล้ว เป่าไล่น้ำตามจุดต่างๆ ออกให้หมด เน้นๆพวกปลั๊กไฟ จานจ่าย และหัวเทียน พร้อมแกะพลาสติกหุ้มออกให้หมด และเป่าลมจนน้ำแห้งสนิท
7. ใส่ขั้วแบตสตาร์ทเครื่องได้ เป็นการทดสอบว่ามีน้ำเข้าไปตามปลั๊กไฟหรือไม่ ถ้าเครื่องยังเดินสมบูรณ์ไม่มีปัญหาถือว่าไชโยโอเค ถ้าเกิดสตาร์ทไม่ติด หรือเดินไม่นิ่ง ต้องถอดขั้วแบต และเป่าลมไล่น้ำอีกครั้ง เน้นๆจานจ่าย คอยล์ ปลั๊กหัวเทียน และปลั๊กไฟต่างๆ ถ้าไม่แน่ใจให้ถอดมา แล้วเป่าลมให้แห้ง พ่นน้ำยากันสนิม หรือน้ำยาล้างหน้าคอนแทค ถือเป็นการทำความสะอาดขั้วไฟไปในตัว
8. เคลือบเงา หลังจากสตาร์ทเครื่องอุ่นสักพักจนน้ำแห้งดี รอให้เครื่องเย็นก่อนครับ แล้วใช้น้ำยาเคลือบเงา พวก Waxy มาจุ่มด้วยฟองน้ำ และทาในจุดที่ต้องการให้เงางาม ถือว่าดีที่สุด หรือใช้น้ำมันพวกครอบจักรวาล พ่นเคลือบในจุดที่แห้ง และจะเกิดสนิม ใช้น้ำมันเครื่องกับจารบี ทาหรือหยอดในจุดหมุนต่างๆ เป็นการป้องกันสนิม และหล่อลื่นไปในตัว การใช้น้ำมันเครื่องมาทาให้เงางาม ผลเสียคือฝุ่นจะจับตัวเร็วมาก ถ้าเป็นน้ำมันครอบจักรวาล พวกนี้จะระเหยตัวเร็ว ต้องพ่นเคลือบและเช็ดบ่อยๆ
เสร็จเรียบร้อยแล้วกับการล้างห้องเครื่อง ให้สวยงามและถูกวิธี ขอสำคัญคือทำความสะอาดบ่อยๆ และถือโอกาสตรวจเช็คส่วนต่างของประกอบต่างๆ เช่นท่อน้ำ ท่อน้ำมัน น้ำรั่ว น้ำมันเครื่องซึม สายพาน สายไฟ อื่นๆ ไปด้วยในตัวเลยนะครับ
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ทำเองง่ายๆ กับการตั้งรอบเครื่องยนต์ Vtec
ขั้นตอนการตั้งรอบเดิน
1.ติดเครื่องเดินเบา จนถึงอุณหภูมิ ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน 2 ครั้ง
2.ดับเครื่อง
3.ถอดปลั๊กที่ eacv ออก แล้วติดเครื่องเดินเบา
4.รอสักพักให้รอบเดินเบาอยู่ที่รอบปกติ
5.ปรับรอบให้ได้ตามที่ต้องการ (ใช้ไขควงปากแบน ปรับตรงสกูรเหนือลิ้นปีกผีเสื้อ) ผมใช้วิธีหมุนเข้าให้สุด(ตามเข็ม) แล้วคลายออก(ทวนเข็ม) รอบครึ่ง แล้วค่อยปรับละเอียดอีกนิดหน่อย (ของผมตั้งที่รอบ 850-900)
6..เปิดไฟต่ำ ไฟสูง แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ
7.รอจนพัดลมไฟฟ้าทำงาน แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ
8.ดับเครื่อง
9.Reset ECU โดยถอด fuse back up radio 7.5 Amp. ออก 15-20 วินาที (อยู่ในกล่อง
Fuse อยู่ในห้องเครื่อง มุมซ้ายมือบน)
10.ต่อปลั๊กที่ eacv ตามเดิม แล้วใส่ fuse 7.5 Amp.คืน
11.บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง On รอไฟ check engine ดับ (ไม่ต้อง start นะ)
12.เหยียบคันเร่งลงให้สุดแล้วปล่อย
13.เหยียบแป้นเบรคลงให้สุดแล้วปล่อย
14.บิดกุญแจคืนมาตำแหน่ง Off และรอ 20 วินาที
15.ติดเครื่องอีกครั้ง รอสักพักแล้วค่อยเปิดแอร์ดู
16.รอบตอน com แอร์ทำงาน จะไม่ตก หรือตกได้นิดหน่อย ครับ
17.เสร็จ
1.ติดเครื่องเดินเบา จนถึงอุณหภูมิ ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน 2 ครั้ง
2.ดับเครื่อง
3.ถอดปลั๊กที่ eacv ออก แล้วติดเครื่องเดินเบา
4.รอสักพักให้รอบเดินเบาอยู่ที่รอบปกติ
5.ปรับรอบให้ได้ตามที่ต้องการ (ใช้ไขควงปากแบน ปรับตรงสกูรเหนือลิ้นปีกผีเสื้อ) ผมใช้วิธีหมุนเข้าให้สุด(ตามเข็ม) แล้วคลายออก(ทวนเข็ม) รอบครึ่ง แล้วค่อยปรับละเอียดอีกนิดหน่อย (ของผมตั้งที่รอบ 850-900)
6..เปิดไฟต่ำ ไฟสูง แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ
7.รอจนพัดลมไฟฟ้าทำงาน แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ
8.ดับเครื่อง
9.Reset ECU โดยถอด fuse back up radio 7.5 Amp. ออก 15-20 วินาที (อยู่ในกล่อง
Fuse อยู่ในห้องเครื่อง มุมซ้ายมือบน)
10.ต่อปลั๊กที่ eacv ตามเดิม แล้วใส่ fuse 7.5 Amp.คืน
11.บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง On รอไฟ check engine ดับ (ไม่ต้อง start นะ)
12.เหยียบคันเร่งลงให้สุดแล้วปล่อย
13.เหยียบแป้นเบรคลงให้สุดแล้วปล่อย
14.บิดกุญแจคืนมาตำแหน่ง Off และรอ 20 วินาที
15.ติดเครื่องอีกครั้ง รอสักพักแล้วค่อยเปิดแอร์ดู
16.รอบตอน com แอร์ทำงาน จะไม่ตก หรือตกได้นิดหน่อย ครับ
17.เสร็จ
ข้อมูลต่างๆของการระยะเวลาการเปลี่ยนอะไหล่และของเหลว
เครื่องยนต์ ทุกๆ ระยะทางหรือเวลา
ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบจุดระเบิด
ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบสายหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนสายหัวเทียน 60,000 กิโลเมตร (3 ปี)
ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว
แบตเตอรี่
ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ ทุกสัปดาห์
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ระบบหล่อเย็น
ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทุกสัปดาห์
ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนสายพาน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ล้างหม้อน้ำ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบเชื้อเพลิง
ทำความสะอาดกรองอากาศ 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนกรองอากาศ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เครื่องปรับอากาศ
ทำความสะอาดคอยล์ร้อน 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานแอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว
ระบบถ่ายทอดกำลัง
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี)
เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20,000 กิโลเมตร (2 ปี)
อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ระบบเบรค
ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสภาพเบรค 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ปรับเบรคมือ ตามความจำเป็น
ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์
ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานขับปั้ม 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ยาง
ตรวจสภาพการสึกของยาง 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบความดันลมในยาง 2 สัปดาห์
ตรวจความลึกของดอกยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ทำความสะอาดยาง ตามความจำเป็น
อุปกรณ์ปัดน้ำฝน
ตรวตสอบใบปัดน้ำฝน 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบจุดระเบิด
ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบสายหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนสายหัวเทียน 60,000 กิโลเมตร (3 ปี)
ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว
แบตเตอรี่
ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ ทุกสัปดาห์
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ระบบหล่อเย็น
ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทุกสัปดาห์
ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนสายพาน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ล้างหม้อน้ำ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบเชื้อเพลิง
ทำความสะอาดกรองอากาศ 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนกรองอากาศ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เครื่องปรับอากาศ
ทำความสะอาดคอยล์ร้อน 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานแอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว
ระบบถ่ายทอดกำลัง
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี)
เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20,000 กิโลเมตร (2 ปี)
อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ระบบเบรค
ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสภาพเบรค 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ปรับเบรคมือ ตามความจำเป็น
ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์
ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานขับปั้ม 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ยาง
ตรวจสภาพการสึกของยาง 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบความดันลมในยาง 2 สัปดาห์
ตรวจความลึกของดอกยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ทำความสะอาดยาง ตามความจำเป็น
อุปกรณ์ปัดน้ำฝน
ตรวตสอบใบปัดน้ำฝน 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
แบตเตอรี่ ติด รถ
แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยาก และไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อย
แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง) โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด
ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือ ระบบไดชาร์จบกพร่อง
รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมดสภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง
ทำไมแบตเตอรี่หมด
ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับเข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด
หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพก็มีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เรื่อย ๆ ก็แค่ซ่อมแซม ระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (ช้าหน่อย) ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (มักไม่ค่อยเกิดปัญหานี้) หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ท หมุนเครื่งยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่า แบตเตอรี่หมดสภาพ
ถ้าจำเป็นและพอมีกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เหลือเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ เช่นระบบหัวฉีด ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และเป็นระบบเกียร์ธรรมดา ก็สามารถเข็นใส่เกียร์ 2 พอเข็นได้เร็วค่อยถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง เครื่องยนต์ก็จะกระตุกติดทำงานได้ หากไม่มีคนช่วยเข็นรวมถึงรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติต้องใช้รถยนต์อีกคันที่ติด เครื่องยนต์ไว้หรือยกแบตเตอรี่พ่วงเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด ก็เลิกพ่วง แม้แบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟฟ้าไม่อยู่ แต่ถ้าระบบไดชาร์จเป็นปกติ และเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็จะสามารถขับต่อเนื่องไปได้ตลอด โดยควรเร่งรอบเครื่องยนต์ ตอนจอดไว้หน่อย เพื่อให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เครื่องยนต์ดับเพราะเมื่อดับแล้วก็ต้องลุ้นกันอีกครั้งว่า ไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีพอ สำหรับไดสตาร์ท หมุนเครื่องยนต์อีกครั้งหรือไม่
นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีนี้ ด้วยการเข็นกระตุกเครื่องยนต์ หรือการพ่วงแบตเตอรี่แล้ว การแก้ไขถาวรที่ดี คือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม
เมื่อแบตเตอรี่หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วค่อยคิดถึงคำถามนี้ ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดสภาพในขณะที่ยังไม่ได้เพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ การเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูง ถือเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้คำนวณ และเลือกขนาดของแบตเตอรี่ต่ำพอเหมาะอยู่แล้ว
หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่ และแบตเตอรี่ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล คือ
1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว
สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท
หากต้องจอดนิ่งเครื่องยนต์เดินเบาบนการจราจรติดขัดนาน ๆ ไดชาร์จได้น้อย ก็มีพลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น รถยนต์ทุกรุ่นอย่าเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีแอมป์ต่ำลงจาก มาตรฐาน และถ้ามีโอกาสควรเลือกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีแอมป์สูงขึ้นประมาณ 10-30 แอมป์ โดยดูจากตัวเลขที่ระบุบนตัวแบตเตอรี่
การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย
อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี
แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท
เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ
ชนิด
มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง
แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี
แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี
ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่
อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง
ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์
ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง
แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคัน
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้การเสียหายเกิดขึ้น ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง คือ
1. ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง (OFF)
2. ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3. และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
จำหลักง่ายๆ "ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)" เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์แสนรักของคุณ *******
บางครั้งแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา หรือรถยนต์คันอื่นๆ เกิดการไฟหมดอาจจะต้องมีการต่อพ่วงกัน เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีไว้บ้าง
เริ่มจากจอดรถใกล้กันแต่อย่าให้สัมผัสกัน ใช้สายพ่วงที่ใหญ่แต่ไม่ยาวเกินไป จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด
2. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
3. ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
4. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด
5. เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น
การดูแลแบตเตอรี่ ให้ถูกวิธีจะช่วยให้เราใช้งานแบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่สุด ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป
แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง) โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด
ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือ ระบบไดชาร์จบกพร่อง
รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมดสภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง
ทำไมแบตเตอรี่หมด
ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับเข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด
หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพก็มีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เรื่อย ๆ ก็แค่ซ่อมแซม ระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (ช้าหน่อย) ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (มักไม่ค่อยเกิดปัญหานี้) หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ท หมุนเครื่งยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่า แบตเตอรี่หมดสภาพ
ถ้าจำเป็นและพอมีกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เหลือเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ เช่นระบบหัวฉีด ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และเป็นระบบเกียร์ธรรมดา ก็สามารถเข็นใส่เกียร์ 2 พอเข็นได้เร็วค่อยถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง เครื่องยนต์ก็จะกระตุกติดทำงานได้ หากไม่มีคนช่วยเข็นรวมถึงรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติต้องใช้รถยนต์อีกคันที่ติด เครื่องยนต์ไว้หรือยกแบตเตอรี่พ่วงเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด ก็เลิกพ่วง แม้แบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟฟ้าไม่อยู่ แต่ถ้าระบบไดชาร์จเป็นปกติ และเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็จะสามารถขับต่อเนื่องไปได้ตลอด โดยควรเร่งรอบเครื่องยนต์ ตอนจอดไว้หน่อย เพื่อให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เครื่องยนต์ดับเพราะเมื่อดับแล้วก็ต้องลุ้นกันอีกครั้งว่า ไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีพอ สำหรับไดสตาร์ท หมุนเครื่องยนต์อีกครั้งหรือไม่
นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีนี้ ด้วยการเข็นกระตุกเครื่องยนต์ หรือการพ่วงแบตเตอรี่แล้ว การแก้ไขถาวรที่ดี คือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม
เมื่อแบตเตอรี่หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วค่อยคิดถึงคำถามนี้ ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดสภาพในขณะที่ยังไม่ได้เพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ การเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูง ถือเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้คำนวณ และเลือกขนาดของแบตเตอรี่ต่ำพอเหมาะอยู่แล้ว
หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่ และแบตเตอรี่ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล คือ
1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว
สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท
หากต้องจอดนิ่งเครื่องยนต์เดินเบาบนการจราจรติดขัดนาน ๆ ไดชาร์จได้น้อย ก็มีพลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น รถยนต์ทุกรุ่นอย่าเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีแอมป์ต่ำลงจาก มาตรฐาน และถ้ามีโอกาสควรเลือกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีแอมป์สูงขึ้นประมาณ 10-30 แอมป์ โดยดูจากตัวเลขที่ระบุบนตัวแบตเตอรี่
การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย
อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี
แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท
เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ
ชนิด
มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง
แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี
แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี
ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่
อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง
ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์
ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง
แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคัน
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้การเสียหายเกิดขึ้น ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง คือ
1. ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง (OFF)
2. ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3. และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
จำหลักง่ายๆ "ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)" เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์แสนรักของคุณ *******
บางครั้งแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา หรือรถยนต์คันอื่นๆ เกิดการไฟหมดอาจจะต้องมีการต่อพ่วงกัน เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีไว้บ้าง
เริ่มจากจอดรถใกล้กันแต่อย่าให้สัมผัสกัน ใช้สายพ่วงที่ใหญ่แต่ไม่ยาวเกินไป จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด
2. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
3. ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
4. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด
5. เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น
การดูแลแบตเตอรี่ ให้ถูกวิธีจะช่วยให้เราใช้งานแบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่สุด ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้
1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
บทความเกี่ยวกับแอร์รถยนต์
รายละเอียดทั่วไป
ถ้าแอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่เต็มที่ ก่อนอื่นให้ทำการตรวจเช็คปริมาณสารทำความเย็นในระบบ ถ้าสารทำความเย็นน้อยเกินไป ให้ตรวจเช็คการรั่วและทำการซ่อมแซมก่อนเติมสารทำความเย็นใหม่
ในส่วนนี้จะอธิบายถึงวิธีการถอด ประกอบและการเติมสารทำความเย็นเข้าไปในระบบ
1. ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นและการรั่วของก๊าซ
2. การฟื้นฟูสารทำความเย็น
ฟื้นฟูสารทำความเย็นไว้เพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง
ข้อแนะนำ:
การฟื้นฟูสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีเครื่องสำหรับฟื้นฟูสารทำความเย็นโดยเฉพาะ
3. การถอดและประกอบคอมเพรสเซอร์ของชุดเครื่องปรับอากาศ
ทำการถอดสายพานขับ ถอดและติดตั้งคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
4. การเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ
เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบเครื่องปรับอากาศ
ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี
1. เงื่อนไขในการตรวจเช็ค
ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้
• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที
• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)
• เปิดประตูรถทั้งหมด
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
1.คือกระจกมองน้ำยา
2.ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อย
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี
B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป
C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศ
นั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป
ข้อแนะนำ:
• โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดี
แต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป
• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด
• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
3. ตรวจสอบโดยใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ
ใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ เพื่อตรวจสอบปริมาณของน้ำยาและแรงดัน
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ
ข้อแนะนำ:
ไม่ควรต่อขั้วต่อตรงกลางของแมนนิโฟลด์เกจ
ติดตั้งชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. ปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
2. เปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
3. ปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
4. เปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
1. คุณลักษณะของชุดแมนิโฟลด์เกจ
(1) เกจมี 2 ตัว คือ เกจวัดแรงดันต่ำและเกจวัดแรงดันสูง
(2) สับช่องทางเติมสารทำความเย็นโดยเปิดและปิดวาล์ว
ข้อแนะนำ:
แมนิโฟลด์เกจที่ออกแบบมาสำหรับ HFC-134a (R134a) ไม่สามารถที่จะนำไปใช้กับระบบที่เป็น CFC-12 (R12) ได้
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
(2) ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์และตรวจสอบแรงดันจากเข็มชี้ของชุดแมนนิโฟลด์เกจ ขณะระบบปรับอากาศทำงานอยู่
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)
ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก
ข้อมูลอ้างอิง:
สาเหตุของอาการผิดปกติของความดันเกินค่ากำหนด
ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ
• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ
2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว
3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง
• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป
• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ
4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และแรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ
• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
เครื่องมือทดสอบรั่ว
4. ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็น
(1) ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยใช้เครื่องมือทดสอบการรั่ว
ลักษณะการทำงาน
• ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยสังเกตจากหลอดไฟจะกะพริบ และมีเสียงดัง
• เมื่อขยับเครื่องตรวจสอบเข้าใกล้จุดตำแหน่งที่รั่วโดยมีระยะห่างพอประมาณ หลอดไฟจะกะพริบและมีเสียงดังถี่ขึ้น
• การพัฒนาความไวของเครื่องทดสอบ ทำให้ความสามารถตรวจสอบรอยรั่วเพียงเล็กน้อยได้
(2) จุดต่างๆ ที่จะต้องทำการเช็คการรั่วมีดังนี้
1.ตัวต้านทานโบล์วเวอร์
2.A/C คอมเพรสเซอร์
3.คอนเดนเซอร์
4.อีวาปอเรเตอร์
5.รีซีฟเวอร์ หรือ โมดูเลเตอร์
6.ท่อระบาย
7.ตำแหน่งการต่อท่อ
8.EPR (พร้อมตัวควบคุมแรงดันในอีวาปอเรเตอร์)
9.เครื่องมือทดสอบรั่ว
การเติมสารทำความเย็น
เริ่มจากการทำสุญญากาศ
การทำสุญญากาศก็เพื่อเป็นการไล่ความชื้นออกจากระบบแอร์ และยังเป็นการตรวจเช็คการรั่วของระบบตามข้อต่อต่างๆ ที่ขัน
1.แมนิโฟลด์เกจ
2.ปั๊มสุญญากาศ
1. การทำสุญญากาศ
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ
ข้อแนะนำ:
ต่อท่อสีเขียวตรงขั้วกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ และต่อปลายท่ออีกด้านเข้ากับปั๊มสุญญากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านความดันสูงและความดันต่ำของชุดแมนิโฟลด์เกจ และทำการเปิดเครื่องทำสุญญากาศ
1. ไล่ฟองอากาศออก.
2. ปั๊มสุญญากาศ
3. เปิด
(3) ทำสุญญากาศกระทั่งแมนิโฟลด์เกจทางความดันต่ำจะแสดงค่า 750 mmHgหรือมากกว่า
(4) ขณะที่แรงดันทางด้านความดันต่ำเป็น 750 mmHgหรือมากกว่า จงทำสุญญากาศต่อไปอีก 10 นาที
(5) หมุนปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงของชุดแมนิโฟลด์เกจให้สนิทแล้วจึงปิดปั๊มสุญญากาศ
1.ปิด
ข้อควรระวัง:
ถ้าปิดปั๊มสุญญากาศวาล์วขณะวาล์วทั้งสองด้านไม่เปิด (ด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ) จะมีอากาศเข้ามาในระบบปรับอากาศ
ตรวจสอบการรั่วของอากาศ
ปิดวาล์วทั้งด้านความดันต่ำและความดันสูง แล้วปิดเครื่องทำสุญญากาศทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีหรือมากกว่า แล้วให้ตรวจเช็คความเปลี่ยนแปลงของเกจวัด
ข้อแนะนำ:
เมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเข็มเกจวัดมีแรงดันสูงขึ้น แสดงว่ามีอากาศเข้ามาในระบบ ดังนั้นต้องทำการตรวจเช็คโอริงและข้อต่อต่างๆ ของระบบปรับอากาศ
ข้อควรระวัง:
ในการทำสุญญากาศหรือไล่อากาศไม่หมด จะเกิดความชื้นภายในท่อของระบบปรับอากาศ และเกิดการจับตัวแข็งภายในท่อ และทำให้สารทำความเย็นเกิดการไหลไม่สะดวก เป็นผลทำให้ภายในของระบบปรับอากาศเกิดความเสียหาย
เริ่มเติมสารทำความเย็น
1.ถังน้ำยาแอร์หรือถังสารทำความเย็น
เนื่องจากสารทำความเย็นจะบรรจุไว้โดยการอัดด้วยแรงดันสูง ดังนั้นการเติมจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ข้อควรระวังในการเติมสารทำความเย็น
คำเตือน:
• อย่าให้สารทำความเย็นกระเด็นเข้าหน้า และเข้าตาหรือโดนผิวหนังในขณะที่ถอดหรือประกอบสารทำความเย็นจึงควรสวมแว่นตาป้องกันเสมอ
• อย่าชี้ด้านท้ายของภาชนะสารทำความเย็นไปทางผู้คน เพราะมันมีโครงสร้างที่สามารถปล่อยแก๊สออกมาในกรณีฉุกเฉินได้
• ห้ามนำกระป๋องสารทำความเย็นไปเผา หรือต้มในน้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้มันระเบิด
เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันสูง
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เปิดวาล์วด้านแรงดันสูงและเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบกระทั่งเกจทางด้านแรงดันต่ำแสดงค่า 0.98 MPa
(1 kg/cm2, 14psi)
(2) หลังจากเติมสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง
ข้อควรระวัง:
• ห้ามคอมเพรสเซอร์ทำงานขณะเติมสารทำความเย็น ขณะคอมเพรสเซอร์ทำงานเมื่อไม่มีการเติมสารทำความเย็นเข้าทางด้านแรงดันต่ำ มีผลทำให้ภายในของคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศร้อน
• ห้ามเปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นซึ่งอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นก๊าซ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาล์วทางด้านแรงดันต่ำเปิดขณะมีการเติมสารทำความเย็นในท่อด้านแรงดันสูง ทำให้สารทำความเย็นจะมีสภาพเป็นของเหลว และคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเริ่มทำงาน
เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันต่ำ
(1) ให้ทำการปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง และทำการติดเครื่องยนต์พร้อมกับเปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำของแมนิโฟลด์เกจเพื่อเติมสารทำความเย็น
สภาวะขณะเติมสารทำความเย็น
• เครื่องยนต์ทำงานที่ 1500 รอบต่อนาที
• เปิดสวิตช์พัดลมในตำแหน่งสูงสุด "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• ปรับอุณหภูมิในตำแหน่งเย็นสุด "MAX COOL"
• เปิดประตูรถออกทุกบาน
ข้อแนะนำ:
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติม
530 ± 30g (18.69 ± 1.06 ออนซ์.)
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติมในแต่ละรุ่นอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ดังนั้นให้อ้างอิงจากคู่มือซ่อม
1. ปิด
2.ถังเก็บสารทำความเย็น
3.สวิตช์ A/C
4.ปุ่มควบคุมความแรงพัดลม
5.ตัวปรับอุณหภูมิ
ข้อควรระวัง:
• ถ้าคว่ำถังบรรจุสารทำความเย็นจะเป็นการเติมในสถานะที่เป็นของเหลวเข้าไปในคอมเพรสเซอร์สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ ดังนั้นจึงควรเติมสารทำความเย็นในสถานะเป็นแก๊สเท่านั้น
• ระมัดระวังอย่าเติมสารทำความเย็นมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุให้การทำความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันและเครื่องยนต์ร้อนจัด
• เมื่อทำการเปลี่ยนสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทั้งทางด้านความดันต่ำและความดันสูง และถอดเอาวาล์วหัวถังออกจากถังบรรจุสารทำความเย็น และท่อตรงกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ (ท่อสีเขียว)
คำเตือน:
ห้ามไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานในขณะที่เปิดวาล์วด้านแรงดันสูง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ถังบรรจุสารทำความเย็นเกิดการระเบิดอาจเป็นอันตรายได้
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นจากค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)
ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก
(4) ปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและดับเครื่องยนต์
(5) ถอดสายทำความเย็นออกจากรถยนต์และจากถังบรรจุสารทำความเย็น
ข้อแนะนำ:
• ค่าแรงดันที่เกจแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก
• ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูง การเติมสารทำความเย็นก็จะทำได้ยาก จะต้องเอาน้ำราดที่คอนเดนเซอร์เพื่อที่จะลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
• ให้ทำการแช่กระป๋องสารทำความเย็นในน้ำอุ่น (ต่ำกว่า 40°C) เมื่ออุณหภูมิภายนอกต่ำ เพื่อทำให้สามารถเติมสารทำความเย็นได้ง่าย
ถ้าแอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่เต็มที่ ก่อนอื่นให้ทำการตรวจเช็คปริมาณสารทำความเย็นในระบบ ถ้าสารทำความเย็นน้อยเกินไป ให้ตรวจเช็คการรั่วและทำการซ่อมแซมก่อนเติมสารทำความเย็นใหม่
ในส่วนนี้จะอธิบายถึงวิธีการถอด ประกอบและการเติมสารทำความเย็นเข้าไปในระบบ
1. ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นและการรั่วของก๊าซ
2. การฟื้นฟูสารทำความเย็น
ฟื้นฟูสารทำความเย็นไว้เพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง
ข้อแนะนำ:
การฟื้นฟูสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีเครื่องสำหรับฟื้นฟูสารทำความเย็นโดยเฉพาะ
3. การถอดและประกอบคอมเพรสเซอร์ของชุดเครื่องปรับอากาศ
ทำการถอดสายพานขับ ถอดและติดตั้งคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
4. การเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ
เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบเครื่องปรับอากาศ
ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี
1. เงื่อนไขในการตรวจเช็ค
ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้
• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที
• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)
• เปิดประตูรถทั้งหมด
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
1.คือกระจกมองน้ำยา
2.ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อย
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี
B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป
C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศ
นั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป
ข้อแนะนำ:
• โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดี
แต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป
• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด
• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
3. ตรวจสอบโดยใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ
ใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ เพื่อตรวจสอบปริมาณของน้ำยาและแรงดัน
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ
ข้อแนะนำ:
ไม่ควรต่อขั้วต่อตรงกลางของแมนนิโฟลด์เกจ
ติดตั้งชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. ปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
2. เปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
3. ปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
4. เปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
1. คุณลักษณะของชุดแมนิโฟลด์เกจ
(1) เกจมี 2 ตัว คือ เกจวัดแรงดันต่ำและเกจวัดแรงดันสูง
(2) สับช่องทางเติมสารทำความเย็นโดยเปิดและปิดวาล์ว
ข้อแนะนำ:
แมนิโฟลด์เกจที่ออกแบบมาสำหรับ HFC-134a (R134a) ไม่สามารถที่จะนำไปใช้กับระบบที่เป็น CFC-12 (R12) ได้
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
(2) ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์และตรวจสอบแรงดันจากเข็มชี้ของชุดแมนนิโฟลด์เกจ ขณะระบบปรับอากาศทำงานอยู่
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)
ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก
ข้อมูลอ้างอิง:
สาเหตุของอาการผิดปกติของความดันเกินค่ากำหนด
ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ
• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ
2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว
3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง
• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป
• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ
4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และแรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ
• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
เครื่องมือทดสอบรั่ว
4. ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็น
(1) ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยใช้เครื่องมือทดสอบการรั่ว
ลักษณะการทำงาน
• ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยสังเกตจากหลอดไฟจะกะพริบ และมีเสียงดัง
• เมื่อขยับเครื่องตรวจสอบเข้าใกล้จุดตำแหน่งที่รั่วโดยมีระยะห่างพอประมาณ หลอดไฟจะกะพริบและมีเสียงดังถี่ขึ้น
• การพัฒนาความไวของเครื่องทดสอบ ทำให้ความสามารถตรวจสอบรอยรั่วเพียงเล็กน้อยได้
(2) จุดต่างๆ ที่จะต้องทำการเช็คการรั่วมีดังนี้
1.ตัวต้านทานโบล์วเวอร์
2.A/C คอมเพรสเซอร์
3.คอนเดนเซอร์
4.อีวาปอเรเตอร์
5.รีซีฟเวอร์ หรือ โมดูเลเตอร์
6.ท่อระบาย
7.ตำแหน่งการต่อท่อ
8.EPR (พร้อมตัวควบคุมแรงดันในอีวาปอเรเตอร์)
9.เครื่องมือทดสอบรั่ว
การเติมสารทำความเย็น
เริ่มจากการทำสุญญากาศ
การทำสุญญากาศก็เพื่อเป็นการไล่ความชื้นออกจากระบบแอร์ และยังเป็นการตรวจเช็คการรั่วของระบบตามข้อต่อต่างๆ ที่ขัน
1.แมนิโฟลด์เกจ
2.ปั๊มสุญญากาศ
1. การทำสุญญากาศ
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ
ข้อแนะนำ:
ต่อท่อสีเขียวตรงขั้วกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ และต่อปลายท่ออีกด้านเข้ากับปั๊มสุญญากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านความดันสูงและความดันต่ำของชุดแมนิโฟลด์เกจ และทำการเปิดเครื่องทำสุญญากาศ
1. ไล่ฟองอากาศออก.
2. ปั๊มสุญญากาศ
3. เปิด
(3) ทำสุญญากาศกระทั่งแมนิโฟลด์เกจทางความดันต่ำจะแสดงค่า 750 mmHgหรือมากกว่า
(4) ขณะที่แรงดันทางด้านความดันต่ำเป็น 750 mmHgหรือมากกว่า จงทำสุญญากาศต่อไปอีก 10 นาที
(5) หมุนปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงของชุดแมนิโฟลด์เกจให้สนิทแล้วจึงปิดปั๊มสุญญากาศ
1.ปิด
ข้อควรระวัง:
ถ้าปิดปั๊มสุญญากาศวาล์วขณะวาล์วทั้งสองด้านไม่เปิด (ด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ) จะมีอากาศเข้ามาในระบบปรับอากาศ
ตรวจสอบการรั่วของอากาศ
ปิดวาล์วทั้งด้านความดันต่ำและความดันสูง แล้วปิดเครื่องทำสุญญากาศทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีหรือมากกว่า แล้วให้ตรวจเช็คความเปลี่ยนแปลงของเกจวัด
ข้อแนะนำ:
เมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเข็มเกจวัดมีแรงดันสูงขึ้น แสดงว่ามีอากาศเข้ามาในระบบ ดังนั้นต้องทำการตรวจเช็คโอริงและข้อต่อต่างๆ ของระบบปรับอากาศ
ข้อควรระวัง:
ในการทำสุญญากาศหรือไล่อากาศไม่หมด จะเกิดความชื้นภายในท่อของระบบปรับอากาศ และเกิดการจับตัวแข็งภายในท่อ และทำให้สารทำความเย็นเกิดการไหลไม่สะดวก เป็นผลทำให้ภายในของระบบปรับอากาศเกิดความเสียหาย
เริ่มเติมสารทำความเย็น
1.ถังน้ำยาแอร์หรือถังสารทำความเย็น
เนื่องจากสารทำความเย็นจะบรรจุไว้โดยการอัดด้วยแรงดันสูง ดังนั้นการเติมจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ข้อควรระวังในการเติมสารทำความเย็น
คำเตือน:
• อย่าให้สารทำความเย็นกระเด็นเข้าหน้า และเข้าตาหรือโดนผิวหนังในขณะที่ถอดหรือประกอบสารทำความเย็นจึงควรสวมแว่นตาป้องกันเสมอ
• อย่าชี้ด้านท้ายของภาชนะสารทำความเย็นไปทางผู้คน เพราะมันมีโครงสร้างที่สามารถปล่อยแก๊สออกมาในกรณีฉุกเฉินได้
• ห้ามนำกระป๋องสารทำความเย็นไปเผา หรือต้มในน้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้มันระเบิด
เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันสูง
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เปิดวาล์วด้านแรงดันสูงและเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบกระทั่งเกจทางด้านแรงดันต่ำแสดงค่า 0.98 MPa
(1 kg/cm2, 14psi)
(2) หลังจากเติมสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง
ข้อควรระวัง:
• ห้ามคอมเพรสเซอร์ทำงานขณะเติมสารทำความเย็น ขณะคอมเพรสเซอร์ทำงานเมื่อไม่มีการเติมสารทำความเย็นเข้าทางด้านแรงดันต่ำ มีผลทำให้ภายในของคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศร้อน
• ห้ามเปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นซึ่งอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นก๊าซ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาล์วทางด้านแรงดันต่ำเปิดขณะมีการเติมสารทำความเย็นในท่อด้านแรงดันสูง ทำให้สารทำความเย็นจะมีสภาพเป็นของเหลว และคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเริ่มทำงาน
เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันต่ำ
(1) ให้ทำการปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง และทำการติดเครื่องยนต์พร้อมกับเปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำของแมนิโฟลด์เกจเพื่อเติมสารทำความเย็น
สภาวะขณะเติมสารทำความเย็น
• เครื่องยนต์ทำงานที่ 1500 รอบต่อนาที
• เปิดสวิตช์พัดลมในตำแหน่งสูงสุด "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• ปรับอุณหภูมิในตำแหน่งเย็นสุด "MAX COOL"
• เปิดประตูรถออกทุกบาน
ข้อแนะนำ:
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติม
530 ± 30g (18.69 ± 1.06 ออนซ์.)
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติมในแต่ละรุ่นอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ดังนั้นให้อ้างอิงจากคู่มือซ่อม
1. ปิด
2.ถังเก็บสารทำความเย็น
3.สวิตช์ A/C
4.ปุ่มควบคุมความแรงพัดลม
5.ตัวปรับอุณหภูมิ
ข้อควรระวัง:
• ถ้าคว่ำถังบรรจุสารทำความเย็นจะเป็นการเติมในสถานะที่เป็นของเหลวเข้าไปในคอมเพรสเซอร์สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ ดังนั้นจึงควรเติมสารทำความเย็นในสถานะเป็นแก๊สเท่านั้น
• ระมัดระวังอย่าเติมสารทำความเย็นมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุให้การทำความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันและเครื่องยนต์ร้อนจัด
• เมื่อทำการเปลี่ยนสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทั้งทางด้านความดันต่ำและความดันสูง และถอดเอาวาล์วหัวถังออกจากถังบรรจุสารทำความเย็น และท่อตรงกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ (ท่อสีเขียว)
คำเตือน:
ห้ามไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานในขณะที่เปิดวาล์วด้านแรงดันสูง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ถังบรรจุสารทำความเย็นเกิดการระเบิดอาจเป็นอันตรายได้
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นจากค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)
ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก
(4) ปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและดับเครื่องยนต์
(5) ถอดสายทำความเย็นออกจากรถยนต์และจากถังบรรจุสารทำความเย็น
ข้อแนะนำ:
• ค่าแรงดันที่เกจแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก
• ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูง การเติมสารทำความเย็นก็จะทำได้ยาก จะต้องเอาน้ำราดที่คอนเดนเซอร์เพื่อที่จะลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
• ให้ทำการแช่กระป๋องสารทำความเย็นในน้ำอุ่น (ต่ำกว่า 40°C) เมื่ออุณหภูมิภายนอกต่ำ เพื่อทำให้สามารถเติมสารทำความเย็นได้ง่าย
Color code
Aztec Green Pearl Clearcoat BG-29P 1993-1994
Camellia Red Pearl Clearcoat R-86P 1993-1995
Captiva Blue Pearl Clearcoat B-62P 1992-1994
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1992-1993
Champion White Clearcoat NH-0 1992-1995
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1992-1993
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1992
Fiesta Green Pearl Clearcoat GY-15P 1992-1994
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1992
Frost White NH-538 1992-1995
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1992-1993
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1992-1995
Harvard Blue Pearl Clearcoat B-63P 1992-1995
Horizon Gray Metallic Clearcoat RP-21M 1992-1995
Lausanne Green Pearl Clearcoat G-71P 1992-1995
Malachite Green Pearl Clearcoat BG-31P ? 1995 ?
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1992-1995
Opal Green Metallic Clearcoat G-73M 1992-1993
Pardadise Blue Green Pearl Clearcoat BG-33P 1995
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1992-1992
Phantom Gray Pearl Clearcoat NH-561P 1992-1995
Rosewood Brown Metallic Clearcoat YR-503M 1992-1993
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1992
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1992
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1992-1995
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1992-1995
B-74P Adriatic Blue Pearl
B-90P Supersonic Blue Pearl
G-82P Cypress Green Pearl
NH-0 Championship White
NH-583M Vouge Silver Metallic
NH-538M New Vouge Silver Metallic
NH-592P Flamenco Black Pearl
Y-56 Phoenix Yellow...............................................เหลือง Type R
B-92P NIGHTHAWK BLACK PEARL
NH-592P (CAN) Starlight Black Pearl
NH-597M Citrus Silver Metallic
R-505p Cyan Red Pearl
R-81 Milano Red
B-97M Voltage Blue Metallic Clearcoat
G-95P Clover Green Pearl Clearcoat
BG-33P Paradise Blue-green Pearl
G-71P Isle Green Pearl
NH-503P Granada Black Pearl Pearl
YR-506M Desert Mist Metallic
RP-24P Stealth Grey Pearl
NH-538 Frost White................................................ขาว Jazz
R-72P Torino Red Pearl
R-93P Matador Red Pearl
NH-575M Thunder Gray Metallic
Y-52P Spa Yellow
NH-547 Berlina Black
G-70P Brooklands Green Pearl
NH-629M Dark Charcoal (Europe)
R-77 Formula Red
NH-565 Grand Prix White
G-96P Hockenheim Green Pearl (Japan)
NH-546M Kaiser Silver Metallic
PB-73P Midnight Pearl
B-501P Monaco Blue Pearl
B-66P Monte Carlo Blue Pearl
R-510 New Formula Red
NH-552M Sebring Silver Metallic
NH-630M Silverstone Metallic
Y-52P Spa Yellow Pearl (as noted above)
GY-19M Lime Green Metallic (Japan only, thank goodness)
R-508P Monza Red Pearl (Japan)
NH-609P Platinum White Pearl (Japan)
YR-514P Imola Orange Pearl
B-510P Long Beach Blue Pearl
HONDA CIVIC 4th GENERATION (1988-1991)
-------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Almond Cream YR-88 1988-1989
Asturias Gray Metallic Clearcoat NH-502M 1990 (1990 Canadian only)
Barbados Yellow Y-49 1988-1990
Blade Silver Metallic Clearcoat NH-95M 1988-1989
Blue Metallic Clearcoat B37M 1988-1989
Buckingham Blue Pearl Clearcoat B-59P 1991
Cappucino Brown Metallic Clearcoat YR-501M 1990-1991
Cardinal Red Metallic Clearcoat R-66M 1988-1989
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1990-1991 (1990 U.S. only)
Charcoal Granite Metallic Clearcoat NH-531M 1990-1991 (1990 U.S. only)
Chateau Red Metallic Clearcoat R-61M 1988
Chianti Red Metallic R-67M 1989-1990
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1991
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1991
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1988-1990
Florence Blue Metallic Clearcoat B-37M 1988-1989 (1990 Canadian only)
Frost White NH-538 1991
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1991
Gold Metallic Clearcoat YR-87M 1988-1989
Gothic Gray Metallic Clearcoat NH-92M 1988
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1991
Grayish Blue Metallic Clearcoat B-35M 1988
Laguna Gold Metallic YR-87M 1988-1990
Laurel Blue Metallic B-49M 1990 (1990 U.S. only)
Madison Blue Pearl Clearcoat B-45P 1991
Medium Blue Metallic Clearcoat B-49M 1989
Montreal Blue Metallic Clearcoat B-35 1988
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1990-1991
Phoenix Red R-51 1988-1991 (1990 U.S. only)
Polar White NH-512 1988-1991
Polar White Z NH-512Z 1990 (1990 Canadian only)
Rio Red R-63 1988-1991 (Si)
Saxony Blue Metallic Clearcoat B-56M 1991
Sirius White Pearl Clearcoat NH-515P 1990 (1990 Canadian only)
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1990-1991 (1990 U.S. only)
Stout Silver Metallic Clearcoat (Wheel) NH-75 1988-
Superior Blue Metallic B-47M 1988-1991 (1990 Canadian only)
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1991
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1990-1991
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1991
Wein Blue Pearl Clearcoat B-52P 1991
HONDA CIVIC 5th GENERATION (1992-1995)
--------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Aztec Green Pearl Clearcoat BG-29P 1993-1994
Camellia Red Pearl Clearcoat R-86P 1993-1995
Captiva Blue Pearl Clearcoat B-62P 1992-1994
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1992-1993
Champion White Clearcoat NH-0 1992-1995
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1992-1993
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1992
Fiesta Green Pearl Clearcoat GY-15P 1992-1994
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1992
Frost White NH-538 1992-1995
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1992-1993
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1992-1995
Harvard Blue Pearl Clearcoat B-63P 1992-1995
Horizon Gray Metallic Clearcoat RP-21M 1994-1995
Lausanne Green Pearl Clearcoat G-71P 1994-1995
Malachite Green Pearl Clearcoat BG-31P -1995-?
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1992-1995
Opal Green Metallic Clearcoat G-73M 1992-1993
Pardadise Blue Green Pearl Clearcoat BG-33P 1995
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1992-1992
Phantom Gray Pearl Clearcoat NH-561P 1992-1995
Rosewood Brown Metallic Clearcoat YR-503M 1992-1993
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1992
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1992
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1992-1995
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1992-1995
HONDA CIVIC 6th GENERATION (1996-2000)
-------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Adriatic Blue Pri Metallic Clearcoat B-74P 1997
Athlete Grey Metallic Clearcoat NH-611M 1997
Baikal Green Pearl Clearcoat G-86P -1998-?
Bordeaux Red Pearl Clearcoat R-78P 1997
Champagne Beige Metallic Clearcoat YR-523M 1999
Champion White Clearcoat NH-0 1996-2000
Clover Green Pearl Metallic Clearcoat G-95P 1999-2000
Cyclone (Gray) Blue Metallic Clearcoat B-73M 1996-1998
Cypress Green Pearl Clearcoat G-82P 1996-1998
Dark Amethyst Pearl Clearcoat PB-74P 1997-1999
Electron Blue Pearl Clearcoat B-95P 1999-2000
Eternal Blue Pearl Clearcoat B-96P 2000
Flamenco Black Pearl Metallic Clearcoat NH-592P 1998-2000
Frost White NH-538 1996-1997
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1996-1997
Iced Teal Pearl Clearcoat BG-41P 1999-2000
Island Coral Pearl Clearcoat R-95P 1996
Inza Red Pearl Clearcoat R-96P 1997-1999
Lightning Silver Metallic NH-617M 1996-1998
Midori Green Pearl Clearcoat GY-16P 1996
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1996-2000
Orange Pri Metallic Clearcoat YR-513M 1997
Phoenix Yellow Y-56 2000
Rallye Red R-513 1997-2000
Roma Red Clearcoat R-97 1996-2000
Royal Grape Pearl Clearcoat ---- 1998 (Vi-RS)
Sequia Green Pri Metallic G-89P 2000
Super Sonic Blue Pearl Clearcoat B-90P 1999
Taffeta White NH-578 1998-2000
Titanium Metallic Clearcoat YR-525M 2000
Vintage Plum Pearl Clearcoat RP-32P 2000
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1996-2000
HONDA CIVIC 7th GENERATION (2001-2004)
----------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Clover Green Pearl Metallic Clearcoat G-95P 2001-2002
Eternal Blue Pearl Clearcoat B-96P 2001-2004
Euro Yellow Pearl Metallic Clearcoat Y-62P 2002
Fiji Blue Pearl B-529P 2004
Firepepper Red Pearl Clearcoat R-507P 2002
Fluorite Silver Metallic ----- 2004 (Hybrid)
Galapagos Green Metallic Clearcoat G-511M 2003-2004
Inca Pearl Clearcoat Y-61P 2001-2002
Magnesium Metallic NH-675M 2004
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 2003
Naples Gold Metallic Clearcoat YR-524M 2002
Nighthawk Black Pearl Clearcoat B-92P 2001-2004
Noble Green Pearl Clearcoat G-508P 2002
Opal Silver Blue Metallic Clearcoat BG-51M 2002-2004
Radiant Ruby Pearl ----- 2002-2004
Rallye Red R-513 2001-2004
San Marino Red Clearcoat R-94 2002
Satin Silver Metallic Clearcoat NH-623M 2001-2004
Shoreline Mist Metallic YR-528M 2003-2004
Taffeta White NH-578 2001-2004
Titanium Metallic Clearcoat YR-525M 2001-2003
Vivid Blue Pearl Clearcoat B-520P 2003-2004
Vintage Plum Pearl Clearcoat RP-32P 2000-2002
Camellia Red Pearl Clearcoat R-86P 1993-1995
Captiva Blue Pearl Clearcoat B-62P 1992-1994
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1992-1993
Champion White Clearcoat NH-0 1992-1995
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1992-1993
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1992
Fiesta Green Pearl Clearcoat GY-15P 1992-1994
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1992
Frost White NH-538 1992-1995
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1992-1993
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1992-1995
Harvard Blue Pearl Clearcoat B-63P 1992-1995
Horizon Gray Metallic Clearcoat RP-21M 1992-1995
Lausanne Green Pearl Clearcoat G-71P 1992-1995
Malachite Green Pearl Clearcoat BG-31P ? 1995 ?
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1992-1995
Opal Green Metallic Clearcoat G-73M 1992-1993
Pardadise Blue Green Pearl Clearcoat BG-33P 1995
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1992-1992
Phantom Gray Pearl Clearcoat NH-561P 1992-1995
Rosewood Brown Metallic Clearcoat YR-503M 1992-1993
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1992
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1992
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1992-1995
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1992-1995
B-74P Adriatic Blue Pearl
B-90P Supersonic Blue Pearl
G-82P Cypress Green Pearl
NH-0 Championship White
NH-583M Vouge Silver Metallic
NH-538M New Vouge Silver Metallic
NH-592P Flamenco Black Pearl
Y-56 Phoenix Yellow...............................................เหลือง Type R
B-92P NIGHTHAWK BLACK PEARL
NH-592P (CAN) Starlight Black Pearl
NH-597M Citrus Silver Metallic
R-505p Cyan Red Pearl
R-81 Milano Red
B-97M Voltage Blue Metallic Clearcoat
G-95P Clover Green Pearl Clearcoat
BG-33P Paradise Blue-green Pearl
G-71P Isle Green Pearl
NH-503P Granada Black Pearl Pearl
YR-506M Desert Mist Metallic
RP-24P Stealth Grey Pearl
NH-538 Frost White................................................ขาว Jazz
R-72P Torino Red Pearl
R-93P Matador Red Pearl
NH-575M Thunder Gray Metallic
Y-52P Spa Yellow
NH-547 Berlina Black
G-70P Brooklands Green Pearl
NH-629M Dark Charcoal (Europe)
R-77 Formula Red
NH-565 Grand Prix White
G-96P Hockenheim Green Pearl (Japan)
NH-546M Kaiser Silver Metallic
PB-73P Midnight Pearl
B-501P Monaco Blue Pearl
B-66P Monte Carlo Blue Pearl
R-510 New Formula Red
NH-552M Sebring Silver Metallic
NH-630M Silverstone Metallic
Y-52P Spa Yellow Pearl (as noted above)
GY-19M Lime Green Metallic (Japan only, thank goodness)
R-508P Monza Red Pearl (Japan)
NH-609P Platinum White Pearl (Japan)
YR-514P Imola Orange Pearl
B-510P Long Beach Blue Pearl
HONDA CIVIC 4th GENERATION (1988-1991)
-------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Almond Cream YR-88 1988-1989
Asturias Gray Metallic Clearcoat NH-502M 1990 (1990 Canadian only)
Barbados Yellow Y-49 1988-1990
Blade Silver Metallic Clearcoat NH-95M 1988-1989
Blue Metallic Clearcoat B37M 1988-1989
Buckingham Blue Pearl Clearcoat B-59P 1991
Cappucino Brown Metallic Clearcoat YR-501M 1990-1991
Cardinal Red Metallic Clearcoat R-66M 1988-1989
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1990-1991 (1990 U.S. only)
Charcoal Granite Metallic Clearcoat NH-531M 1990-1991 (1990 U.S. only)
Chateau Red Metallic Clearcoat R-61M 1988
Chianti Red Metallic R-67M 1989-1990
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1991
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1991
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1988-1990
Florence Blue Metallic Clearcoat B-37M 1988-1989 (1990 Canadian only)
Frost White NH-538 1991
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1991
Gold Metallic Clearcoat YR-87M 1988-1989
Gothic Gray Metallic Clearcoat NH-92M 1988
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1991
Grayish Blue Metallic Clearcoat B-35M 1988
Laguna Gold Metallic YR-87M 1988-1990
Laurel Blue Metallic B-49M 1990 (1990 U.S. only)
Madison Blue Pearl Clearcoat B-45P 1991
Medium Blue Metallic Clearcoat B-49M 1989
Montreal Blue Metallic Clearcoat B-35 1988
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1990-1991
Phoenix Red R-51 1988-1991 (1990 U.S. only)
Polar White NH-512 1988-1991
Polar White Z NH-512Z 1990 (1990 Canadian only)
Rio Red R-63 1988-1991 (Si)
Saxony Blue Metallic Clearcoat B-56M 1991
Sirius White Pearl Clearcoat NH-515P 1990 (1990 Canadian only)
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1990-1991 (1990 U.S. only)
Stout Silver Metallic Clearcoat (Wheel) NH-75 1988-
Superior Blue Metallic B-47M 1988-1991 (1990 Canadian only)
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1991
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1990-1991
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1991
Wein Blue Pearl Clearcoat B-52P 1991
HONDA CIVIC 5th GENERATION (1992-1995)
--------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Aztec Green Pearl Clearcoat BG-29P 1993-1994
Camellia Red Pearl Clearcoat R-86P 1993-1995
Captiva Blue Pearl Clearcoat B-62P 1992-1994
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1992-1993
Champion White Clearcoat NH-0 1992-1995
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1992-1993
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1992
Fiesta Green Pearl Clearcoat GY-15P 1992-1994
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1992
Frost White NH-538 1992-1995
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1992-1993
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1992-1995
Harvard Blue Pearl Clearcoat B-63P 1992-1995
Horizon Gray Metallic Clearcoat RP-21M 1994-1995
Lausanne Green Pearl Clearcoat G-71P 1994-1995
Malachite Green Pearl Clearcoat BG-31P -1995-?
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1992-1995
Opal Green Metallic Clearcoat G-73M 1992-1993
Pardadise Blue Green Pearl Clearcoat BG-33P 1995
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1992-1992
Phantom Gray Pearl Clearcoat NH-561P 1992-1995
Rosewood Brown Metallic Clearcoat YR-503M 1992-1993
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1992
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1992
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1992-1995
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1992-1995
HONDA CIVIC 6th GENERATION (1996-2000)
-------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Adriatic Blue Pri Metallic Clearcoat B-74P 1997
Athlete Grey Metallic Clearcoat NH-611M 1997
Baikal Green Pearl Clearcoat G-86P -1998-?
Bordeaux Red Pearl Clearcoat R-78P 1997
Champagne Beige Metallic Clearcoat YR-523M 1999
Champion White Clearcoat NH-0 1996-2000
Clover Green Pearl Metallic Clearcoat G-95P 1999-2000
Cyclone (Gray) Blue Metallic Clearcoat B-73M 1996-1998
Cypress Green Pearl Clearcoat G-82P 1996-1998
Dark Amethyst Pearl Clearcoat PB-74P 1997-1999
Electron Blue Pearl Clearcoat B-95P 1999-2000
Eternal Blue Pearl Clearcoat B-96P 2000
Flamenco Black Pearl Metallic Clearcoat NH-592P 1998-2000
Frost White NH-538 1996-1997
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1996-1997
Iced Teal Pearl Clearcoat BG-41P 1999-2000
Island Coral Pearl Clearcoat R-95P 1996
Inza Red Pearl Clearcoat R-96P 1997-1999
Lightning Silver Metallic NH-617M 1996-1998
Midori Green Pearl Clearcoat GY-16P 1996
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1996-2000
Orange Pri Metallic Clearcoat YR-513M 1997
Phoenix Yellow Y-56 2000
Rallye Red R-513 1997-2000
Roma Red Clearcoat R-97 1996-2000
Royal Grape Pearl Clearcoat ---- 1998 (Vi-RS)
Sequia Green Pri Metallic G-89P 2000
Super Sonic Blue Pearl Clearcoat B-90P 1999
Taffeta White NH-578 1998-2000
Titanium Metallic Clearcoat YR-525M 2000
Vintage Plum Pearl Clearcoat RP-32P 2000
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1996-2000
HONDA CIVIC 7th GENERATION (2001-2004)
----------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Clover Green Pearl Metallic Clearcoat G-95P 2001-2002
Eternal Blue Pearl Clearcoat B-96P 2001-2004
Euro Yellow Pearl Metallic Clearcoat Y-62P 2002
Fiji Blue Pearl B-529P 2004
Firepepper Red Pearl Clearcoat R-507P 2002
Fluorite Silver Metallic ----- 2004 (Hybrid)
Galapagos Green Metallic Clearcoat G-511M 2003-2004
Inca Pearl Clearcoat Y-61P 2001-2002
Magnesium Metallic NH-675M 2004
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 2003
Naples Gold Metallic Clearcoat YR-524M 2002
Nighthawk Black Pearl Clearcoat B-92P 2001-2004
Noble Green Pearl Clearcoat G-508P 2002
Opal Silver Blue Metallic Clearcoat BG-51M 2002-2004
Radiant Ruby Pearl ----- 2002-2004
Rallye Red R-513 2001-2004
San Marino Red Clearcoat R-94 2002
Satin Silver Metallic Clearcoat NH-623M 2001-2004
Shoreline Mist Metallic YR-528M 2003-2004
Taffeta White NH-578 2001-2004
Titanium Metallic Clearcoat YR-525M 2001-2003
Vivid Blue Pearl Clearcoat B-520P 2003-2004
Vintage Plum Pearl Clearcoat RP-32P 2000-2002
มาตรวจเช็คสภาพหัวเทียน ด้วยตนเองกันดีกว่า
เอาใจคอคนรักเครื่องยนต์เบนซินกันหน่อย ซึ่งเรื่องที่จะนำเสนอสำหรับฉบับเปิดหัวปีนี้ ขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของ "การบำรุงรักษา การตรวจเช็ค และการถอดเปลี่ยนหัวเทียนด้วยตัวท่านเอง"
หัวเทียน หรือชื่อภาษาอังกฤษที่หลายท่านรู้จักคุ้นตาจากข้างกล่องบรรจุในนาม SPARK PLUG มันคือชิ้นส่วนสำคัญของระบบจุดระเบิดสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน โดยการทำงานของเจ้าหัวเทียนนี้ จะทำการรับกระแสไฟแรงเคลื่อนสูงระดับแสนโวลต์ที่รับการแปลงเพิ่มแรงเคลื่อนจาก ชุดคอนเดนเซอร์ (CDI) จ่ายต่อมายัง ชุดจานจ่าย เพื่อทำการจัดส่งกระแสไฟให้ถูกต้องตามลำดับขั้น การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ (FIREDING ORDER) ส่งผ่านกระแสไฟมาตามสายหัวเทียนผ่านสู่ ขั้วหัวเทียน ส่งตรงลงตามแกนหัวเทียนจนสุดปลาย จากนั้นกระแสไฟแรงเคลื่อนสูงนี้จะกระโดดข้ามส่ง ประกายไฟ SPARK ลงที่ เขี้ยวหัวเทียน (เขี้ยวดิน) เป็นอันว่าการเดินทางของกระแสไฟสามารถไหลลงสู่ GROUND ได้ครบวงจร ซึ่งเจ้าประกายไฟไฟที่สปาร์คกระแสไฟกระโดดข้ามจากแกนหัวเทียนสู่เขี้ยวดินนี่หล่ะคือ ตัวการทำหน้าที่จุดระเบิดส่วนผสมของน้ำมันและอากาศ (ไอดี) ให้เกิดการสันดาปภายในเครื่องยนต์
หัวเทียน นั้นมีอายุการใช้งานเช่นกัน โดยทั่วไปควรทำการเปลี่ยนหัวเทียนชุดใหม่เมื่ออายุการใช้งานครบ 100,000 กิโลเมตร ทั้งนี้เพื่อตัดกังวลเรื่องการเสื่อมคุณภาพของหัวเทียนขณะขับขี่ (หัวเทียนบอด) และในระหว่างการใช้งานตามระยะ 100,000 กิโลเมตร ท่านผู้ใช้รถควรทำการตรวจสอบเช็คสภาพหัวเทียนให้มีความสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการตรวจสภาพหัวเทียน สามารถบอกลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ได้ ตั้งแต่การบ่งชี้ว่าอัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงสัมพันธ์กันเพียงไร อัตราส่วนผสมหนาหรืออัตราส่วนผสมบางหรือไม่ รวมถึงหัวเทียนยังสามารถบอกได้ถึงลักษณะการปรับองศาไฟจุดระเบิดว่า เครื่องยนต์นั้นๆ ปรับตั้งค่าองศาไฟจุดระเบิดอยู่ในตำแหน่งก่อนถึงศูนย์ตายบน (ไฟแก่) หรือหัวเทียนจุดระเบิดส่วนผสมไอดีหลังจากลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบน (ไฟอ่อน) ซึ่งสีของหัวเทียนสามารถบอกลักษณะต่างๆ ได้อย่างดี จุดนี้ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการวินิจฉัยการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อทำการปรับแก้ไขระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
เพื่อกันการสับสนก่อนการถอดหัวเทียนออกมาตรวจเช็ค สิ่งที่ควรกระทำมีดังนี้ -
ก่อนทำการถอดหัวเทียนทุกครั้ง เพื่อป้องกันความสับสนของการใส่สายหัวเทียนสลับสูบ วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรทำสัญลักษณ์บอกตำแหน่งที่สายหัวเทียนแต่ละสูบ ซึ่งท่านผู้อ่านอาจเลือกใช้การมาร์คด้วยกระดาษกาวพันที่สาย แล้วเขียนหมายเลข กำกับก็สามารถช่วยจดจำไม่สับสน -
เมื่อทำการถอดหัวเทียนออกจากเบ้า ควรทำการมาร์คระบุหัวเทียนแต่ละหัวให้ชัดเจนว่าเป็นของสูบใด ทั้งนี้เนื่องจาก การทำงานของเครื่องยนต์ในแต่ละสูบจะมีลักษณะการสึกหรอที่แตกต่างกัน ซึ่งในบางครั้งเมื่อเราทำการถอดหัวเทียน ออกจนหมดแล้วสังเกตที่สีหัวเทียน ในบางรายอาจพบว่าสีของหัวเทียนของแต่ละสูบนั้นแตกต่างกัน การสังเกตสีของหัวเทียน และลักษณะหัวเทียน เพื่อทำการวินิจฉัยก่อนการปรับแต่งที่เหมาะสมทำได้ดังนี้ - ถ้าหัวเทียนมีสภาพแห้ง คราบที่เกาะบริเวณเขี้ยวหัวเทียนมีสีน้ำตาลอ่อนๆ สภาพเช่นนี้ เป็นลักษณะของการเผาไหม้ ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์แบบ การทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องยนต์อยู่ในสภาพปกติ -
ถ้าหัวเทียนมีสภาพดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้บอกให้เราได้ทราบว่า ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราส่วนผสมที่มากกว่าอากาศ (ส่วนผสมหนา) ซึ่งคราบที่พบคือ ส่วนที่เหลือตกค้างของละอองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาก เกินกว่าความต้องการของเครื่องยนต์ การแก้ไขเบื้องต้นคือ ทำการปรับซ่อมของระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ใหม่
หัวเทียนมีสภาพชุ่มน้ำมันเครื่อง ลักษณะเช่นนี้คือ อาการที่บ่งบอกว่าเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอ และมีการเล็ดลอดของน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ สาเหตุอาจเกิดจากลูกสูบและแหวนลูกสูบเกิดการสึกหรอ กระบอกสูบ อาจมีรอยขูดขีดที่ลึกเป็นร่องบริเวณผนังกระบอกสูบ หรืออาจเกิดการเสื่อมสภาพของซีลไกด์วาล์วบนฝาสูบ อาการเช่นนี้ ควรนำรถส่งให้ช่างทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุง
หัวเทียนมีลักษณะกร่อน และไหม้ เมื่อพบหัวเทียนลักษณะเช่นนี้แสดงว่าการทำงานของเครื่องยนต์อยู่ใน อุณหภูมิที่สูงเกินไป สาเหตุอาจเนื่องมาจากการเลือกใช้เบอร์ของหัวเทียนไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน การระบายความ ร้อนสะสมที่เกิดขึ้นกับส่วนปลายของหัวเทียนไม่สามารถคายความร้อนออกสู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็ว หรืออาจเกิดจาก การชิงจุดระเบิด (PRE-IGNITION) เนื่องจากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิร้อนจัด จนส่วนปลายของเขี้ยวระอุจนเป็น สีแดงเกือบหลอมละลายนั่นเอง
หากพบคราบเขม่าสีขาวหรือสีเหลืองจับอยู่ ลักษณะเช่นนี้บ่งชี้ให้ทราบว่าองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ เกิดขึ้นภายหลังลูกสูบเลื่อนพ้นศูนย์ตายบน หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ไฟอ่อน การแก้ไขที่ควรทำคือ ปรับตั้งตำแหน่งองศาการ จ่ายไฟของระบบจุดระเบิดใหม่ให้มีองศาไฟที่แก่ขึ้น นอกจากนี้หลังการปรับองศาการจุดระเบิดใหม่ ควรทำการเปลี่ยนหัวเทียน ใหม่ให้มีขนาดเบอร์ที่ร้อนขึ้น
หลังจากที่เราทำการตรวจวิเคราะห์ และปรับแก้ไขระบบต่างๆ ให้เหมาะสม ก่อนทำการประกอบหัวเทียนกลับเข้าสู่เครื่องยนต์ ควรล้างทำความสะอาดหัวเทียนให้เรียบร้อยด้วยน้ำมันเบนซิน ควบคู่ไปกับการใช้แปรงทาสีขนาดเล็ก แปรงลวดทองเหลือง เบอร์ละเอียดแบบด้ามจับ และกระดาษทรายเบอร์ละเอียดทำความสะอาดคราบต่างๆ ที่เกาะอยู่รอบหัวเทียนให้มีสภาพพร้อมใช้
อีกสิ่งที่ควรทำคือ วัดค่าระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนทุกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพของการเกิดประกายไฟจุดระเบิดที่ เต็มเปี่ยม โดยค่าระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนมาตรฐานจะประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร (0.024-0.031 นิ้ว) ซึ่งการตั้งค่าระยะห่างที่แม่นยำถูกต้องควรใช้ฟิลเลอร์เกจชนิดลวดกลม (ROUND WIRE GAGE)
ไม่ยากเลยใช่มั๊ยครับกับการดูแลรักษาหัวเทียนด้วยตัวคุณเอง นอกเหนือจากเป็นการใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดให้คุ้มค่า พาเพลิดเพลินไปกับการรักษารถที่คุณรักด้วยเองแล้ว คุณผู้อ่านยังสามารถทราบถึงอาการผิดปกติที่กำลังเกิดกับเครื่องยนต์ เพื่อทำการปรับแก้แต่เนิ่นๆ อย่างถูกต้อง ซึ่งการได้ขลุกอยู่กับรถเช่นนี้ ยังช่วยป้องกันเงินในกระเป๋ากระเด็นออกเกินความจำเป็น เพราะจะได้ไม่ถูกกลุ่ม ช่างไร้จรรยาบรรณบางรายหลอกอีกด้วย
เห็นประโยชน์ขนาดนี้แล้ว วันหยุดที่จะถึงนี้ ลองเปิดฝากระโปรงหน้ารถตรวจเช็ครถด้วยตัวคุณเองดูก็ดีนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารออฟโรด
ฉบับที่ 141
ประจำเดือน มกราคม 2550
วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552
D.I.Y. ปัดเงาค้ำ - บาร์ ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
เริ่มต้นด้วยของที่ต้องใช้ก้อมี
หัวปัดผ้า แอร์กอฮอล์ ไขปลาวาฬ มอเตอร์หินขัด บัสซี่(น้องบัสโซ) และที่สำคัญที่สุด ความบ้า
(อุปกรณ์ทั้งหมดของบริษัท ตัวเองออกแรงอย่างเดียว อิอิ)
อันนี้บาร์เดิมๆ มีเนิยมออกจากโรงกลึงหมาดๆ เช็ดด้วยแอลกอฮอล์เอาคราบต่างๆ ออก
และตามด้วยพระเอกของเรา ไขปลาวาฬ (ไม่มีไม่ได้) ก้อนละสองร้อย แถวคลองถมมีขาย
แล้วก้อเอาไขปลาวาฬถูกับหัวผ้าซะ
จากนั้นก้อ ขัดๆๆๆๆๆ ล้างๆๆๆๆ สลับกันไปๆ มาๆ จนเหนื่อย
จะมีคราบเหลืออยู่ ไม่ต้องตกใจ เป็นทำมะดา จะเริ่มเห็นความแตกต่าง แบบจะจะ
ตามด้วยเอาพระรองของเรา บัสซี่ น้อง บัสโซ เท ราด เช็ด ปัด ทำวนไป วนมา จนเหนื่อยอีก
จากนั้นเอา บัสซี่ลงอีกรอบ คราวนี้ขัดมือ ขัดๆๆๆๆๆ โอย เหนื่อยว้อยยย
เมื่อเนียนจนพอใจ รึ หมดแรง ก้อเอาไปติดตั้ง จบ เสร็จซะที
ไว้คราวหน้ามีอะไรแผลงๆ จะเอามาลงอีก
ขอบคุณที่ติดตาม
ขอบคุณ คุณจุ้ยที่ให้ข้อมูลดีๆนะครับ
หัวปัดผ้า แอร์กอฮอล์ ไขปลาวาฬ มอเตอร์หินขัด บัสซี่(น้องบัสโซ) และที่สำคัญที่สุด ความบ้า
(อุปกรณ์ทั้งหมดของบริษัท ตัวเองออกแรงอย่างเดียว อิอิ)
อันนี้บาร์เดิมๆ มีเนิยมออกจากโรงกลึงหมาดๆ เช็ดด้วยแอลกอฮอล์เอาคราบต่างๆ ออก
และตามด้วยพระเอกของเรา ไขปลาวาฬ (ไม่มีไม่ได้) ก้อนละสองร้อย แถวคลองถมมีขาย
แล้วก้อเอาไขปลาวาฬถูกับหัวผ้าซะ
จากนั้นก้อ ขัดๆๆๆๆๆ ล้างๆๆๆๆ สลับกันไปๆ มาๆ จนเหนื่อย
จะมีคราบเหลืออยู่ ไม่ต้องตกใจ เป็นทำมะดา จะเริ่มเห็นความแตกต่าง แบบจะจะ
ตามด้วยเอาพระรองของเรา บัสซี่ น้อง บัสโซ เท ราด เช็ด ปัด ทำวนไป วนมา จนเหนื่อยอีก
จากนั้นเอา บัสซี่ลงอีกรอบ คราวนี้ขัดมือ ขัดๆๆๆๆๆ โอย เหนื่อยว้อยยย
เมื่อเนียนจนพอใจ รึ หมดแรง ก้อเอาไปติดตั้ง จบ เสร็จซะที
ไว้คราวหน้ามีอะไรแผลงๆ จะเอามาลงอีก
ขอบคุณที่ติดตาม
ขอบคุณ คุณจุ้ยที่ให้ข้อมูลดีๆนะครับ
อุปกรณ์ของเล่น เกจ์วัดค่าต่างๆ กับระบบสารหล่อลื่น ที่น่ารู้
หลังจากที่เราได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประเภทน้ำมันเครื่อง หน้าที่ ค่าความหนืด เบอร์ต่างๆ การเลือกซื้อ และเลือกใช้น้ำมันเครื่อง ต่อไปจะมาดูกันว่า วิธีเล่นแรงแบบต่างๆ กับระบบหล่อลื่น เราจะเริ่มต้นจากวิธีใด และของเล่นสำหรับรถแรงที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเครื่อง นั้นมีอะไรกันบ้าง
เล่นแรงง่ายๆ กับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ใสขึ้นอีกสักเบอร์
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ ความหนืดลดลงสักเบอร์เป็นวิธีสร้างความแรง และความคล่องตัวให้กับเครื่องยนต์ได้อย่างง่ายๆ แน่นอนน้ำมันเครื่องยิ่งใส ความหนืดย่อมน้อยลง ความต้านทานการไหลต่ำ ก็ยิ่งทำให้เครื่องยนต์มีแรงเสียดทานลดลง รอบเครื่องยนต์กวาดได้ไวขึ้น แต่การจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ใสขึ้น เช่นจาก เบอร์ 50 เป็นเบอร์สัก 40 หรือจะเหลือเพียงเบอร์ 30 นั้นต้องคำนึงถึง สภาพของเครื่องยนต์ว่าต้องฟิตจริงๆ การออกแบบเครื่องยนต์รองรับกับน้ำมันเครื่องความหนืดต่ำ มิฉะนั้นโอกาสชาร์ปละลายก็เป็นไปได้สูง เช่นสำหรับเครื่องที่เป็นไฮโดรลิกวาล์ว พวกนี้ต้องการน้ำมันเครื่องที่ค่อนข้างใส ราวเบอร์ 30 – 40 และสำหรับเครื่องพวกโซ่ราวลิ้นจะต้องการความหนืดที่เบอร์ 50 – 60 และสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลฟิตปั๊ง การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจากเบอร์ 40 มาเป็นเบอร์ 30 จะทำให้เครื่องยนต์เร่งรอบเครื่องได้เร็วขึ้นอีกมาก แต่ถ้าจะพูดถึงรถแข่งระดับโลกอย่างรถ Dragter ที่วิ่งกันความเร็วเพียง 4 – 5 วินาที เบอร์น้ำมันเครื่องอาจจะลดต่ำถึงเบอร์ 0W-10 หรือ 0W-20 เรียกว่าหล่อลื่นแบบไร้แรงเสียดทาน หรือจะหันมาคบกับน้ำมันเครื่องเกรดรถแข่งหรือ Racing Oil ราคาก็ไม่แพงมาก ราวหลักพันต้นๆ ถึงหลักพันปลายๆ ต่อลิตรเท่านั้นเอง
เล่นแรงกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์
ส่วนมากรถแรงๆ หรือรถแข่ง มักจะเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด (เท่าที่จะหาได้) ซึ่งหนีไม่พ้นน้ำมันเครื่องแบบ สังเคราะห์แน่นอนน้ำมันเครื่องแบบนี้ มีคุณสมบัติที่ดีกว่าน้ำมันเครื่องแบบธรรมดาตรงที่ มีอายุการใช้งานได้ยาวนานมาก คงคุณสมบัติในการหล่อลื่นไม่ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น หรือต่ำลงซักเพียงใด ฟิล์มน้ำมันยังแข็งแรงกว่า ไม่เสื่อมสภาพง่าย และแน่นอน การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา เป็นน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ จะทำให้รถแรงขึ้น ขับลื่นขึ้น เสียงเครื่องเงียบลง เครื่องยนต์สึกหรอช้าลง หรือที่เรียกว่าจ่ายแพงครั้งเดียว แต่ใช้งานได้อีกนาน
Oil Additives
อัพเกรดน้ำมันเครื่องเพิ่มแรงม้า ด้วยหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง
แน่นอนที่สุดกับวิธีเพิ่มแรงม้าที่พิสูจน์ได้ว่า ง่ายที่สุด ใช้จ่ายน้อยที่สุด ก็เห็นเป็นเพียงการผสมหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด กับน้ำมันเครื่องแบบธรรมดาที่ใช้อยู่ หัวเชื้อน้ำมันเครื่องถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันเครื่อง ซึ่งส่วนมากน้ำมันเครื่องที่ขายอยู่ในท้องตลาด ก็มีการผสมหัวเชื้ออยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ปริมาณจะน้อยมาก การเพิ่มปริมาณของหัวเชื้อ หรือ Additiveให้มีปริมาณมากขึ้น เป็นการอัพเกรดน้ำมันเครื่องให้สูงกว่ามาตรฐาน และจะทำให้น้ำมันเครื่องมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นดีมากยิ่งขึ้น ยิ่งลื่นมากขึ้น แรงเสียดทานก็น้อยลง เครื่องยนต์จึงแรงขึ้น ความร้อนลดลง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น สึกหรอช้าลง อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องยาวนานขึ้น และหัวเชื้อยังเหมาะสำหรับรถแข่ง หรือรถที่โมดิฟลายในระดับสูง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจไม่คาดคิด เช่นในกรณีน้ำมันเครื่องเกิดขาดระบบชั่วคราว เช่นเครื่องดูดน้ำมันเครื่องขึ้นไม่ทัน น้ำมันเครื่องรั่ว หรือปั้มน้ำมันเครื่องพัง แต่หัวเชื้อจะดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับสูตรสำเร็จที่ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง แต่ละยี่ห้อที่พยามยามทำออกมาขาย ซึ่งผู้ซื้อต้องเลือกให้ดีๆเท่านั้นเอง
Oil Press
เกจ์วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
อุปกรณ์ตัวนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อประดับให้รถดูสวยงามเท่านั้น สำหรับรถธรรมดา และรถแข่งแบบโมดิฟลายแบบเต็มพิกัด เกจ์วัดเป็นได้ตั่งแต่การบ่งบอกถึงระดับแรงดันของน้ำมันเครื่องซึ่งแสดงในรูปแบบของเข็มชี้วัดแรงดันเป็น ปอนต์ หรือ Psi การใช้งานของเกจ์วัด เริ่มตั่งแต่สตาร์ทเครื่อง ซึ่งจะสังเกตได้ว่า แรงดันน้ำมันเครื่องจะสูงมาก ซึ่งแสดงถึงความหนืดของน้ำมันเครื่องก่อนสตราท์เครื่องยนต์ค่อนข้างสูง เพราะที่อุณหภูมิต่ำน้ำมันเครื่องจะหนืดข้นขึ้น จนถึงระดับอุณหภูมิเครื่องยนต์ใช้งานปกติ แรงดันน้ำมันเครื่องจะลดกลับลงมาสู่แรงดันที่แท้จริง แต่ถ้าเครื่องยนต์มีการใช้งานหนัก เช่นขับลากรอบสูงๆอย่างต่อเนื่อง หรือเหนี่ยวกันยาวๆ แรงดันน้ำมันเครื่องอาจค่อยๆลดต่ำลง ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าน้ำมันเครื่องใกล้ถึงจุดเดือด ร้อนจนน้ำมันเครื่องเริ่มใสใกล้เป็นน้ำ หรือจะเดือดจนแทบกลายเป็นไอ น้ำมันเครื่องจะหมดประสิทธิภาพการหล่อลื่น เครื่องอาจชาร์ปละลายได้ แต่แรงดันตกลงอย่างกะทันหัน แสดงได้ว่าปั้มน้ำมันเครื่องกระจายเสียแล้ว หรือน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกจากเครื่องจนใกล้หมด เกจ์วัดตัวนี้เป็นตัวช่วยแสดงให้เรารู้ว่าควรจะขยี้คันเร่งต่อ หรือจะผ่อนคันเร่ง หรือรีบจอด เพื่อรีบแก้ไข ก่อนที่จะได้ยกเครื่องใหม่อีกตัวนั่นเอง
Oil Temp
เกจ์วัดความร้อนน้ำมันเครื่อง
ความร้อนของน้ำมันเครื่อง มีความผกผันกับแรงดันของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องเมื่ออุณหภูมิต่ำ จะมีความหนืดสูง แต่เมื่ออุณหภูมิสูงความหนืดก็จะลดต่ำลง สำหรับเครื่องยนต์โมดิฟลาย เกจ์วัดความร้อนตัวนี้ เป็นตัวบ่งบอกถึงอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องในรูปแบบ องศาเซลเซียส (C) หรือเป็นแบบ ฟาเรนไฮต์ (F) ซึ่งต้องมีการจดบันทึกอยู่ตลอด อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องที่สูงเกินไป หมายถึงน้ำมันเครื่องจะมีความหนืดลดลง หมดสภาพในการหล่อลื่น เครื่องอาจพังในที่สุด ส่วนถ้าความร้อนน้ำมันเครื่องสูงอย่างต่อเนื่อง หมายถึงระบบการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ยังไม่เพียงพอ ต้องหาทางขยับขยายระบบระบายความร้อนให้ดีเพิ่มขึ้น เกจ์วัดตัวนี้ช่วยในการออกแบบ ระบบระบายความร้อน และแสดงให้รู้ถึงอุณหภูมิในเครื่องยนต์ที่แท้จริง
Oil Catch Tank
ถังดักไอน้ำมันเครื่อง
หลายคนยังแปลกใจว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีหน้าที่อย่างไร ทำไมรถแต่งๆถึงนิยมติดตั้งกัน ถังดักไอมีหน้าที่ดักเอาไอของน้ำมันเครื่องที่มีความร้อนสูงจนเดือด เกิดการระเหยตัวกลายเป็นไอ คล้ายไอน้ำ ปะปนมากับแรงอัดของอากาศที่เล็ดลอดออกมาจากแหวนสูบ เครื่องยิ่งหลวมมาก แรงดัน และไอน้ำมันเครื่องยิ่งมีมาก ซึ่งปกติแล้วเครื่องยนต์ทุกตัว จะมีการระบายไอน้ำมันเครื่องออกมาทางส่วนเหนือสุดของเครื่อง เพื่อป้องกันแรงดันภายในเครื่องยนต์เกิน แล้วย้อนต่อกลับมาในคอไอดี เพื่อเผาไหม้ใหม่เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม แต่ถ้าไอน้ำมันเครื่อง มีปริมาณมากเกินไป ก็จะมีส่วนทำให้การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ลดลง แทนที่เครื่องจะได้รับอากาศบริสุทธิ์ กับน้ำมันเชื้อเพลิงดีๆพร้อมลุกติดไฟ กลับได้ส่วนผสมของไอน้ำมันเครื่องที่จุดระเบิดติดยากยิ่งกว่า ผสมเข้าไปด้วย เครื่องจะสูญเสียกำลัง แถมอุณหภูมิของไอน้ำมันเครื่องมีสูง ทำให้อากาศที่ไหลเข้าห้องเผาไหม้มีความหนาแน่นลดลง ดังนั้นรถแต่ง หรือรถแรงๆ จะนิยมทำกรองดักไอน้ำมันเครื่องขึ้นมา เพื่อดักไอน้ำมันเครื่องให้หลงเหลือในปริมาณน้อยที่สุด
Oil Racing Filter
ไส้กรองน้ำมันเครื่องซิ่ง
ไส้กรองน้ำมันเครื่องสีสันสวยงาม แล้วมาโฆษณาอวดสรรพคุณอีกว่า กรองอนุภาคได้ดีกว่า แข็งแรงกว่า แต่ราคาก็แพงกว่ามาก แท้จริงแล้วกลับมีความจำเป็นมากกว่าที่คิด ไส้กรองซิ่งพวกนี้จะมีการออกแบบผ้ากรองได้ยอดเยี่ยมกว่า โดยสามารถกรองเอาสิ่งสกปรกที่ปะปนมากับน้ำมันเครื่องได้มากกว่า ด้วยวัสดุที่ดีกว่า แถมยังทำให้น้ำมันเครื่องไหลผ่านได้รวดเร็วขึ้น เป็นผลทำให้แรงดันน้ำมันเครื่องสูงขึ้น และที่สำคัญด้วยวัสดุการประกอบภายนอกที่มีความแข็งแรง ทำให้ไส้กรองแบบนี้ สามารถรับมือกับแรงดันน้ำมันเครื่องที่สูงมากขึ้น อย่างในเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง หรือมีการแต่งปั้มน้ำมันเครื่องจนมีแรงดันสูงขึ้น จนไส้กรองแบบธรรมดารับมือไม่ไหว แตกกระจายแบบที่เห็นกันบ่อยๆ ไส้กรองแบบนี้จึงได้รับความนิยมสูง ตั่งแต่รถที่ต้องการให้เครื่องยนต์สะอาดขึ้น อายุของไส้กรองน้ำมันยาวนานขึ้น จนถึงรถแข่งที่ต้องการไส้กรองที่สามารถรับประกันได้ว่า ไส้กรองจะไม่เสียหายพ่นน้ำมันออกมา จนสร้างความเสียหายให้กับเครื่องยนต์
Oil Cooler
เพิ่มออยล์คูเลอร์ ระบายความร้อนให้กับน้ำมันเครื่อง
แน่นอนถ้าน้ำมันเครื่องเย็น ย่อมทำให้ความร้อนของเครื่องลดลง ดังนั้นการระบายความร้อนให้กับน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด คือการติดตั้งออยล์คูเลอร์ สังเกตได้ว่า เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จเจอร์จากโรงงานเกือบทุกตัว จะมีการติดตั้งออยล์คูเลอร์แถมมาให้ด้วย เป็นเพราะในเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ต้องทำงานหนัก ความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นมาก ดังนั้นการลดความร้อนให้กับเครื่องยนต์ได้รวดเร็วที่สุด คือการลดความร้อนให้กับน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องมีหน้าที่ในการนำพาความร้อนของเครื่องในทุกส่วนของเครื่องมาระบายความร้อนให้เย็นลง ออยล์คูเลอร์มีส่วนในช่วยในการระบายความร้อนของน้ำมันเครื่อง และของเครื่องยนต์ซึ่งการทำให้ความร้อนของเครื่องยนต์เย็นลง มีส่วนในการยืดอายุของเครื่องยนต์ และอายุของน้ำมันเครื่องให้ใช้งานได้ยาวนานเพิ่มขึ้น
Oil Plumbing and Fittings
สายน้ำมันเครื่อง และข้อต่อแรงดันสูง
สายน้ำมันเครื่องแรงดันสูง หรือพวกสายถักสีสันสวยงาม สายพวกนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อความสวยงาม หรืออย่างไร แต่สายแรงดันพวกนี้รถแรงๆมักนิยมหามาใส่กัน ด้วยเหตุผลที่ทนแรงดันของน้ำมันเครื่องได้สูงกว่าสายน้ำมันแบบทั่วๆไปมาก มีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า และทนความร้อนได้สูงกว่า สายถักสแตนเลสพวกนี้ถูกออกแบบมาให้รับมือกับ เครื่องยนต์ที่มีการโมดิฟลายในระดับสูง เช่นเปลี่ยนปั้มน้ำมันเครื่องที่มีแรงดันสูง หรือรอบเครื่องสูงมากๆ การเดินสายแรงดันน้ำมันเครื่องในระยะทางไกล ป้องกันการเสียดสี แถมยังทนทานต่อแรงกระแทกในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อความชัวร์ รถแต่ง หรือแม้แต่รถแข่ง จะนิยมนำสายประเภทนี้มาใช้เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะการใช้สายน้ำมันเครื่องแรงดันสูง กับหัวข้อต่อรับแรงดันอย่างดี เป็นการประกันได้ว่า โอกาสที่ท่อน้ำมันเครื่องจะแตกจะขาด หรือน้ำมันเครื่องจะรั่วออกมานั้น ควรจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย
Racing Oil Pump
ถ้าจะเล่นรอบสูงสักหมื่นรอบ ต้องปั้มน้ำมันเครื่องซิ่ง
จริงอยู่ปั้มนั้นเครื่องในรถทั่วๆไป สามารถสร้างแรงดันน้ำมันเครื่องได้สูง แต่ก็เป็นเพียงในรอบเครื่องที่ไม่สูงมากนัก ก่อนที่ปั้มน้ำมันเครื่องจะทำลายตนเอง เนื่องจากวัสดุไม่สามารถรองรับกับภาระการหมุนด้วยความเร็วรอบสูงๆ หรือไม่สามารถสร้างแรงดันน้ำมันไปหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่างๆที่ต้องมีการหมุนด้วยความเร็วรอบสูงๆได้เพียงพอต่อความต้องการ ดั้งนั้นสำหรับเครื่องยนต์ที่มีการโมดิฟลายให้มีแรงม้าสูงขึ้น หรือใช้งานกับรอบเครื่องยนต์สูงมากๆ การเล่นแรงกับแรงดันน้ำมันเครื่องเห็นเป็นหนีไม่พ้นกับ ปั้มน้ำมันเครื่องซิ่งอีกสักชุด ด้วยการออกแบบ และการใช้วัสดุอย่างดี ปั้มน้ำมันเครื่องซิ่ง จากหลายยี่ห้อ จะถูกสร้างขึ้นมาให้ตรงตามการใช้งานของแต่ละรุ่นของเครื่องยนต์ ความต้องการความเร็วรอบสูงสุด หรือต้องการแรงดันน้ำมันเครื่องที่สูงมากขึ้น
Wet Sump
ขยายอ่างน้ำมันเครื่อง
ในบางครั้งเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมากขึ้น ปั้มน้ำมันเครื่องก็ต้องการน้ำมันเครื่องในปริมาณมากขึ้น อีกทั้งในการใช้งานที่แบบสมบุกสมบัน แซงซ้าย แซงขวา ออกตัวอย่างแรง เบรกอย่างกะทันหัน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำมันเครื่องในอ่างน้ำมันเครื่องมีการกระเพื่อม ไหลวนไปมา ดังนั้นการเพิ่มความจุอ่างน้ำมันเครื่อง ให้มีปริมาณการรองรับน้ำมันเครื่องได้มากขึ้น อีกสัก 1 – 2 ลิตร เช่นจาก 4 ลิตร ไปเป็นซัก 6 ลิตร โดยการไม่ทำให้ระดับของน้ำมันเครื่องสูงขึ้น เห็นจะเป็นวิธีการนำแคล็งน้ำมันเครื่องเดิมออกมาตีกล่องขยายเพิ่มความจุ หรือหาแคล็งน้ำมันเครื่องซิ่ง ที่แต่สำนักต่างๆทำออกมาขายให้กับเครื่องยนต์แรงๆเกือบทุกรุ่น นั้นเห็นจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันได้ว่าจะโยนโค้งซักเพียงใด ออกตัวแรงแค่ไหน หรือรอบเครื่องจะสูงซักเท่าไหร่ น้ำมันเครื่องจะยังมีพอหล่อเลี้ยงในระบบไม่ขาดระยะ และแคล็งน้ำมันเครื่องซิ่งบางรุ่น ยังสามารถออกแบบมาเพื่อระบายความร้อนให้กับน้ำมันเครื่องได้อีกด้วย
Dry Sump
แรงสุดๆ ต้อง อ่างน้ำมันเครื่องแบบแห้ง
วิธีที่เล่นแรงที่สุดกับระบบหล่อลื่น ในปัจจุบันต้องยกให้กับระบบ Dry Samp หรืออ่างน้ำมันเครื่องแบบแห้ง ระบบนี้มีมาแต่โบราณ เป็นที่นิยมสำหรับรถสปอร์ตราคาแพง หรือพวกอย่างรถ Suprecar เกือบทุกรุ่น หรือในรถแข่ง ตั้งแต่รถ Drag Racing , Nascar , Rally หรือแม้แต่ F1 ต่างก็ใช้ระบบนี้ ด้วยการหลีกพ้นข้อจำกัดในระบบหล่อลื่นแบบธรรมดาทั้งหมด Dry Sum จะไม่มีอ่างน้ำมันเครื่อง หรือฝักบัวดูดน้ำมันเครื่อง แต่อาศัยหม้อพักน้ำมันเครื่องที่แยกอิสระออกจากตัวเครื่องยนต์ ส่งน้ำมันเครื่องมายัง Oil Pump ที่ทำงานด้วยไฟฟ้า หรือใช้สายพานจากมูเลย์เครื่องยนต์มาปั่นแม่ปั้ม คล้ายกับการทำงานของปั้มน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ หรือใช้เป็นระบบฟันเฟืองเชื่อมต่อการทำงานกับเครื่องยนต์ ปั้มน้ำมันเครื่องแรงดันสูงเข้าสู่เครื่องยนต์โดยตรง แล้วดูดน้ำมันเครื่องที่ไหลกลับมายังหม้อพักน้ำมันเครื่องอีกครั้ง Dry Sump มีข้อดีตรงที่เครื่องยนต์จะไม่มีอ่างน้ำมันเครื่องห้อยต่ำลงมา ใต้ท้องเครื่องยนต์เรียบสนิท จึงสามารถวางเครื่องยนต์ให้ต่ำลง เพื่อให้เกิดจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำ รถยนต์ถึงจะเกาะถนนมากขึ้น และยังช่วยลดขีดจำกัดในการโมดิฟลายเครื่องยนต์ ที่อาศัยข้อเหวี่ยงเป็นตัววิดน้ำมันเครื่องในก้นแคล็ง ซึ่งแน่นอนการตัดภาระในจุดนี้เป็นการเพิ่มแรงม้าได้มากมายหลายตัว อีกทั้งเป็นการตัดปัญหาจุกจิกกับปั้มน้ำมันเครื่องที่จะมารองรับกับความเร็วรอบสูงๆไม่ไหว และอย่างในรถ Drag ในขณะออกตัว เป็นการป้องกันปัญหาน้ำมันเครื่องที่รับแรง G ในการออกตัว แล้วไหลมากองรวมกันด้านหลังเครื่องจนน้ำมันเครื่องขาดระบบ แม้แต่ในรถ Rally หรือในรถ สนามเซอร์กิตต่างๆ Dry Sump ยังสามารถรับประกันได้ว่า จะเข้าโค้งด้วยแรง G สักเพียงใด ออกตัวจนหน้ายก เบรกจนท้ายกระดก ขึ้นเนินสูง ตกกระแทกพื้น ลอยไปในอากาศ หรือแม้แต่จะตีลังกาอีกสักกี่รอบ Dry Sump ก็ยังสามารถป้อนน้ำมันเครื่องให้หล่อเลี้ยงในระบบเครื่องยนต์ได้อย่างไม่ขาดตอนแน่นอน
เล่นแรงง่ายๆ กับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ใสขึ้นอีกสักเบอร์
การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ ความหนืดลดลงสักเบอร์เป็นวิธีสร้างความแรง และความคล่องตัวให้กับเครื่องยนต์ได้อย่างง่ายๆ แน่นอนน้ำมันเครื่องยิ่งใส ความหนืดย่อมน้อยลง ความต้านทานการไหลต่ำ ก็ยิ่งทำให้เครื่องยนต์มีแรงเสียดทานลดลง รอบเครื่องยนต์กวาดได้ไวขึ้น แต่การจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้ใสขึ้น เช่นจาก เบอร์ 50 เป็นเบอร์สัก 40 หรือจะเหลือเพียงเบอร์ 30 นั้นต้องคำนึงถึง สภาพของเครื่องยนต์ว่าต้องฟิตจริงๆ การออกแบบเครื่องยนต์รองรับกับน้ำมันเครื่องความหนืดต่ำ มิฉะนั้นโอกาสชาร์ปละลายก็เป็นไปได้สูง เช่นสำหรับเครื่องที่เป็นไฮโดรลิกวาล์ว พวกนี้ต้องการน้ำมันเครื่องที่ค่อนข้างใส ราวเบอร์ 30 – 40 และสำหรับเครื่องพวกโซ่ราวลิ้นจะต้องการความหนืดที่เบอร์ 50 – 60 และสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลฟิตปั๊ง การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจากเบอร์ 40 มาเป็นเบอร์ 30 จะทำให้เครื่องยนต์เร่งรอบเครื่องได้เร็วขึ้นอีกมาก แต่ถ้าจะพูดถึงรถแข่งระดับโลกอย่างรถ Dragter ที่วิ่งกันความเร็วเพียง 4 – 5 วินาที เบอร์น้ำมันเครื่องอาจจะลดต่ำถึงเบอร์ 0W-10 หรือ 0W-20 เรียกว่าหล่อลื่นแบบไร้แรงเสียดทาน หรือจะหันมาคบกับน้ำมันเครื่องเกรดรถแข่งหรือ Racing Oil ราคาก็ไม่แพงมาก ราวหลักพันต้นๆ ถึงหลักพันปลายๆ ต่อลิตรเท่านั้นเอง
เล่นแรงกับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์
ส่วนมากรถแรงๆ หรือรถแข่ง มักจะเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด (เท่าที่จะหาได้) ซึ่งหนีไม่พ้นน้ำมันเครื่องแบบ สังเคราะห์แน่นอนน้ำมันเครื่องแบบนี้ มีคุณสมบัติที่ดีกว่าน้ำมันเครื่องแบบธรรมดาตรงที่ มีอายุการใช้งานได้ยาวนานมาก คงคุณสมบัติในการหล่อลื่นไม่ว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น หรือต่ำลงซักเพียงใด ฟิล์มน้ำมันยังแข็งแรงกว่า ไม่เสื่อมสภาพง่าย และแน่นอน การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องแบบธรรมดา เป็นน้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์ จะทำให้รถแรงขึ้น ขับลื่นขึ้น เสียงเครื่องเงียบลง เครื่องยนต์สึกหรอช้าลง หรือที่เรียกว่าจ่ายแพงครั้งเดียว แต่ใช้งานได้อีกนาน
Oil Additives
อัพเกรดน้ำมันเครื่องเพิ่มแรงม้า ด้วยหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง
แน่นอนที่สุดกับวิธีเพิ่มแรงม้าที่พิสูจน์ได้ว่า ง่ายที่สุด ใช้จ่ายน้อยที่สุด ก็เห็นเป็นเพียงการผสมหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด กับน้ำมันเครื่องแบบธรรมดาที่ใช้อยู่ หัวเชื้อน้ำมันเครื่องถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำมันเครื่อง ซึ่งส่วนมากน้ำมันเครื่องที่ขายอยู่ในท้องตลาด ก็มีการผสมหัวเชื้ออยู่ด้วยกันทั้งสิ้น แต่ปริมาณจะน้อยมาก การเพิ่มปริมาณของหัวเชื้อ หรือ Additiveให้มีปริมาณมากขึ้น เป็นการอัพเกรดน้ำมันเครื่องให้สูงกว่ามาตรฐาน และจะทำให้น้ำมันเครื่องมีคุณสมบัติในการหล่อลื่นดีมากยิ่งขึ้น ยิ่งลื่นมากขึ้น แรงเสียดทานก็น้อยลง เครื่องยนต์จึงแรงขึ้น ความร้อนลดลง ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น สึกหรอช้าลง อายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องยาวนานขึ้น และหัวเชื้อยังเหมาะสำหรับรถแข่ง หรือรถที่โมดิฟลายในระดับสูง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจไม่คาดคิด เช่นในกรณีน้ำมันเครื่องเกิดขาดระบบชั่วคราว เช่นเครื่องดูดน้ำมันเครื่องขึ้นไม่ทัน น้ำมันเครื่องรั่ว หรือปั้มน้ำมันเครื่องพัง แต่หัวเชื้อจะดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับสูตรสำเร็จที่ผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง แต่ละยี่ห้อที่พยามยามทำออกมาขาย ซึ่งผู้ซื้อต้องเลือกให้ดีๆเท่านั้นเอง
Oil Press
เกจ์วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
อุปกรณ์ตัวนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อประดับให้รถดูสวยงามเท่านั้น สำหรับรถธรรมดา และรถแข่งแบบโมดิฟลายแบบเต็มพิกัด เกจ์วัดเป็นได้ตั่งแต่การบ่งบอกถึงระดับแรงดันของน้ำมันเครื่องซึ่งแสดงในรูปแบบของเข็มชี้วัดแรงดันเป็น ปอนต์ หรือ Psi การใช้งานของเกจ์วัด เริ่มตั่งแต่สตาร์ทเครื่อง ซึ่งจะสังเกตได้ว่า แรงดันน้ำมันเครื่องจะสูงมาก ซึ่งแสดงถึงความหนืดของน้ำมันเครื่องก่อนสตราท์เครื่องยนต์ค่อนข้างสูง เพราะที่อุณหภูมิต่ำน้ำมันเครื่องจะหนืดข้นขึ้น จนถึงระดับอุณหภูมิเครื่องยนต์ใช้งานปกติ แรงดันน้ำมันเครื่องจะลดกลับลงมาสู่แรงดันที่แท้จริง แต่ถ้าเครื่องยนต์มีการใช้งานหนัก เช่นขับลากรอบสูงๆอย่างต่อเนื่อง หรือเหนี่ยวกันยาวๆ แรงดันน้ำมันเครื่องอาจค่อยๆลดต่ำลง ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าน้ำมันเครื่องใกล้ถึงจุดเดือด ร้อนจนน้ำมันเครื่องเริ่มใสใกล้เป็นน้ำ หรือจะเดือดจนแทบกลายเป็นไอ น้ำมันเครื่องจะหมดประสิทธิภาพการหล่อลื่น เครื่องอาจชาร์ปละลายได้ แต่แรงดันตกลงอย่างกะทันหัน แสดงได้ว่าปั้มน้ำมันเครื่องกระจายเสียแล้ว หรือน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกจากเครื่องจนใกล้หมด เกจ์วัดตัวนี้เป็นตัวช่วยแสดงให้เรารู้ว่าควรจะขยี้คันเร่งต่อ หรือจะผ่อนคันเร่ง หรือรีบจอด เพื่อรีบแก้ไข ก่อนที่จะได้ยกเครื่องใหม่อีกตัวนั่นเอง
Oil Temp
เกจ์วัดความร้อนน้ำมันเครื่อง
ความร้อนของน้ำมันเครื่อง มีความผกผันกับแรงดันของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องเมื่ออุณหภูมิต่ำ จะมีความหนืดสูง แต่เมื่ออุณหภูมิสูงความหนืดก็จะลดต่ำลง สำหรับเครื่องยนต์โมดิฟลาย เกจ์วัดความร้อนตัวนี้ เป็นตัวบ่งบอกถึงอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องในรูปแบบ องศาเซลเซียส (C) หรือเป็นแบบ ฟาเรนไฮต์ (F) ซึ่งต้องมีการจดบันทึกอยู่ตลอด อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องที่สูงเกินไป หมายถึงน้ำมันเครื่องจะมีความหนืดลดลง หมดสภาพในการหล่อลื่น เครื่องอาจพังในที่สุด ส่วนถ้าความร้อนน้ำมันเครื่องสูงอย่างต่อเนื่อง หมายถึงระบบการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ยังไม่เพียงพอ ต้องหาทางขยับขยายระบบระบายความร้อนให้ดีเพิ่มขึ้น เกจ์วัดตัวนี้ช่วยในการออกแบบ ระบบระบายความร้อน และแสดงให้รู้ถึงอุณหภูมิในเครื่องยนต์ที่แท้จริง
Oil Catch Tank
ถังดักไอน้ำมันเครื่อง
หลายคนยังแปลกใจว่าอุปกรณ์ตัวนี้มีหน้าที่อย่างไร ทำไมรถแต่งๆถึงนิยมติดตั้งกัน ถังดักไอมีหน้าที่ดักเอาไอของน้ำมันเครื่องที่มีความร้อนสูงจนเดือด เกิดการระเหยตัวกลายเป็นไอ คล้ายไอน้ำ ปะปนมากับแรงอัดของอากาศที่เล็ดลอดออกมาจากแหวนสูบ เครื่องยิ่งหลวมมาก แรงดัน และไอน้ำมันเครื่องยิ่งมีมาก ซึ่งปกติแล้วเครื่องยนต์ทุกตัว จะมีการระบายไอน้ำมันเครื่องออกมาทางส่วนเหนือสุดของเครื่อง เพื่อป้องกันแรงดันภายในเครื่องยนต์เกิน แล้วย้อนต่อกลับมาในคอไอดี เพื่อเผาไหม้ใหม่เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม แต่ถ้าไอน้ำมันเครื่อง มีปริมาณมากเกินไป ก็จะมีส่วนทำให้การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ลดลง แทนที่เครื่องจะได้รับอากาศบริสุทธิ์ กับน้ำมันเชื้อเพลิงดีๆพร้อมลุกติดไฟ กลับได้ส่วนผสมของไอน้ำมันเครื่องที่จุดระเบิดติดยากยิ่งกว่า ผสมเข้าไปด้วย เครื่องจะสูญเสียกำลัง แถมอุณหภูมิของไอน้ำมันเครื่องมีสูง ทำให้อากาศที่ไหลเข้าห้องเผาไหม้มีความหนาแน่นลดลง ดังนั้นรถแต่ง หรือรถแรงๆ จะนิยมทำกรองดักไอน้ำมันเครื่องขึ้นมา เพื่อดักไอน้ำมันเครื่องให้หลงเหลือในปริมาณน้อยที่สุด
Oil Racing Filter
ไส้กรองน้ำมันเครื่องซิ่ง
ไส้กรองน้ำมันเครื่องสีสันสวยงาม แล้วมาโฆษณาอวดสรรพคุณอีกว่า กรองอนุภาคได้ดีกว่า แข็งแรงกว่า แต่ราคาก็แพงกว่ามาก แท้จริงแล้วกลับมีความจำเป็นมากกว่าที่คิด ไส้กรองซิ่งพวกนี้จะมีการออกแบบผ้ากรองได้ยอดเยี่ยมกว่า โดยสามารถกรองเอาสิ่งสกปรกที่ปะปนมากับน้ำมันเครื่องได้มากกว่า ด้วยวัสดุที่ดีกว่า แถมยังทำให้น้ำมันเครื่องไหลผ่านได้รวดเร็วขึ้น เป็นผลทำให้แรงดันน้ำมันเครื่องสูงขึ้น และที่สำคัญด้วยวัสดุการประกอบภายนอกที่มีความแข็งแรง ทำให้ไส้กรองแบบนี้ สามารถรับมือกับแรงดันน้ำมันเครื่องที่สูงมากขึ้น อย่างในเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบสูง หรือมีการแต่งปั้มน้ำมันเครื่องจนมีแรงดันสูงขึ้น จนไส้กรองแบบธรรมดารับมือไม่ไหว แตกกระจายแบบที่เห็นกันบ่อยๆ ไส้กรองแบบนี้จึงได้รับความนิยมสูง ตั่งแต่รถที่ต้องการให้เครื่องยนต์สะอาดขึ้น อายุของไส้กรองน้ำมันยาวนานขึ้น จนถึงรถแข่งที่ต้องการไส้กรองที่สามารถรับประกันได้ว่า ไส้กรองจะไม่เสียหายพ่นน้ำมันออกมา จนสร้างความเสียหายให้กับเครื่องยนต์
Oil Cooler
เพิ่มออยล์คูเลอร์ ระบายความร้อนให้กับน้ำมันเครื่อง
แน่นอนถ้าน้ำมันเครื่องเย็น ย่อมทำให้ความร้อนของเครื่องลดลง ดังนั้นการระบายความร้อนให้กับน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด คือการติดตั้งออยล์คูเลอร์ สังเกตได้ว่า เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จเจอร์จากโรงงานเกือบทุกตัว จะมีการติดตั้งออยล์คูเลอร์แถมมาให้ด้วย เป็นเพราะในเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ต้องทำงานหนัก ความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นมาก ดังนั้นการลดความร้อนให้กับเครื่องยนต์ได้รวดเร็วที่สุด คือการลดความร้อนให้กับน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องมีหน้าที่ในการนำพาความร้อนของเครื่องในทุกส่วนของเครื่องมาระบายความร้อนให้เย็นลง ออยล์คูเลอร์มีส่วนในช่วยในการระบายความร้อนของน้ำมันเครื่อง และของเครื่องยนต์ซึ่งการทำให้ความร้อนของเครื่องยนต์เย็นลง มีส่วนในการยืดอายุของเครื่องยนต์ และอายุของน้ำมันเครื่องให้ใช้งานได้ยาวนานเพิ่มขึ้น
Oil Plumbing and Fittings
สายน้ำมันเครื่อง และข้อต่อแรงดันสูง
สายน้ำมันเครื่องแรงดันสูง หรือพวกสายถักสีสันสวยงาม สายพวกนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อความสวยงาม หรืออย่างไร แต่สายแรงดันพวกนี้รถแรงๆมักนิยมหามาใส่กัน ด้วยเหตุผลที่ทนแรงดันของน้ำมันเครื่องได้สูงกว่าสายน้ำมันแบบทั่วๆไปมาก มีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า และทนความร้อนได้สูงกว่า สายถักสแตนเลสพวกนี้ถูกออกแบบมาให้รับมือกับ เครื่องยนต์ที่มีการโมดิฟลายในระดับสูง เช่นเปลี่ยนปั้มน้ำมันเครื่องที่มีแรงดันสูง หรือรอบเครื่องสูงมากๆ การเดินสายแรงดันน้ำมันเครื่องในระยะทางไกล ป้องกันการเสียดสี แถมยังทนทานต่อแรงกระแทกในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อความชัวร์ รถแต่ง หรือแม้แต่รถแข่ง จะนิยมนำสายประเภทนี้มาใช้เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะการใช้สายน้ำมันเครื่องแรงดันสูง กับหัวข้อต่อรับแรงดันอย่างดี เป็นการประกันได้ว่า โอกาสที่ท่อน้ำมันเครื่องจะแตกจะขาด หรือน้ำมันเครื่องจะรั่วออกมานั้น ควรจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย
Racing Oil Pump
ถ้าจะเล่นรอบสูงสักหมื่นรอบ ต้องปั้มน้ำมันเครื่องซิ่ง
จริงอยู่ปั้มนั้นเครื่องในรถทั่วๆไป สามารถสร้างแรงดันน้ำมันเครื่องได้สูง แต่ก็เป็นเพียงในรอบเครื่องที่ไม่สูงมากนัก ก่อนที่ปั้มน้ำมันเครื่องจะทำลายตนเอง เนื่องจากวัสดุไม่สามารถรองรับกับภาระการหมุนด้วยความเร็วรอบสูงๆ หรือไม่สามารถสร้างแรงดันน้ำมันไปหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่างๆที่ต้องมีการหมุนด้วยความเร็วรอบสูงๆได้เพียงพอต่อความต้องการ ดั้งนั้นสำหรับเครื่องยนต์ที่มีการโมดิฟลายให้มีแรงม้าสูงขึ้น หรือใช้งานกับรอบเครื่องยนต์สูงมากๆ การเล่นแรงกับแรงดันน้ำมันเครื่องเห็นเป็นหนีไม่พ้นกับ ปั้มน้ำมันเครื่องซิ่งอีกสักชุด ด้วยการออกแบบ และการใช้วัสดุอย่างดี ปั้มน้ำมันเครื่องซิ่ง จากหลายยี่ห้อ จะถูกสร้างขึ้นมาให้ตรงตามการใช้งานของแต่ละรุ่นของเครื่องยนต์ ความต้องการความเร็วรอบสูงสุด หรือต้องการแรงดันน้ำมันเครื่องที่สูงมากขึ้น
Wet Sump
ขยายอ่างน้ำมันเครื่อง
ในบางครั้งเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมากขึ้น ปั้มน้ำมันเครื่องก็ต้องการน้ำมันเครื่องในปริมาณมากขึ้น อีกทั้งในการใช้งานที่แบบสมบุกสมบัน แซงซ้าย แซงขวา ออกตัวอย่างแรง เบรกอย่างกะทันหัน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำมันเครื่องในอ่างน้ำมันเครื่องมีการกระเพื่อม ไหลวนไปมา ดังนั้นการเพิ่มความจุอ่างน้ำมันเครื่อง ให้มีปริมาณการรองรับน้ำมันเครื่องได้มากขึ้น อีกสัก 1 – 2 ลิตร เช่นจาก 4 ลิตร ไปเป็นซัก 6 ลิตร โดยการไม่ทำให้ระดับของน้ำมันเครื่องสูงขึ้น เห็นจะเป็นวิธีการนำแคล็งน้ำมันเครื่องเดิมออกมาตีกล่องขยายเพิ่มความจุ หรือหาแคล็งน้ำมันเครื่องซิ่ง ที่แต่สำนักต่างๆทำออกมาขายให้กับเครื่องยนต์แรงๆเกือบทุกรุ่น นั้นเห็นจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันได้ว่าจะโยนโค้งซักเพียงใด ออกตัวแรงแค่ไหน หรือรอบเครื่องจะสูงซักเท่าไหร่ น้ำมันเครื่องจะยังมีพอหล่อเลี้ยงในระบบไม่ขาดระยะ และแคล็งน้ำมันเครื่องซิ่งบางรุ่น ยังสามารถออกแบบมาเพื่อระบายความร้อนให้กับน้ำมันเครื่องได้อีกด้วย
Dry Sump
แรงสุดๆ ต้อง อ่างน้ำมันเครื่องแบบแห้ง
วิธีที่เล่นแรงที่สุดกับระบบหล่อลื่น ในปัจจุบันต้องยกให้กับระบบ Dry Samp หรืออ่างน้ำมันเครื่องแบบแห้ง ระบบนี้มีมาแต่โบราณ เป็นที่นิยมสำหรับรถสปอร์ตราคาแพง หรือพวกอย่างรถ Suprecar เกือบทุกรุ่น หรือในรถแข่ง ตั้งแต่รถ Drag Racing , Nascar , Rally หรือแม้แต่ F1 ต่างก็ใช้ระบบนี้ ด้วยการหลีกพ้นข้อจำกัดในระบบหล่อลื่นแบบธรรมดาทั้งหมด Dry Sum จะไม่มีอ่างน้ำมันเครื่อง หรือฝักบัวดูดน้ำมันเครื่อง แต่อาศัยหม้อพักน้ำมันเครื่องที่แยกอิสระออกจากตัวเครื่องยนต์ ส่งน้ำมันเครื่องมายัง Oil Pump ที่ทำงานด้วยไฟฟ้า หรือใช้สายพานจากมูเลย์เครื่องยนต์มาปั่นแม่ปั้ม คล้ายกับการทำงานของปั้มน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ หรือใช้เป็นระบบฟันเฟืองเชื่อมต่อการทำงานกับเครื่องยนต์ ปั้มน้ำมันเครื่องแรงดันสูงเข้าสู่เครื่องยนต์โดยตรง แล้วดูดน้ำมันเครื่องที่ไหลกลับมายังหม้อพักน้ำมันเครื่องอีกครั้ง Dry Sump มีข้อดีตรงที่เครื่องยนต์จะไม่มีอ่างน้ำมันเครื่องห้อยต่ำลงมา ใต้ท้องเครื่องยนต์เรียบสนิท จึงสามารถวางเครื่องยนต์ให้ต่ำลง เพื่อให้เกิดจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำ รถยนต์ถึงจะเกาะถนนมากขึ้น และยังช่วยลดขีดจำกัดในการโมดิฟลายเครื่องยนต์ ที่อาศัยข้อเหวี่ยงเป็นตัววิดน้ำมันเครื่องในก้นแคล็ง ซึ่งแน่นอนการตัดภาระในจุดนี้เป็นการเพิ่มแรงม้าได้มากมายหลายตัว อีกทั้งเป็นการตัดปัญหาจุกจิกกับปั้มน้ำมันเครื่องที่จะมารองรับกับความเร็วรอบสูงๆไม่ไหว และอย่างในรถ Drag ในขณะออกตัว เป็นการป้องกันปัญหาน้ำมันเครื่องที่รับแรง G ในการออกตัว แล้วไหลมากองรวมกันด้านหลังเครื่องจนน้ำมันเครื่องขาดระบบ แม้แต่ในรถ Rally หรือในรถ สนามเซอร์กิตต่างๆ Dry Sump ยังสามารถรับประกันได้ว่า จะเข้าโค้งด้วยแรง G สักเพียงใด ออกตัวจนหน้ายก เบรกจนท้ายกระดก ขึ้นเนินสูง ตกกระแทกพื้น ลอยไปในอากาศ หรือแม้แต่จะตีลังกาอีกสักกี่รอบ Dry Sump ก็ยังสามารถป้อนน้ำมันเครื่องให้หล่อเลี้ยงในระบบเครื่องยนต์ได้อย่างไม่ขาดตอนแน่นอน
วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Ground wire คืออะไร
:: กราวน์ไวร์ Ground Wire เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมกันมากในรถแข่ง แต่ที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นเพราะส่วนใหญ่เขาจะไม่ใช้สีสันใช้เป็นสายสีดำจนเรามองผ่านๆ เป็นส่วนช่วยให้ไฟฟ้ากระแสลบเดินครบวงจรมากขึ้นกว่าการใช้ตัวถังรถเป็นส่วนนำไฟฟ้าแบบโรงงาน
:: แล้วมันช่วยอะไรได้บ้าง
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดตั้งร้อยละเก้าสิบให้ความคิดเห็นว่า อัตราเร่งดีขึ้น เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น
มีแนวโน้มประหยัดน้ำมันมากขึ้นแต่ไม่กินมากไปกว่าเดิมแน่ ( ยกเว้นแต่จะกระทืบคันเร่งมากกว่าเดิม )
สตารท์ง่ายขึ้น เสียงดังของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ปั้มติ๊ก พัดลมแอร์ เสียงกวนวิทยุลดลง และอีกมากมายมีแต่จะดีขึ้น
มิน่าล่ะนักแต่งรถอเมริกาและญี่ปุ่นถึงนิยมกันนัก อย่างนี้ต้องรีบหามาติดตั้งบ้าง แต่พอไปเจอราคา
แล้วแทบจะเปลี่ยนใจ เพราะราคามีตั้งแต่ 1,500 จนถึง 8,000 บาท ยิ่งเป็นของสำนักแต่งแรงๆกลับยิ่งแพงมาก
หน้าตาก็เหมือนๆกันเก็บสตางค์ไว้เติมน้ำมันดีกว่า แต่จริงๆแล้วเราสามารถทำเองได้ด้วยงบประมาณ
ไม่กี่ร้อยบาทอย่างนี้ค่อยน่าลงทุนลงแรงทำกันหน่อย
:: รู้จักประโยชน์ และ จุดที่จะติดตั้ง
ก่อนที่เราจะติดตั้งคุณต้องรู้ก่อนว่าจะติดตั้งที่ไหนเพราะอะไรจึงจะมีประโยชน์สูงสุด และ สิ้นงบประมาณ น้อยที่สุด
1. แบตเตอร์รี่ ที่ขั้วลบเป็นหัวใจหลักของงานเป็นตัวที่เราจะดึงกระแสไฟฟ้า ไปใช้ในส่วนต่างๆ ของ เครื่องยนต์ และ
ในรถนต์
2. ขั้วดินของไดชารจ์ ไดชารจ์เป็นตัวสร้างกระแสไฟไปเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอร์รี่ ถ้าไฟชารจ์เข้า แบตเตอร์ร ี่ได้ไวขึ้น
ไดชารจ์จะตัดการทำงานเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ มีส่วนให้ประหยัดน้ำมัน ได้มากขึ้น
3. ขั้วกราวน์ของกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์รวมของกระแสลบที่จะต่อเข้าเซนเซอร์ต่างๆ เช่น กล่องควบคุมเครื่องยนต์
, หัวฉีด , คอยล์ , จานจ่าย ,ปั้มน้ำมัน,เซนเซอร์เครื่องยนต์ ฯลฯ ส่วนใหญ่ ่ทุกเครื่องยนต์จะมีสายรวมกราว์นที่ออกมา
จากกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดสายไฟยึดลงกราวน์รวมไว้ที่เครื่องโดยอาศัยโลหะตัวเครื่องเป็นตัวส่งกระแสไฟ
แต่ตัวเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยโลหะหลายชนิด รวมกันทำให้เกิดความต้านทาน ดังนั้นการต่อไฟตรงจะทำให้กล่อง
และเซนเซอร์ต่างๆ ควบคุมทำงาน ได้เต็มที่ เครื่องยนต์เดินราบเรียบขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น
4. สายกราวน์รวมของตัวถังรถยนต์ สังเกตว่าโรงงานจะอาศัยตัวถังรถยนต์ที่เป็นเหล็กเป็นส่วนนำไฟฟ้า แต่เนื่องจาก
เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จะมีความต้านทานมากสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรมองหา สายดินรวมของตัวถังรถยนต์
ส่วนใหญ่แล้วมักต้องไล่ดูจากชุดสายไฟ จะทำให้ระบบไฟต่างๆ ในรถยนต์ ทำงานดีขึ้น เช่นไฟหน้าสว่างขึ้น
พัดลมไฟฟ้าทำงานแรงขึ้น และอีกมาก
5. สายดินของเครื่องยนต์ แถวๆไดสตาร์ทจะทำให้รถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น
6. อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องเสียง เพาเวอร์แอมป์ ที่เพิ่มเข้าไปจะทำให้ทุกอย่าง ทำงานได้
้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
:: การเตรียมอุปกรณ์
1. สายไฟขนาด 6 mm หรือ 8 mm เลือกได้
ทุกสีตามใจชอบ หาซื้อได้ที่บ้านหม้อ หรือ
ร้านเครื่องเสียงทั่วไป ราคาเมตรละ 40 – 80 บาท
2. แผ่นทองแดง , ทองเหลือง , หรืออลูมิเนียม , เหล็ก
หนาซัก 1.5 – 2 หุน หาได้ตาม ร้านขายของเก่า
หรือร้านฮาดท์แวร์ ขายเป็น กิโลกรัม
ราคาแล้วแต่วัสดุที่เลือกใช้ เพื่อนำกระแสไฟฟ้า
( ดูจากค่านำกระแสไฟ ดีที่สุดคือ ทองคำขาว > ทองคำ >
เงิน > ทองแดง > ทองเหลือง > สแตนเลส > เหล็ก >
อลูมิเนียม ) ถ้าเป็นทองเหลืองของใหม่ ก.ก. ละ
200 – 250 บาท (ใช้ไม่เกิน 2 ขีดต่อตัวหละครับ)
3. หัวหางปลาที่จะเชื่อมกับสายไฟ ใช้หัวแบนกลม ประมาณ 10- 12 ตัว ราคาตัวละ 3 – 5 บาท
4. น็อตสแตนเลสหกเหลี่ยมยึด ใช้เป็นเบอร์ 10 ยาว 1/2 นิ้ว 6 ตัว ราคาตัวละ 5 -10 บาท / ตัว
5. อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตะกั่วบัคกรี ท่อหด เทปพันสายไฟ สายรัด
:: ขั้นตอนการทำ
1. หากระดาษแข็งมาวาดรูปแล้วตัดกระดาษแบบให้ได้รูปตามที่เราต้องการ
2. นำแบบทาบกับวัสดุ เช่นทองเหลือง หรืออลูมิเนียม ที่จะใช้เป็นเพลทยึดสายไฟให้ได้ตามแบบ แล้วตัดแผ่น
ทองเหลือง หรือ วัสดุให้ได้ตามแบบ แล้วทำการตกแต่งชิ้นงาน
3. เจาะรูวัสดุที่แผ่นเพลต ตราฟเกลียว เพื่อใช้ยึดน๊อตหกเหลี่ยม
4. วัดสายไฟในจุดที่ต้องการแต่ละจุด ตัดสายไฟออกเป็นเส้นๆ แล้วสวมหางปลา แล้วบัคกรีตะกั่ว
เพื่อความแน่นหนา
5. นำแผ่นเเพลตยึดกับจุดในตัวรถ หรือแบตเตอร์รี่ แล้วนำสายที่ใส่หางปลา แล้วมายึดติดแล้วต่อ
ไปยังจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการ
:: ข้อเเนะนำ
ควรเช็คให้ดีว่าจุดที่จะยึดเป็นจุดกราวน์แน่นอน ถ้ามีการย้ายเเบตเตอร์รี่ไว้หลังรถ ควรต่อสาย
ไปยังเเบตเตอร์รี่เลยดีที่สุด ควรหาสายรัดและเทปพันสายไฟพันสายไฟเพื่อป้องกันไฟรัดวงจร
และห่างจากจุดหมุนพวกสายพาน สายไม่จำเป็นต้องใช้สายที่มีขนาดใหญ่มาก สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
แต่ควรจะยึดในส่วนที่สำคัญและหลายๆจุดดีกว่า หรือทำไว้หลายๆตัวแล้วเดินสายให้ได้มากจุดที่สุด
:: แล้วมันช่วยอะไรได้บ้าง
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดตั้งร้อยละเก้าสิบให้ความคิดเห็นว่า อัตราเร่งดีขึ้น เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น
มีแนวโน้มประหยัดน้ำมันมากขึ้นแต่ไม่กินมากไปกว่าเดิมแน่ ( ยกเว้นแต่จะกระทืบคันเร่งมากกว่าเดิม )
สตารท์ง่ายขึ้น เสียงดังของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ปั้มติ๊ก พัดลมแอร์ เสียงกวนวิทยุลดลง และอีกมากมายมีแต่จะดีขึ้น
มิน่าล่ะนักแต่งรถอเมริกาและญี่ปุ่นถึงนิยมกันนัก อย่างนี้ต้องรีบหามาติดตั้งบ้าง แต่พอไปเจอราคา
แล้วแทบจะเปลี่ยนใจ เพราะราคามีตั้งแต่ 1,500 จนถึง 8,000 บาท ยิ่งเป็นของสำนักแต่งแรงๆกลับยิ่งแพงมาก
หน้าตาก็เหมือนๆกันเก็บสตางค์ไว้เติมน้ำมันดีกว่า แต่จริงๆแล้วเราสามารถทำเองได้ด้วยงบประมาณ
ไม่กี่ร้อยบาทอย่างนี้ค่อยน่าลงทุนลงแรงทำกันหน่อย
:: รู้จักประโยชน์ และ จุดที่จะติดตั้ง
ก่อนที่เราจะติดตั้งคุณต้องรู้ก่อนว่าจะติดตั้งที่ไหนเพราะอะไรจึงจะมีประโยชน์สูงสุด และ สิ้นงบประมาณ น้อยที่สุด
1. แบตเตอร์รี่ ที่ขั้วลบเป็นหัวใจหลักของงานเป็นตัวที่เราจะดึงกระแสไฟฟ้า ไปใช้ในส่วนต่างๆ ของ เครื่องยนต์ และ
ในรถนต์
2. ขั้วดินของไดชารจ์ ไดชารจ์เป็นตัวสร้างกระแสไฟไปเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอร์รี่ ถ้าไฟชารจ์เข้า แบตเตอร์ร ี่ได้ไวขึ้น
ไดชารจ์จะตัดการทำงานเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ มีส่วนให้ประหยัดน้ำมัน ได้มากขึ้น
3. ขั้วกราวน์ของกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์รวมของกระแสลบที่จะต่อเข้าเซนเซอร์ต่างๆ เช่น กล่องควบคุมเครื่องยนต์
, หัวฉีด , คอยล์ , จานจ่าย ,ปั้มน้ำมัน,เซนเซอร์เครื่องยนต์ ฯลฯ ส่วนใหญ่ ่ทุกเครื่องยนต์จะมีสายรวมกราว์นที่ออกมา
จากกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดสายไฟยึดลงกราวน์รวมไว้ที่เครื่องโดยอาศัยโลหะตัวเครื่องเป็นตัวส่งกระแสไฟ
แต่ตัวเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยโลหะหลายชนิด รวมกันทำให้เกิดความต้านทาน ดังนั้นการต่อไฟตรงจะทำให้กล่อง
และเซนเซอร์ต่างๆ ควบคุมทำงาน ได้เต็มที่ เครื่องยนต์เดินราบเรียบขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น
4. สายกราวน์รวมของตัวถังรถยนต์ สังเกตว่าโรงงานจะอาศัยตัวถังรถยนต์ที่เป็นเหล็กเป็นส่วนนำไฟฟ้า แต่เนื่องจาก
เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จะมีความต้านทานมากสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรมองหา สายดินรวมของตัวถังรถยนต์
ส่วนใหญ่แล้วมักต้องไล่ดูจากชุดสายไฟ จะทำให้ระบบไฟต่างๆ ในรถยนต์ ทำงานดีขึ้น เช่นไฟหน้าสว่างขึ้น
พัดลมไฟฟ้าทำงานแรงขึ้น และอีกมาก
5. สายดินของเครื่องยนต์ แถวๆไดสตาร์ทจะทำให้รถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น
6. อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องเสียง เพาเวอร์แอมป์ ที่เพิ่มเข้าไปจะทำให้ทุกอย่าง ทำงานได้
้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
:: การเตรียมอุปกรณ์
1. สายไฟขนาด 6 mm หรือ 8 mm เลือกได้
ทุกสีตามใจชอบ หาซื้อได้ที่บ้านหม้อ หรือ
ร้านเครื่องเสียงทั่วไป ราคาเมตรละ 40 – 80 บาท
2. แผ่นทองแดง , ทองเหลือง , หรืออลูมิเนียม , เหล็ก
หนาซัก 1.5 – 2 หุน หาได้ตาม ร้านขายของเก่า
หรือร้านฮาดท์แวร์ ขายเป็น กิโลกรัม
ราคาแล้วแต่วัสดุที่เลือกใช้ เพื่อนำกระแสไฟฟ้า
( ดูจากค่านำกระแสไฟ ดีที่สุดคือ ทองคำขาว > ทองคำ >
เงิน > ทองแดง > ทองเหลือง > สแตนเลส > เหล็ก >
อลูมิเนียม ) ถ้าเป็นทองเหลืองของใหม่ ก.ก. ละ
200 – 250 บาท (ใช้ไม่เกิน 2 ขีดต่อตัวหละครับ)
3. หัวหางปลาที่จะเชื่อมกับสายไฟ ใช้หัวแบนกลม ประมาณ 10- 12 ตัว ราคาตัวละ 3 – 5 บาท
4. น็อตสแตนเลสหกเหลี่ยมยึด ใช้เป็นเบอร์ 10 ยาว 1/2 นิ้ว 6 ตัว ราคาตัวละ 5 -10 บาท / ตัว
5. อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตะกั่วบัคกรี ท่อหด เทปพันสายไฟ สายรัด
:: ขั้นตอนการทำ
1. หากระดาษแข็งมาวาดรูปแล้วตัดกระดาษแบบให้ได้รูปตามที่เราต้องการ
2. นำแบบทาบกับวัสดุ เช่นทองเหลือง หรืออลูมิเนียม ที่จะใช้เป็นเพลทยึดสายไฟให้ได้ตามแบบ แล้วตัดแผ่น
ทองเหลือง หรือ วัสดุให้ได้ตามแบบ แล้วทำการตกแต่งชิ้นงาน
3. เจาะรูวัสดุที่แผ่นเพลต ตราฟเกลียว เพื่อใช้ยึดน๊อตหกเหลี่ยม
4. วัดสายไฟในจุดที่ต้องการแต่ละจุด ตัดสายไฟออกเป็นเส้นๆ แล้วสวมหางปลา แล้วบัคกรีตะกั่ว
เพื่อความแน่นหนา
5. นำแผ่นเเพลตยึดกับจุดในตัวรถ หรือแบตเตอร์รี่ แล้วนำสายที่ใส่หางปลา แล้วมายึดติดแล้วต่อ
ไปยังจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการ
:: ข้อเเนะนำ
ควรเช็คให้ดีว่าจุดที่จะยึดเป็นจุดกราวน์แน่นอน ถ้ามีการย้ายเเบตเตอร์รี่ไว้หลังรถ ควรต่อสาย
ไปยังเเบตเตอร์รี่เลยดีที่สุด ควรหาสายรัดและเทปพันสายไฟพันสายไฟเพื่อป้องกันไฟรัดวงจร
และห่างจากจุดหมุนพวกสายพาน สายไม่จำเป็นต้องใช้สายที่มีขนาดใหญ่มาก สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
แต่ควรจะยึดในส่วนที่สำคัญและหลายๆจุดดีกว่า หรือทำไว้หลายๆตัวแล้วเดินสายให้ได้มากจุดที่สุด
ความหมายของ temp vaule
เทอร์โมสตัทหรือวาวล์น้ำเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในรถที่ระบายความร้อนด้วยน้ำซึ่งเจ้าตัวนี้จะทำหน้าที่เปิดปิดช่องทางน้ำให้ไหลเข้าเครื่องยนต์โดยเมื่อเครื่องยนต์อุนหภูมิต่ำๆ
วาวล์น้ำตัวนี้ก็จะปิดทำให้น้ำจากในหม้อน้ำไม่สามารถไหลเข้าไปในเครื่องได้หลังจากนั้นพอเครื่องอุนหภูมิสูงขึ้นราวๆ90องศาเซลเซียสวาวล์น้ำก็จะเปิดให้น้ำในหม้อไหลเข้าไปในเครื่องเพื่อทำการระบายคงามร้อนได้คับ สำหรับรถในเมืองหนาวเทอร์โมสตัทอาจจะเปิดที่อุนหภูมิ86ถึง90.6องศาเซลเซียสเปิดเต็มที่ที่อุนหถูมิ98-100คับ
ข้อดีของเทอร์โมสตัทคือ
1.ทำให้เครื่องอุ่นเร็วขึ้นคับ
2.ทำให้น้ำในหม้อน้ำได้พักตัวทำให้อุนหภูมิน้ำเย็นลงคับ
3.ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์(เพราะถ้าไม่มีวาวล์น้ำน้ำจะเข้าไปไหลเวียนในเครื่องตลอดตั้งแต่เริ่มสตารท์ทำให้เครื่องถึงจุดทำงานช้าลงทำให้เกิดการสึกหรอมากขึ้นคับ )
สำหรับใครที่เจอปัญหาความร้อนขึ้นบ่อยๆอย่าไปโทษเจ้าตัววาวล์น้ำนะคับเพราะถ้าถอดมันออกน้ำในเครื่องจะหมุนเวียนตอลดก็จิงแต่มันไม่ได้พักในหม้อน้ำเลยทำให้อุนหะภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้เกิดผลดีเลย ทางแก้คือควรเพิ่มพัดลมหม้อน้ำ ตรวจเช็คพวกท่อยางน้ำ หรือเติมน้ำในหม้อน้ำบ่อยเป็นต้นคับ แต่จะบอกว่าถ้าเครื่องยนต์ฮีทบ่อยๆจะไม่ตรวจวาวล์น้ำเลยก็ไม่ได้ควรตรวจเช็คว่าวาวล์น้ำยังทำงานดีหรือไม่เพราะถ้าเกิดทุกอย่างปกติแต่วาวล์น้ำเสียก็ฮีทได้คับ
วิธีการตรวจวาวล์น้ำ
1.จุ่มวาวล์น้ำในน้ำเดือดอุนหะภูมิประมาณ100องศาเซลเซียสคับ
2.ตรวสสอบการเปิดปิดของลิ้นในวาวล์น้ำด้วยเทอร์โมมิเตอร์
3.ถ้าเปิดไม่ตรงตามที่กำหนดก็เปลี่ยนซะนะคับ
วาวล์น้ำตัวนี้ก็จะปิดทำให้น้ำจากในหม้อน้ำไม่สามารถไหลเข้าไปในเครื่องได้หลังจากนั้นพอเครื่องอุนหภูมิสูงขึ้นราวๆ90องศาเซลเซียสวาวล์น้ำก็จะเปิดให้น้ำในหม้อไหลเข้าไปในเครื่องเพื่อทำการระบายคงามร้อนได้คับ สำหรับรถในเมืองหนาวเทอร์โมสตัทอาจจะเปิดที่อุนหภูมิ86ถึง90.6องศาเซลเซียสเปิดเต็มที่ที่อุนหถูมิ98-100คับ
ข้อดีของเทอร์โมสตัทคือ
1.ทำให้เครื่องอุ่นเร็วขึ้นคับ
2.ทำให้น้ำในหม้อน้ำได้พักตัวทำให้อุนหภูมิน้ำเย็นลงคับ
3.ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์(เพราะถ้าไม่มีวาวล์น้ำน้ำจะเข้าไปไหลเวียนในเครื่องตลอดตั้งแต่เริ่มสตารท์ทำให้เครื่องถึงจุดทำงานช้าลงทำให้เกิดการสึกหรอมากขึ้นคับ )
สำหรับใครที่เจอปัญหาความร้อนขึ้นบ่อยๆอย่าไปโทษเจ้าตัววาวล์น้ำนะคับเพราะถ้าถอดมันออกน้ำในเครื่องจะหมุนเวียนตอลดก็จิงแต่มันไม่ได้พักในหม้อน้ำเลยทำให้อุนหะภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้เกิดผลดีเลย ทางแก้คือควรเพิ่มพัดลมหม้อน้ำ ตรวจเช็คพวกท่อยางน้ำ หรือเติมน้ำในหม้อน้ำบ่อยเป็นต้นคับ แต่จะบอกว่าถ้าเครื่องยนต์ฮีทบ่อยๆจะไม่ตรวจวาวล์น้ำเลยก็ไม่ได้ควรตรวจเช็คว่าวาวล์น้ำยังทำงานดีหรือไม่เพราะถ้าเกิดทุกอย่างปกติแต่วาวล์น้ำเสียก็ฮีทได้คับ
วิธีการตรวจวาวล์น้ำ
1.จุ่มวาวล์น้ำในน้ำเดือดอุนหะภูมิประมาณ100องศาเซลเซียสคับ
2.ตรวสสอบการเปิดปิดของลิ้นในวาวล์น้ำด้วยเทอร์โมมิเตอร์
3.ถ้าเปิดไม่ตรงตามที่กำหนดก็เปลี่ยนซะนะคับ
เรื่องพื้นๆ ที่เราควรจะรู้
Question: รถเป็นรอยขนแมวมีวิธีแก้ไขอย่างไร
Answer: รถเป็นรอยขนแมว สาเหตุเนื่องมาจากากรใช้ผ้าที่แข็งหรือหยาบเกินไปหรือเกิดจากการที่ไม่ใช้น้ำล้างสิ่งสกปรกออกก่อนที่จะใช้ผ้าทำความสะอาด วิธีการแก้ไขคือ ควรนำรถเข้ารับการขัดสีผิวที่ศูนย์บริการของฮอนด้า และวิธีที่จะถนอมสีรถให้คงสภาพเดิมได้นั้นควรจะขัด้ด้วยแวกซ์อ่อนที่มีสารซิลิโคนผสมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
การดูแลรักษารถยนต์ตลอดเวลามิใช่เพียงเพื่อความใหม่และสวยงามเท่านั้น แต่จะเป็นการช่วยรักษาผิวโลหะมิให้ถูกความชื้น กรด ด่าง ที่จะทำให้รถเป็นสนิมและผุ ดังนั้นการบำรุงรักษาสีรถจึงเป็นสิ่งจำเป็นและจะต้องกระทำอย่างถูกวิธีด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. ใช้ไม้ขนไก่ปัดฝุ่นที่เกาะออกให้หมดก่อนหรือหากรถลุยฝนมาให้ใช้น้ำฉีดโคลนดินออกก่อน โดยเฉพาะตามซอกมุมต่างๆ
2. ใช้น้ำสะอาดผสมแชมพูล้างรถหรือน้ำสบู่ชำระล้างโดยใช้ผ้านิ่มๆ เช่น ผ้าสำลี ผ้าฝ้าย ชุบน้ำเช็ดล้าง จากส่วนบนสุดแล้วไล่ลงมาส่วนล่าง และจะต้องใช้ผ้าแยกกัน สิ่งสำคัญหากใช้ผ้าชำระคราบโคลนควรซักผ้านั้นให้บ่อยครั้ง
ล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วจึงใช้ผ้าที่แห้งเช็ดน้ำและความเปียกชื้นออกให้หมด
Question: ในห้องเครื่องยนต์มักจะมีคราบน้ำมันสกปรกอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆจะทำความสะอาดได้อย่างไร?
Answer: คราบดำที่ติดอยู่ตามเครื่องยนต์ส่วนใหญ่มักเกิดจากฝุ่นละอองหรือเขม่าไอเสียผสมกับไอน้ำมัน คราบเหล่านี้ เมื่อทิ้งไว้นานๆจะจับแน่นทำความสะอาดได้ยาก วิธีทำความสะอาด นอกจากจะใช้น้ำยาที่ผลิตขึ้นมาเป็นการเฉพาะแล้ว น้ำมันก๊าดก็สามารถใช้ได้ดี ขั้นแรก ล้างห้องเครื่องยนต์ด้วยน้ำผสมแชมพูล้างรถก่อนหลังจากนั้นจึงใช้แปรงจุ่มน้ำมันก๊าดทาลงตรงพื้นที่ที่สกปรกมากๆให้ทั่ว พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้น้ำมันก๊าดถูกชิ้นส่วนที่เป็นยางมากเกินไป หลังจากนั้นจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าล้างด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงก็สามารถนำท่อดูดน้ำยาทำความสะอาดจุ่มลงในภาชนะบรรจุน้ำมันก๊าดเพื่อผสมน้ำมันก๊าดลงในน้ำที่ใช้ฉีดล้างทำความสะอาดได้เลย
Question: รถยนต์ควรล้างหัวฉีดเมื่อไรและมีความจำเป็นแค่ไหน?
Answer: การล้างหัวฉีดในเครื่องยนต์น้ำมันเบาที่มีคุณสมบัติเป็นสารละลายด้วยอย่างน้ำมันเบนซินคงไม่ใช่เรื่องจำเป็นนัก เพราะหัวฉีดของเครื่องยนต์เบนซินไม่ได้ยื่นลงไปในห้องเผาไหม้โดยตรงอย่างเครื่องยนต์ดีเซล แต่จะอยู่หลังลิ้นไอดีหรือในรถบางรุ่นอาจจะอยู่ถอยหลังลงไปในท่อร่วมไอดีเลย ประกอบกับหัวฉีดเป็นชนิดที่เข็มหัวฉีดถูกยกขึ้นด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าโอกาสอุดตันจึงเกือบไม่มีเลย
Question: ถ้าเติมน้ำมันเครื่องเกินกว่าจุด MAX จะมีผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร?
Answer: ในระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์นั้นจะมีปั๊มน้ำมันเครื่องติดตั้งอยู่บริเวณอ่างน้ำมันเครื่อง ปั๊มนี้จะฉีกน้ำมันเครื่องให้ไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ในเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้คล่องตัว และยังช่วยลดความร้อนได้อีกด้วยสำหรับการเติมน้ำมันเครื่อง ถ้าเติมน้อยเกินไปจะทำให้ปั๊มไม่สามารถดูดน้ำมันเครื่องได้เต็มที่ ปริมาณน้ำมันเครื่องที่เข้าไปหล่อล่นจึงไม่เพียงพอส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ถ้าหากเติมมากเกินไป ปริมาณของน้ำมันเครื่องจะล้นเกินอ่าง น้ำมันเครื่องทำให้ชิ้นส่วนเพลาข้อเหวี่ยงแช่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ความหนืดก็จะมีมากขึ้น กำลังของเครื่องยนต์ก็จะออกมาไม่เต็มที่ เพราะจะมีแรงต้านจากน้ำมันเครื่องดังนั้นจึงควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจเช็คจากเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องหลังจากดับเครื่องยนต์ประมาณ 3-5 นาที ระดับที่ถูกต้องจะอยู่ที่จุดบนเหล็กวัด และในการวัดควรจอดรถในพื้นที่ราบ
Question: การตรวจสภาพเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางไกล ควรจะปฏิบัติอย่างไร?
Answer: สำหรับท่านที่ออกเดินทางต่างจังหวัดไกลๆ ทำให้เครื่องยนต์ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นก่อนออกเดินทางไกล จึงควรเตรียมความพร้อมของเครื่องยนต์เพื่อที่จะสามารถพาผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำการตรวจสภาพก่อนออกเดินทางไกล
ระดับน้ำมันเครื่อง ให้ตรวจวัดหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลลงด้านล่างของเครื่องยนต์ก่อน ดึงก้านวัดน้ำมันออกมาแล้วใช้ผ้าเช็ดคราบน้ำมันออกให้หมดแล้วเสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ระดับน้ำมันควรอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบน ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องชนิดและระดับความหนืดที่ระบุอยู่ในคู่มือผู้ใช้รถจนถึงระดับที่ขีดบน
ระดับน้ำระบายความร้อน ดูที่ถังสำรองขณะที่อุณหภูมิของเครื่องยนต์เท่ากับอุณหภูมิของอากาศปกติ ระดับน้ำระบายความร้อนในถังสำรองควรอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบน น้ำระบายความร้อนที่กล่าวถึงเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำยารักษาหม้อน้ำ และน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ข้อสำคัญคืออย่าเติมน้ำยารักษาหม้อน้ำหรือน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว
อุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร ควรตรวจยางขอบประตู และยางฝากระโปรงท้ายว่าอยู่ในสภาพดี และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะการที่ยางอยู่ในสภาพดีจะมีส่วนช่วยทำให้ไม่เกิดเสียงรบกวนขณะขับขี่ นอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้ฝุ่น และน้ำเข้ามาทำความเสียหายแก่ห้องสัมภาระอีกด้วย
ระดับน้ำมันเกียร์ (เกียร์อัตโนมัติ) ควรจอดรถในพื้นที่ที่ได้ระดับ เลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จากนั้นดึงก้านวัดออกเช็ดทำความสะอาดก่อนเสียบเข้าตำแหน่งเดิม แล้วดึงเหล็กวัดออกมาใหม่ ระดับน้ำมันเกียร์ควรอยู่ระหว่างระดับสูงสุดและระดับต่ำสุด ควรใช้น้ำมันเกียร์ชนิดเดียวกับที่ระบุอยู่ในคู่มือผู้ใช้รถ
แบตเตอรี่ ตรวจดูขั้วสายไฟว่าสะอาด และแน่นดีหรือไม่ ตลอดทั้งตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับบนสุด
ยาง ตรวจแรงดันลมภายในยาง การเติมลมยางสำหรับรถเดินทางไกลนั้น ควรเติมให้มากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว ส่วนดอกยางนั้นควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร
สัญญาไฟเตือน ตรวจเช็คดูว่าสว่างและดับตามปกติหรือไม่ ตลอดทั้งทดลองเปิดไฟดูทีละระบบ เช่นไฟหน้า ไฟหรี่ ไฟต่ำ ไฟสูง ฯลฯ
Question: การใส่หลอดไฟหน้าด้วยวัตต์ที่สูงกว่ามาตรฐานมีผลอย่างไรต่อรถยนต์?
Answer: วัตต์ของหลอดไฟ หมายถึงกำลังส่องสว่างของหลอดไฟที่แสดงในรูปของปริมาณกำลังไฟ หลอดไฟที่มีวัตต์สูงย่อมต้องการกระแสไฟมากขึ้น การใส่หลอดไฟหน้าด้วยหลอดไฟที่มีวัตต์สูงกว่าที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ทั้งแบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรถต้องจ่ายกระแสออกมากขึ้น ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จะจ่ายให้แบตเตอรี่ก็จะน้อยลงเป็นเหตุให้กำลังไฟของแบตเตอรี่ไม่อยู่ในสถานะไฟเต็ม นานๆ ไปกำลังไฟสำรองสำหรับใช้ในการสตาร์ทก็จะไม่พอ ทำให้ไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ นอกจากนั้น แบตเตอรี่ที่มีสภาพไฟไม่เต็มนานๆ ก็จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนเครื่องกำเนิดไฟที่ต้องจ่ายกระแสไฟออกเป็นปริมาณมากๆอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้เกิดการสึกหรอเร็ว อายุการใช้งานก็จะสั้นลง สรุปว่ามีผลเสียไม่คุ้มกับกำลังส่องสว่างที่ได้มา ถ้าจะเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีความจุเหมาะสมด้วย
Question: น้ำยาแอร์ในรถ โดยเฉลี่ยกี่ปีจึงต้องเปลี่ยนหรือเติมใหม่?
Answer: ระบบปรับอากาศในรถยนต์ก็เหมือนระบบทำความเย็นทั่วไป คือเป็นระบบปิดน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นที่อยู่ในระบบจะหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซแล้วกลับมาเป็นของเหลวอยู่ภายใน ถ้าไม่มีการรั่วไหลของชิ้นส่วนต่างๆ สารหล่อเย็นจะคงอยู่ในระบบตลอดไป สังเกตได้จากตู้เย็นบางตู้สามารถใช้งานได้เป็นสิบปีโดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนหรือเติมสารทำความเย็น
น้ำยาแอร์ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือเติมใหม่ ถ้าระบบไม่มีการรั่วซึม การรั่วซึมอาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือ เกิดจากการผุกร่อนของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะอันเนื่องมาจากการสะสมของความชื้น หยดน้ำหรือเกิดจากการชำรุดหรือเสื่อมสภาพของข้อต่อและท่อทางต่างๆ ในระบบ เนื่องจากรถมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศจึงต้องออกแบบและได้รับการดูแลเป็นพิเศษต่างไปจากตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามบ้านการจัดการกับความชื้นที่สะสมอยู่ในชิ้นส่วนของระบบอุปกรณ์ที่สัมผัสและอ่อนไหวกับความชื้นที่สุดในระบบปรับอากาศรถยนต์ คือ อีวาโพเรเตอร์ หรือ ตู้คอยล์เย็นหรือตู้แอร์ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดความเย็นของระบบไอน้ำในอากาศที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำจะเกิดขึ้นที่อุปกรณ์นี้ ดังนั้นระบบจึงถูกออกแบบให้มีการระบายหยดน้ำที่เกิดขึ้นด้วย ผู้ใช้รถควรหมั่นสังเกตการระบายหยดน้ำอยู่เสมอ วิธีง่ายๆก็คือ สังเกตว่ามีร่องรอยการไหลของน้ำทุกครั้งที่จอดรถเป็นระยะเวลาหนึ่ง ถ้าร่องรอยการไหลของน้ำหายไปหรือน้อยลงผิดปกติ แสดงว่าระบบระบายน้ำอาจจะอุดตันต้องได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดโดยด่วน การใช้ระบบปรับอากาศอย่างถูกต้องในชีวิตประจำวันจะช่วยไล่ความชื้นออกจากตู้แอร์ได้อีกทางหนึ่ง กล่าวคือ หลัง
สตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนเปิดสวิตช์ให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน (สวิตช์ที่มีเครื่องหมาย A/C และมีไฟสีเขียวสว่างเมื่อกดเปิด)ให้เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็วสูงสุดทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วจึงกดสวิตช์คอมเพรสเซอร์ก่อนจะลดความเร็วพัดลมลงสู่ตำแหน่งที่ต้องการเพื่อไล่ความชื้นที่อาจตกค้างอยู่ในตู้แอร์ออกให้หมด เช่นเดียวกับเมื่อจะสิ้นสุดการใช้รถประจำวันก่อนจะถึงที่จอดประมาณ 10-15 นาที ควรปิดสวิตช์คอมเพรสเซอร์แล้วเปิดพัดลมไปที่ตำแหน่งความเร็วสูงสุด จนถึงที่หมายจึงค่อยปิดพัดลมแล้วดับเครื่อง วิธีนี้จะช่วยลดการสะสมของหยดน้ำที่ครีบของขดท่อในตู้แอร์ได้การดูแลรักษาข้อต่อและท่อทางต่างๆ สำหรับข้อต่อในระบบปรับอากาศ คงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใช้รถที่จะตรวจสอบว่ามีรอยรั่วหรือไม่ เพราะอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ แต่สำหรับท่อทางที่เชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบซึ่งมีทั้งที่เป็นอะลูมิเนียมและท่อยาง ผู้ใช้รถควรหมั่นตรวจว่าจุดยึดต่างๆ หลุดหลวมหรือมีส่วนใดสัมผัสหรือเสียดสีกับชิ้นส่วนอื่นๆ หรือไม่ ถ้ามีก็แก้ไขหรือให้ศูนย์บริการแก้ไขเสีย เท่านี้ก็สามารถรักษาอายุการใช้งานของสารหล่อเย็นในระบบให้ยืนยาวเท่าๆกับอายุของชิ้นส่วนต่างๆได้แล้ว
Question: การลากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ สามารถทำได้หรือไม่?
Answer: การลากรถเกียร์อัตโนมัติก็มีหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับการลากรถเกียร์ธรรมดาคือหลีกเลี่ยงการลากโดยปล่อยให้ล้อหน้าสัมผัสและหมุนไปบนพื้นถนน โดยปกติเรามักจะใช้รถลากชนิดที่ยกล้อหน้าขึ้น หรือใช้วิธียกรถทั้งคันขึ้นบรรทุกบนรถลากซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การลากรถโดยใช้สายลากล้อหน้าที่เชื่อมต่ออยู่กับเฟืองในห้องเกียร์ ล้อรถที่หมุนไปจะทำให้เฟืองเกียร์หมุนไปด้วย แต่ในขณะที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานระบบน้ำมันในห้องเกียร์จะไม่มีแรงดัน น้ำมันก็จะไม่ได้ไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นอาจจะสึกหรออย่างรวดเร็วจนเกิดความเสียหายได้ วิธีลากรถแบบนี้จึงเป็นวิธีที่ผิด แม้แต่การลากรถโดยยกล้อหน้าขึ้นก็ควรทำในระยะทางสั้นๆ เท่านั้น (ไม่ควรเกิน 50 กม.)
Question: รถยนต์ที่ติดตั้งระบบเบรก ABS ถ้าดึงเบรกมือกะทันหันล้อจะล็อกหรือไม่?
Answer: ระบบเบรก ABS กับกลไกของเบรกมือนั้นแยกเป็นอิสระต่อกันอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากมีจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกัน ส่วนใหญ่เบรกมือจะใช้แรงดึงจากคันโยกส่งผ่านตามสายสลิงไปดึงกลไกเพื่อกดให้ชุดเบรกที่ล้อหลังทำงาน ส่วนระบบ ABS จะส่งแรงเบรกผ่านระบบไฮดรอลิกโดยมีปั๊มและสวิตช์จ่ายแรงดันที่ควบคุมด้วยวงจรคอมพิวเตอร์และเซนเซอร์ตรวจจับการหมุนของล้อ ถ้าล้อใดมีแนวโน้มว่าจะหมุนช้ากว่าล้ออื่นระบบจะบังคับให้ลดแรงดันไฮดรอลิกของล้อนั้นลงแล้วเพิ่มแรงดันถ้าล้อนั้นหมุนเร็วกว่าล้ออื่น แต่สำหรับเบรกมือ เนื่องจากเป็นระบบกลไก ดังนั้นทุกครั้งที่ดึงคันเบรกมือขึ้นล้อหลังทั้งคู่ก็จะหยุดหมุนหรือล็อกตายเหมือนเวลาที่เราดึงคันเบรกมือขณะจอดรถและไม่แนะนำให้ปฏิบัติในขณะที่รถวิ่งอยู่เป็นอันขาดเพราะอาจทำให้รถหมุนหรือพลิกคว่ำได้
Question: รถเสียศูนย์จะมีลักษณะอาการอย่างไร?
Answer: ศูนย์ของรถโดยนัยก็หมายถึงลักษณะทางกายภาพของตัวรถที่กระทำกับพื้นผิวทางวิ่งโดยผ่านล้อทั้งสี่ จริงๆแล้วศูนย์ของรถนั้นค่อนข้างซับซ้อน มีมุมที่กำหนดไว้ให้ล้อทั้งหน้าและหลังกระทำต่อพื้นหรือกระทำต่อกันมากมาย ทุกมุมจะต้องอยู่ในค่าที่กำหนดจึงจะทำให้การขับขี่และบังคับควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ นอกเหนือจากการวัดโดยเครื่องมือพิเศษแล้ว สามารถสังเกตได้ดังนี้
ขณะรถจอดอยู่กับที่ เมื่อจอดรถบนพื้นผิวที่เป็นระนาบ พวงมาลัยตรง รถจะต้องไม่เอียงหรือยุบตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ถ้าพิจารณาดูหน้ายางต้องไม่มีร่องรอยของการสึกที่ผิดปกติ เช่น สึกเป็นบั้ง, สึกเฉพาะด้านนอกหรือด้านใน, ดอกยางสึกเป็นรอยเฉือนมีขอบขึ้นคม เป็นต้น เพราะการสึกที่ผิดปกติหมายถึงศูนย์ล้อที่ผิดปกติด้วย
ขณะขับขี่ บนทางเรียบตรง รถต้องไม่มีอาการดึงไปทางซ้ายหรือทางขวา, สั่นสะท้าน ขณะเข้าโค้งในสภาวะปกติต้องไม่มีอาการดื้อโค้ง (Understeer) หรือไวโค้ง (Oversteer)
Answer: รถเป็นรอยขนแมว สาเหตุเนื่องมาจากากรใช้ผ้าที่แข็งหรือหยาบเกินไปหรือเกิดจากการที่ไม่ใช้น้ำล้างสิ่งสกปรกออกก่อนที่จะใช้ผ้าทำความสะอาด วิธีการแก้ไขคือ ควรนำรถเข้ารับการขัดสีผิวที่ศูนย์บริการของฮอนด้า และวิธีที่จะถนอมสีรถให้คงสภาพเดิมได้นั้นควรจะขัด้ด้วยแวกซ์อ่อนที่มีสารซิลิโคนผสมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
การดูแลรักษารถยนต์ตลอดเวลามิใช่เพียงเพื่อความใหม่และสวยงามเท่านั้น แต่จะเป็นการช่วยรักษาผิวโลหะมิให้ถูกความชื้น กรด ด่าง ที่จะทำให้รถเป็นสนิมและผุ ดังนั้นการบำรุงรักษาสีรถจึงเป็นสิ่งจำเป็นและจะต้องกระทำอย่างถูกวิธีด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. ใช้ไม้ขนไก่ปัดฝุ่นที่เกาะออกให้หมดก่อนหรือหากรถลุยฝนมาให้ใช้น้ำฉีดโคลนดินออกก่อน โดยเฉพาะตามซอกมุมต่างๆ
2. ใช้น้ำสะอาดผสมแชมพูล้างรถหรือน้ำสบู่ชำระล้างโดยใช้ผ้านิ่มๆ เช่น ผ้าสำลี ผ้าฝ้าย ชุบน้ำเช็ดล้าง จากส่วนบนสุดแล้วไล่ลงมาส่วนล่าง และจะต้องใช้ผ้าแยกกัน สิ่งสำคัญหากใช้ผ้าชำระคราบโคลนควรซักผ้านั้นให้บ่อยครั้ง
ล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วจึงใช้ผ้าที่แห้งเช็ดน้ำและความเปียกชื้นออกให้หมด
Question: ในห้องเครื่องยนต์มักจะมีคราบน้ำมันสกปรกอยู่ตามชิ้นส่วนต่างๆจะทำความสะอาดได้อย่างไร?
Answer: คราบดำที่ติดอยู่ตามเครื่องยนต์ส่วนใหญ่มักเกิดจากฝุ่นละอองหรือเขม่าไอเสียผสมกับไอน้ำมัน คราบเหล่านี้ เมื่อทิ้งไว้นานๆจะจับแน่นทำความสะอาดได้ยาก วิธีทำความสะอาด นอกจากจะใช้น้ำยาที่ผลิตขึ้นมาเป็นการเฉพาะแล้ว น้ำมันก๊าดก็สามารถใช้ได้ดี ขั้นแรก ล้างห้องเครื่องยนต์ด้วยน้ำผสมแชมพูล้างรถก่อนหลังจากนั้นจึงใช้แปรงจุ่มน้ำมันก๊าดทาลงตรงพื้นที่ที่สกปรกมากๆให้ทั่ว พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้น้ำมันก๊าดถูกชิ้นส่วนที่เป็นยางมากเกินไป หลังจากนั้นจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ถ้าล้างด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงก็สามารถนำท่อดูดน้ำยาทำความสะอาดจุ่มลงในภาชนะบรรจุน้ำมันก๊าดเพื่อผสมน้ำมันก๊าดลงในน้ำที่ใช้ฉีดล้างทำความสะอาดได้เลย
Question: รถยนต์ควรล้างหัวฉีดเมื่อไรและมีความจำเป็นแค่ไหน?
Answer: การล้างหัวฉีดในเครื่องยนต์น้ำมันเบาที่มีคุณสมบัติเป็นสารละลายด้วยอย่างน้ำมันเบนซินคงไม่ใช่เรื่องจำเป็นนัก เพราะหัวฉีดของเครื่องยนต์เบนซินไม่ได้ยื่นลงไปในห้องเผาไหม้โดยตรงอย่างเครื่องยนต์ดีเซล แต่จะอยู่หลังลิ้นไอดีหรือในรถบางรุ่นอาจจะอยู่ถอยหลังลงไปในท่อร่วมไอดีเลย ประกอบกับหัวฉีดเป็นชนิดที่เข็มหัวฉีดถูกยกขึ้นด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าโอกาสอุดตันจึงเกือบไม่มีเลย
Question: ถ้าเติมน้ำมันเครื่องเกินกว่าจุด MAX จะมีผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร?
Answer: ในระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์นั้นจะมีปั๊มน้ำมันเครื่องติดตั้งอยู่บริเวณอ่างน้ำมันเครื่อง ปั๊มนี้จะฉีกน้ำมันเครื่องให้ไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ในเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้คล่องตัว และยังช่วยลดความร้อนได้อีกด้วยสำหรับการเติมน้ำมันเครื่อง ถ้าเติมน้อยเกินไปจะทำให้ปั๊มไม่สามารถดูดน้ำมันเครื่องได้เต็มที่ ปริมาณน้ำมันเครื่องที่เข้าไปหล่อล่นจึงไม่เพียงพอส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ถ้าหากเติมมากเกินไป ปริมาณของน้ำมันเครื่องจะล้นเกินอ่าง น้ำมันเครื่องทำให้ชิ้นส่วนเพลาข้อเหวี่ยงแช่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ความหนืดก็จะมีมากขึ้น กำลังของเครื่องยนต์ก็จะออกมาไม่เต็มที่ เพราะจะมีแรงต้านจากน้ำมันเครื่องดังนั้นจึงควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจเช็คจากเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องหลังจากดับเครื่องยนต์ประมาณ 3-5 นาที ระดับที่ถูกต้องจะอยู่ที่จุดบนเหล็กวัด และในการวัดควรจอดรถในพื้นที่ราบ
Question: การตรวจสภาพเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางไกล ควรจะปฏิบัติอย่างไร?
Answer: สำหรับท่านที่ออกเดินทางต่างจังหวัดไกลๆ ทำให้เครื่องยนต์ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นก่อนออกเดินทางไกล จึงควรเตรียมความพร้อมของเครื่องยนต์เพื่อที่จะสามารถพาผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้ไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่ผู้ขับขี่ควรทำการตรวจสภาพก่อนออกเดินทางไกล
ระดับน้ำมันเครื่อง ให้ตรวจวัดหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลลงด้านล่างของเครื่องยนต์ก่อน ดึงก้านวัดน้ำมันออกมาแล้วใช้ผ้าเช็ดคราบน้ำมันออกให้หมดแล้วเสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ระดับน้ำมันควรอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบน ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องชนิดและระดับความหนืดที่ระบุอยู่ในคู่มือผู้ใช้รถจนถึงระดับที่ขีดบน
ระดับน้ำระบายความร้อน ดูที่ถังสำรองขณะที่อุณหภูมิของเครื่องยนต์เท่ากับอุณหภูมิของอากาศปกติ ระดับน้ำระบายความร้อนในถังสำรองควรอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบน น้ำระบายความร้อนที่กล่าวถึงเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำยารักษาหม้อน้ำ และน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ข้อสำคัญคืออย่าเติมน้ำยารักษาหม้อน้ำหรือน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว
อุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร ควรตรวจยางขอบประตู และยางฝากระโปรงท้ายว่าอยู่ในสภาพดี และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะการที่ยางอยู่ในสภาพดีจะมีส่วนช่วยทำให้ไม่เกิดเสียงรบกวนขณะขับขี่ นอกจากนี้ยังป้องกันไม่ให้ฝุ่น และน้ำเข้ามาทำความเสียหายแก่ห้องสัมภาระอีกด้วย
ระดับน้ำมันเกียร์ (เกียร์อัตโนมัติ) ควรจอดรถในพื้นที่ที่ได้ระดับ เลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จากนั้นดึงก้านวัดออกเช็ดทำความสะอาดก่อนเสียบเข้าตำแหน่งเดิม แล้วดึงเหล็กวัดออกมาใหม่ ระดับน้ำมันเกียร์ควรอยู่ระหว่างระดับสูงสุดและระดับต่ำสุด ควรใช้น้ำมันเกียร์ชนิดเดียวกับที่ระบุอยู่ในคู่มือผู้ใช้รถ
แบตเตอรี่ ตรวจดูขั้วสายไฟว่าสะอาด และแน่นดีหรือไม่ ตลอดทั้งตรวจระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับบนสุด
ยาง ตรวจแรงดันลมภายในยาง การเติมลมยางสำหรับรถเดินทางไกลนั้น ควรเติมให้มากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว ส่วนดอกยางนั้นควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร
สัญญาไฟเตือน ตรวจเช็คดูว่าสว่างและดับตามปกติหรือไม่ ตลอดทั้งทดลองเปิดไฟดูทีละระบบ เช่นไฟหน้า ไฟหรี่ ไฟต่ำ ไฟสูง ฯลฯ
Question: การใส่หลอดไฟหน้าด้วยวัตต์ที่สูงกว่ามาตรฐานมีผลอย่างไรต่อรถยนต์?
Answer: วัตต์ของหลอดไฟ หมายถึงกำลังส่องสว่างของหลอดไฟที่แสดงในรูปของปริมาณกำลังไฟ หลอดไฟที่มีวัตต์สูงย่อมต้องการกระแสไฟมากขึ้น การใส่หลอดไฟหน้าด้วยหลอดไฟที่มีวัตต์สูงกว่าที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ทั้งแบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรถต้องจ่ายกระแสออกมากขึ้น ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จะจ่ายให้แบตเตอรี่ก็จะน้อยลงเป็นเหตุให้กำลังไฟของแบตเตอรี่ไม่อยู่ในสถานะไฟเต็ม นานๆ ไปกำลังไฟสำรองสำหรับใช้ในการสตาร์ทก็จะไม่พอ ทำให้ไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ นอกจากนั้น แบตเตอรี่ที่มีสภาพไฟไม่เต็มนานๆ ก็จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนเครื่องกำเนิดไฟที่ต้องจ่ายกระแสไฟออกเป็นปริมาณมากๆอยู่ตลอดเวลาก็จะทำให้เกิดการสึกหรอเร็ว อายุการใช้งานก็จะสั้นลง สรุปว่ามีผลเสียไม่คุ้มกับกำลังส่องสว่างที่ได้มา ถ้าจะเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีความจุเหมาะสมด้วย
Question: น้ำยาแอร์ในรถ โดยเฉลี่ยกี่ปีจึงต้องเปลี่ยนหรือเติมใหม่?
Answer: ระบบปรับอากาศในรถยนต์ก็เหมือนระบบทำความเย็นทั่วไป คือเป็นระบบปิดน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็นที่อยู่ในระบบจะหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซแล้วกลับมาเป็นของเหลวอยู่ภายใน ถ้าไม่มีการรั่วไหลของชิ้นส่วนต่างๆ สารหล่อเย็นจะคงอยู่ในระบบตลอดไป สังเกตได้จากตู้เย็นบางตู้สามารถใช้งานได้เป็นสิบปีโดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนหรือเติมสารทำความเย็น
น้ำยาแอร์ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือเติมใหม่ ถ้าระบบไม่มีการรั่วซึม การรั่วซึมอาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือ เกิดจากการผุกร่อนของชิ้นส่วนที่เป็นโลหะอันเนื่องมาจากการสะสมของความชื้น หยดน้ำหรือเกิดจากการชำรุดหรือเสื่อมสภาพของข้อต่อและท่อทางต่างๆ ในระบบ เนื่องจากรถมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศจึงต้องออกแบบและได้รับการดูแลเป็นพิเศษต่างไปจากตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามบ้านการจัดการกับความชื้นที่สะสมอยู่ในชิ้นส่วนของระบบอุปกรณ์ที่สัมผัสและอ่อนไหวกับความชื้นที่สุดในระบบปรับอากาศรถยนต์ คือ อีวาโพเรเตอร์ หรือ ตู้คอยล์เย็นหรือตู้แอร์ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดความเย็นของระบบไอน้ำในอากาศที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำจะเกิดขึ้นที่อุปกรณ์นี้ ดังนั้นระบบจึงถูกออกแบบให้มีการระบายหยดน้ำที่เกิดขึ้นด้วย ผู้ใช้รถควรหมั่นสังเกตการระบายหยดน้ำอยู่เสมอ วิธีง่ายๆก็คือ สังเกตว่ามีร่องรอยการไหลของน้ำทุกครั้งที่จอดรถเป็นระยะเวลาหนึ่ง ถ้าร่องรอยการไหลของน้ำหายไปหรือน้อยลงผิดปกติ แสดงว่าระบบระบายน้ำอาจจะอุดตันต้องได้รับการดูแลหรือทำความสะอาดโดยด่วน การใช้ระบบปรับอากาศอย่างถูกต้องในชีวิตประจำวันจะช่วยไล่ความชื้นออกจากตู้แอร์ได้อีกทางหนึ่ง กล่าวคือ หลัง
สตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนเปิดสวิตช์ให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน (สวิตช์ที่มีเครื่องหมาย A/C และมีไฟสีเขียวสว่างเมื่อกดเปิด)ให้เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็วสูงสุดทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วจึงกดสวิตช์คอมเพรสเซอร์ก่อนจะลดความเร็วพัดลมลงสู่ตำแหน่งที่ต้องการเพื่อไล่ความชื้นที่อาจตกค้างอยู่ในตู้แอร์ออกให้หมด เช่นเดียวกับเมื่อจะสิ้นสุดการใช้รถประจำวันก่อนจะถึงที่จอดประมาณ 10-15 นาที ควรปิดสวิตช์คอมเพรสเซอร์แล้วเปิดพัดลมไปที่ตำแหน่งความเร็วสูงสุด จนถึงที่หมายจึงค่อยปิดพัดลมแล้วดับเครื่อง วิธีนี้จะช่วยลดการสะสมของหยดน้ำที่ครีบของขดท่อในตู้แอร์ได้การดูแลรักษาข้อต่อและท่อทางต่างๆ สำหรับข้อต่อในระบบปรับอากาศ คงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ใช้รถที่จะตรวจสอบว่ามีรอยรั่วหรือไม่ เพราะอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ แต่สำหรับท่อทางที่เชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ ในระบบซึ่งมีทั้งที่เป็นอะลูมิเนียมและท่อยาง ผู้ใช้รถควรหมั่นตรวจว่าจุดยึดต่างๆ หลุดหลวมหรือมีส่วนใดสัมผัสหรือเสียดสีกับชิ้นส่วนอื่นๆ หรือไม่ ถ้ามีก็แก้ไขหรือให้ศูนย์บริการแก้ไขเสีย เท่านี้ก็สามารถรักษาอายุการใช้งานของสารหล่อเย็นในระบบให้ยืนยาวเท่าๆกับอายุของชิ้นส่วนต่างๆได้แล้ว
Question: การลากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ สามารถทำได้หรือไม่?
Answer: การลากรถเกียร์อัตโนมัติก็มีหลักปฏิบัติเช่นเดียวกับการลากรถเกียร์ธรรมดาคือหลีกเลี่ยงการลากโดยปล่อยให้ล้อหน้าสัมผัสและหมุนไปบนพื้นถนน โดยปกติเรามักจะใช้รถลากชนิดที่ยกล้อหน้าขึ้น หรือใช้วิธียกรถทั้งคันขึ้นบรรทุกบนรถลากซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การลากรถโดยใช้สายลากล้อหน้าที่เชื่อมต่ออยู่กับเฟืองในห้องเกียร์ ล้อรถที่หมุนไปจะทำให้เฟืองเกียร์หมุนไปด้วย แต่ในขณะที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานระบบน้ำมันในห้องเกียร์จะไม่มีแรงดัน น้ำมันก็จะไม่ได้ไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นอาจจะสึกหรออย่างรวดเร็วจนเกิดความเสียหายได้ วิธีลากรถแบบนี้จึงเป็นวิธีที่ผิด แม้แต่การลากรถโดยยกล้อหน้าขึ้นก็ควรทำในระยะทางสั้นๆ เท่านั้น (ไม่ควรเกิน 50 กม.)
Question: รถยนต์ที่ติดตั้งระบบเบรก ABS ถ้าดึงเบรกมือกะทันหันล้อจะล็อกหรือไม่?
Answer: ระบบเบรก ABS กับกลไกของเบรกมือนั้นแยกเป็นอิสระต่อกันอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากมีจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกัน ส่วนใหญ่เบรกมือจะใช้แรงดึงจากคันโยกส่งผ่านตามสายสลิงไปดึงกลไกเพื่อกดให้ชุดเบรกที่ล้อหลังทำงาน ส่วนระบบ ABS จะส่งแรงเบรกผ่านระบบไฮดรอลิกโดยมีปั๊มและสวิตช์จ่ายแรงดันที่ควบคุมด้วยวงจรคอมพิวเตอร์และเซนเซอร์ตรวจจับการหมุนของล้อ ถ้าล้อใดมีแนวโน้มว่าจะหมุนช้ากว่าล้ออื่นระบบจะบังคับให้ลดแรงดันไฮดรอลิกของล้อนั้นลงแล้วเพิ่มแรงดันถ้าล้อนั้นหมุนเร็วกว่าล้ออื่น แต่สำหรับเบรกมือ เนื่องจากเป็นระบบกลไก ดังนั้นทุกครั้งที่ดึงคันเบรกมือขึ้นล้อหลังทั้งคู่ก็จะหยุดหมุนหรือล็อกตายเหมือนเวลาที่เราดึงคันเบรกมือขณะจอดรถและไม่แนะนำให้ปฏิบัติในขณะที่รถวิ่งอยู่เป็นอันขาดเพราะอาจทำให้รถหมุนหรือพลิกคว่ำได้
Question: รถเสียศูนย์จะมีลักษณะอาการอย่างไร?
Answer: ศูนย์ของรถโดยนัยก็หมายถึงลักษณะทางกายภาพของตัวรถที่กระทำกับพื้นผิวทางวิ่งโดยผ่านล้อทั้งสี่ จริงๆแล้วศูนย์ของรถนั้นค่อนข้างซับซ้อน มีมุมที่กำหนดไว้ให้ล้อทั้งหน้าและหลังกระทำต่อพื้นหรือกระทำต่อกันมากมาย ทุกมุมจะต้องอยู่ในค่าที่กำหนดจึงจะทำให้การขับขี่และบังคับควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ นอกเหนือจากการวัดโดยเครื่องมือพิเศษแล้ว สามารถสังเกตได้ดังนี้
ขณะรถจอดอยู่กับที่ เมื่อจอดรถบนพื้นผิวที่เป็นระนาบ พวงมาลัยตรง รถจะต้องไม่เอียงหรือยุบตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ถ้าพิจารณาดูหน้ายางต้องไม่มีร่องรอยของการสึกที่ผิดปกติ เช่น สึกเป็นบั้ง, สึกเฉพาะด้านนอกหรือด้านใน, ดอกยางสึกเป็นรอยเฉือนมีขอบขึ้นคม เป็นต้น เพราะการสึกที่ผิดปกติหมายถึงศูนย์ล้อที่ผิดปกติด้วย
ขณะขับขี่ บนทางเรียบตรง รถต้องไม่มีอาการดึงไปทางซ้ายหรือทางขวา, สั่นสะท้าน ขณะเข้าโค้งในสภาวะปกติต้องไม่มีอาการดื้อโค้ง (Understeer) หรือไวโค้ง (Oversteer)
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ไฟตัดหมอกสีขาวให้เป็นสีเหลืองได้ในราคาถูก
แสดงกรรมวิธี ตั้งแต่ต้นยันจบ
เริ่มจากการถอด และเตรียมอุปกรณ์
มี ฟิลม์ คัตเตอร์ แระ ไดร์ฟเป่าผม
ภาระกิจต่อไปคือ
ทามฟามสะอาดไฟตัดหมอกแร้วนำแชมพู หรือ น้ำยาล้างจาน มาชะโลมหั้ยทั่วไฟตัดหมอก
แร้วตัดฟิลม์ตามขนาดที่ต้องการ ติดที่ไฟตัดหมอกตามรูป
แร้วนับ 1-500 (นับทามมัยฟร่ะ) หมายเถิงทิ้งไว้ ประมาณ 15-20 นาที
แร้วเอาไคร์ฟ เป่าเพื่อไล่ฟามชื้นออกหั้ยหมด
หลังจากนั้นต้องมีสมาธิกับมานมากๆ
แร้วงานจะออกมาเชียบขาด ตามรูปที่แนบมา
ขั้นตอนสุดท้าย ติดตั้ง เข้าไปหั้ยเหมือนเดิม
แต่มันม่ายเหมือนเดิมแร้ว
เพราะตา มานเหลืองแร้วง่า (มานคล้ายๆกับฟ้าเหลืองป่าวฟร่ะเนี่ย) *_*
แร้วผลงานก้อออกมาเป็งแบบนี้
เครดิต พี่สองที่เป็นนายแบบและช่างในตัว ขอบคุณครับ
เริ่มจากการถอด และเตรียมอุปกรณ์
มี ฟิลม์ คัตเตอร์ แระ ไดร์ฟเป่าผม
ภาระกิจต่อไปคือ
ทามฟามสะอาดไฟตัดหมอกแร้วนำแชมพู หรือ น้ำยาล้างจาน มาชะโลมหั้ยทั่วไฟตัดหมอก
แร้วตัดฟิลม์ตามขนาดที่ต้องการ ติดที่ไฟตัดหมอกตามรูป
แร้วนับ 1-500 (นับทามมัยฟร่ะ) หมายเถิงทิ้งไว้ ประมาณ 15-20 นาที
แร้วเอาไคร์ฟ เป่าเพื่อไล่ฟามชื้นออกหั้ยหมด
หลังจากนั้นต้องมีสมาธิกับมานมากๆ
แร้วงานจะออกมาเชียบขาด ตามรูปที่แนบมา
ขั้นตอนสุดท้าย ติดตั้ง เข้าไปหั้ยเหมือนเดิม
แต่มันม่ายเหมือนเดิมแร้ว
เพราะตา มานเหลืองแร้วง่า (มานคล้ายๆกับฟ้าเหลืองป่าวฟร่ะเนี่ย) *_*
แร้วผลงานก้อออกมาเป็งแบบนี้
เครดิต พี่สองที่เป็นนายแบบและช่างในตัว ขอบคุณครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)