:: กราวน์ไวร์ Ground Wire เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมกันมากในรถแข่ง แต่ที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นเพราะส่วนใหญ่เขาจะไม่ใช้สีสันใช้เป็นสายสีดำจนเรามองผ่านๆ เป็นส่วนช่วยให้ไฟฟ้ากระแสลบเดินครบวงจรมากขึ้นกว่าการใช้ตัวถังรถเป็นส่วนนำไฟฟ้าแบบโรงงาน
:: แล้วมันช่วยอะไรได้บ้าง
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดตั้งร้อยละเก้าสิบให้ความคิดเห็นว่า อัตราเร่งดีขึ้น เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น
มีแนวโน้มประหยัดน้ำมันมากขึ้นแต่ไม่กินมากไปกว่าเดิมแน่ ( ยกเว้นแต่จะกระทืบคันเร่งมากกว่าเดิม )
สตารท์ง่ายขึ้น เสียงดังของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ปั้มติ๊ก พัดลมแอร์ เสียงกวนวิทยุลดลง และอีกมากมายมีแต่จะดีขึ้น
มิน่าล่ะนักแต่งรถอเมริกาและญี่ปุ่นถึงนิยมกันนัก อย่างนี้ต้องรีบหามาติดตั้งบ้าง แต่พอไปเจอราคา
แล้วแทบจะเปลี่ยนใจ เพราะราคามีตั้งแต่ 1,500 จนถึง 8,000 บาท ยิ่งเป็นของสำนักแต่งแรงๆกลับยิ่งแพงมาก
หน้าตาก็เหมือนๆกันเก็บสตางค์ไว้เติมน้ำมันดีกว่า แต่จริงๆแล้วเราสามารถทำเองได้ด้วยงบประมาณ
ไม่กี่ร้อยบาทอย่างนี้ค่อยน่าลงทุนลงแรงทำกันหน่อย
:: รู้จักประโยชน์ และ จุดที่จะติดตั้ง
ก่อนที่เราจะติดตั้งคุณต้องรู้ก่อนว่าจะติดตั้งที่ไหนเพราะอะไรจึงจะมีประโยชน์สูงสุด และ สิ้นงบประมาณ น้อยที่สุด
1. แบตเตอร์รี่ ที่ขั้วลบเป็นหัวใจหลักของงานเป็นตัวที่เราจะดึงกระแสไฟฟ้า ไปใช้ในส่วนต่างๆ ของ เครื่องยนต์ และ
ในรถนต์
2. ขั้วดินของไดชารจ์ ไดชารจ์เป็นตัวสร้างกระแสไฟไปเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอร์รี่ ถ้าไฟชารจ์เข้า แบตเตอร์ร ี่ได้ไวขึ้น
ไดชารจ์จะตัดการทำงานเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ มีส่วนให้ประหยัดน้ำมัน ได้มากขึ้น
3. ขั้วกราวน์ของกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์รวมของกระแสลบที่จะต่อเข้าเซนเซอร์ต่างๆ เช่น กล่องควบคุมเครื่องยนต์
, หัวฉีด , คอยล์ , จานจ่าย ,ปั้มน้ำมัน,เซนเซอร์เครื่องยนต์ ฯลฯ ส่วนใหญ่ ่ทุกเครื่องยนต์จะมีสายรวมกราว์นที่ออกมา
จากกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดสายไฟยึดลงกราวน์รวมไว้ที่เครื่องโดยอาศัยโลหะตัวเครื่องเป็นตัวส่งกระแสไฟ
แต่ตัวเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยโลหะหลายชนิด รวมกันทำให้เกิดความต้านทาน ดังนั้นการต่อไฟตรงจะทำให้กล่อง
และเซนเซอร์ต่างๆ ควบคุมทำงาน ได้เต็มที่ เครื่องยนต์เดินราบเรียบขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น
4. สายกราวน์รวมของตัวถังรถยนต์ สังเกตว่าโรงงานจะอาศัยตัวถังรถยนต์ที่เป็นเหล็กเป็นส่วนนำไฟฟ้า แต่เนื่องจาก
เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จะมีความต้านทานมากสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรมองหา สายดินรวมของตัวถังรถยนต์
ส่วนใหญ่แล้วมักต้องไล่ดูจากชุดสายไฟ จะทำให้ระบบไฟต่างๆ ในรถยนต์ ทำงานดีขึ้น เช่นไฟหน้าสว่างขึ้น
พัดลมไฟฟ้าทำงานแรงขึ้น และอีกมาก
5. สายดินของเครื่องยนต์ แถวๆไดสตาร์ทจะทำให้รถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น
6. อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องเสียง เพาเวอร์แอมป์ ที่เพิ่มเข้าไปจะทำให้ทุกอย่าง ทำงานได้
้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
:: การเตรียมอุปกรณ์
1. สายไฟขนาด 6 mm หรือ 8 mm เลือกได้
ทุกสีตามใจชอบ หาซื้อได้ที่บ้านหม้อ หรือ
ร้านเครื่องเสียงทั่วไป ราคาเมตรละ 40 – 80 บาท
2. แผ่นทองแดง , ทองเหลือง , หรืออลูมิเนียม , เหล็ก
หนาซัก 1.5 – 2 หุน หาได้ตาม ร้านขายของเก่า
หรือร้านฮาดท์แวร์ ขายเป็น กิโลกรัม
ราคาแล้วแต่วัสดุที่เลือกใช้ เพื่อนำกระแสไฟฟ้า
( ดูจากค่านำกระแสไฟ ดีที่สุดคือ ทองคำขาว > ทองคำ >
เงิน > ทองแดง > ทองเหลือง > สแตนเลส > เหล็ก >
อลูมิเนียม ) ถ้าเป็นทองเหลืองของใหม่ ก.ก. ละ
200 – 250 บาท (ใช้ไม่เกิน 2 ขีดต่อตัวหละครับ)
3. หัวหางปลาที่จะเชื่อมกับสายไฟ ใช้หัวแบนกลม ประมาณ 10- 12 ตัว ราคาตัวละ 3 – 5 บาท
4. น็อตสแตนเลสหกเหลี่ยมยึด ใช้เป็นเบอร์ 10 ยาว 1/2 นิ้ว 6 ตัว ราคาตัวละ 5 -10 บาท / ตัว
5. อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตะกั่วบัคกรี ท่อหด เทปพันสายไฟ สายรัด
:: ขั้นตอนการทำ
1. หากระดาษแข็งมาวาดรูปแล้วตัดกระดาษแบบให้ได้รูปตามที่เราต้องการ
2. นำแบบทาบกับวัสดุ เช่นทองเหลือง หรืออลูมิเนียม ที่จะใช้เป็นเพลทยึดสายไฟให้ได้ตามแบบ แล้วตัดแผ่น
ทองเหลือง หรือ วัสดุให้ได้ตามแบบ แล้วทำการตกแต่งชิ้นงาน
3. เจาะรูวัสดุที่แผ่นเพลต ตราฟเกลียว เพื่อใช้ยึดน๊อตหกเหลี่ยม
4. วัดสายไฟในจุดที่ต้องการแต่ละจุด ตัดสายไฟออกเป็นเส้นๆ แล้วสวมหางปลา แล้วบัคกรีตะกั่ว
เพื่อความแน่นหนา
5. นำแผ่นเเพลตยึดกับจุดในตัวรถ หรือแบตเตอร์รี่ แล้วนำสายที่ใส่หางปลา แล้วมายึดติดแล้วต่อ
ไปยังจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการ
:: ข้อเเนะนำ
ควรเช็คให้ดีว่าจุดที่จะยึดเป็นจุดกราวน์แน่นอน ถ้ามีการย้ายเเบตเตอร์รี่ไว้หลังรถ ควรต่อสาย
ไปยังเเบตเตอร์รี่เลยดีที่สุด ควรหาสายรัดและเทปพันสายไฟพันสายไฟเพื่อป้องกันไฟรัดวงจร
และห่างจากจุดหมุนพวกสายพาน สายไม่จำเป็นต้องใช้สายที่มีขนาดใหญ่มาก สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
แต่ควรจะยึดในส่วนที่สำคัญและหลายๆจุดดีกว่า หรือทำไว้หลายๆตัวแล้วเดินสายให้ได้มากจุดที่สุด
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น