วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทความเกี่ยวกับแอร์รถยนต์

รายละเอียดทั่วไป

ถ้าแอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่เต็มที่ ก่อนอื่นให้ทำการตรวจเช็คปริมาณสารทำความเย็นในระบบ ถ้าสารทำความเย็นน้อยเกินไป ให้ตรวจเช็คการรั่วและทำการซ่อมแซมก่อนเติมสารทำความเย็นใหม่
ในส่วนนี้จะอธิบายถึงวิธีการถอด ประกอบและการเติมสารทำความเย็นเข้าไปในระบบ

1. ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นและการรั่วของก๊าซ

2. การฟื้นฟูสารทำความเย็น
ฟื้นฟูสารทำความเย็นไว้เพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ข้อแนะนำ:
การฟื้นฟูสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีเครื่องสำหรับฟื้นฟูสารทำความเย็นโดยเฉพาะ

3. การถอดและประกอบคอมเพรสเซอร์ของชุดเครื่องปรับอากาศ
ทำการถอดสายพานขับ ถอดและติดตั้งคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ

4. การเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ
เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบเครื่องปรับอากาศ

ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น


การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี

1. เงื่อนไขในการตรวจเช็ค
ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้
• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที
• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)
• เปิดประตูรถทั้งหมด

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

1.คือกระจกมองน้ำยา

2.ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา

A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อย
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี

B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป

C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศ
นั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป

ข้อแนะนำ:
• โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดี
แต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป
• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด
• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

3. ตรวจสอบโดยใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ
ใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ เพื่อตรวจสอบปริมาณของน้ำยาและแรงดัน
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ

ข้อแนะนำ:
ไม่ควรต่อขั้วต่อตรงกลางของแมนนิโฟลด์เกจ

ติดตั้งชุดแมนนิโฟลด์เกจ

1. ปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
2. เปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
3. ปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
4. เปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi

1. คุณลักษณะของชุดแมนิโฟลด์เกจ
(1) เกจมี 2 ตัว คือ เกจวัดแรงดันต่ำและเกจวัดแรงดันสูง
(2) สับช่องทางเติมสารทำความเย็นโดยเปิดและปิดวาล์ว

ข้อแนะนำ:
แมนิโฟลด์เกจที่ออกแบบมาสำหรับ HFC-134a (R134a) ไม่สามารถที่จะนำไปใช้กับระบบที่เป็น CFC-12 (R12) ได้

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

(2) ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์และตรวจสอบแรงดันจากเข็มชี้ของชุดแมนนิโฟลด์เกจ ขณะระบบปรับอากาศทำงานอยู่
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)

ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก

ข้อมูลอ้างอิง:

สาเหตุของอาการผิดปกติของความดันเกินค่ากำหนด

ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ
• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ

2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว

3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง
• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป
• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ

4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และแรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ
• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
เครื่องมือทดสอบรั่ว

4. ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็น
(1) ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยใช้เครื่องมือทดสอบการรั่ว

ลักษณะการทำงาน
• ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยสังเกตจากหลอดไฟจะกะพริบ และมีเสียงดัง
• เมื่อขยับเครื่องตรวจสอบเข้าใกล้จุดตำแหน่งที่รั่วโดยมีระยะห่างพอประมาณ หลอดไฟจะกะพริบและมีเสียงดังถี่ขึ้น
• การพัฒนาความไวของเครื่องทดสอบ ทำให้ความสามารถตรวจสอบรอยรั่วเพียงเล็กน้อยได้

(2) จุดต่างๆ ที่จะต้องทำการเช็คการรั่วมีดังนี้

1.ตัวต้านทานโบล์วเวอร์
2.A/C คอมเพรสเซอร์
3.คอนเดนเซอร์
4.อีวาปอเรเตอร์
5.รีซีฟเวอร์ หรือ โมดูเลเตอร์
6.ท่อระบาย
7.ตำแหน่งการต่อท่อ
8.EPR (พร้อมตัวควบคุมแรงดันในอีวาปอเรเตอร์)
9.เครื่องมือทดสอบรั่ว

การเติมสารทำความเย็น

เริ่มจากการทำสุญญากาศ

การทำสุญญากาศก็เพื่อเป็นการไล่ความชื้นออกจากระบบแอร์ และยังเป็นการตรวจเช็คการรั่วของระบบตามข้อต่อต่างๆ ที่ขัน



1.แมนิโฟลด์เกจ
2.ปั๊มสุญญากาศ


1. การทำสุญญากาศ
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ

ข้อแนะนำ:
ต่อท่อสีเขียวตรงขั้วกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ และต่อปลายท่ออีกด้านเข้ากับปั๊มสุญญากาศ

(2) เปิดวาล์วทางด้านความดันสูงและความดันต่ำของชุดแมนิโฟลด์เกจ และทำการเปิดเครื่องทำสุญญากาศ


1. ไล่ฟองอากาศออก.
2. ปั๊มสุญญากาศ
3. เปิด

(3) ทำสุญญากาศกระทั่งแมนิโฟลด์เกจทางความดันต่ำจะแสดงค่า 750 mmHgหรือมากกว่า

(4) ขณะที่แรงดันทางด้านความดันต่ำเป็น 750 mmHgหรือมากกว่า จงทำสุญญากาศต่อไปอีก 10 นาที

(5) หมุนปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงของชุดแมนิโฟลด์เกจให้สนิทแล้วจึงปิดปั๊มสุญญากาศ


1.ปิด


ข้อควรระวัง:
ถ้าปิดปั๊มสุญญากาศวาล์วขณะวาล์วทั้งสองด้านไม่เปิด (ด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ) จะมีอากาศเข้ามาในระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบการรั่วของอากาศ
ปิดวาล์วทั้งด้านความดันต่ำและความดันสูง แล้วปิดเครื่องทำสุญญากาศทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีหรือมากกว่า แล้วให้ตรวจเช็คความเปลี่ยนแปลงของเกจวัด

ข้อแนะนำ:
เมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเข็มเกจวัดมีแรงดันสูงขึ้น แสดงว่ามีอากาศเข้ามาในระบบ ดังนั้นต้องทำการตรวจเช็คโอริงและข้อต่อต่างๆ ของระบบปรับอากาศ

ข้อควรระวัง:
ในการทำสุญญากาศหรือไล่อากาศไม่หมด จะเกิดความชื้นภายในท่อของระบบปรับอากาศ และเกิดการจับตัวแข็งภายในท่อ และทำให้สารทำความเย็นเกิดการไหลไม่สะดวก เป็นผลทำให้ภายในของระบบปรับอากาศเกิดความเสียหาย

เริ่มเติมสารทำความเย็น

1.ถังน้ำยาแอร์หรือถังสารทำความเย็น
เนื่องจากสารทำความเย็นจะบรรจุไว้โดยการอัดด้วยแรงดันสูง ดังนั้นการเติมจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ข้อควรระวังในการเติมสารทำความเย็น


คำเตือน:
• อย่าให้สารทำความเย็นกระเด็นเข้าหน้า และเข้าตาหรือโดนผิวหนังในขณะที่ถอดหรือประกอบสารทำความเย็นจึงควรสวมแว่นตาป้องกันเสมอ
• อย่าชี้ด้านท้ายของภาชนะสารทำความเย็นไปทางผู้คน เพราะมันมีโครงสร้างที่สามารถปล่อยแก๊สออกมาในกรณีฉุกเฉินได้
• ห้ามนำกระป๋องสารทำความเย็นไปเผา หรือต้มในน้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้มันระเบิด

เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันสูง
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เปิดวาล์วด้านแรงดันสูงและเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบกระทั่งเกจทางด้านแรงดันต่ำแสดงค่า 0.98 MPa
(1 kg/cm2, 14psi)
(2) หลังจากเติมสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง

ข้อควรระวัง:
• ห้ามคอมเพรสเซอร์ทำงานขณะเติมสารทำความเย็น ขณะคอมเพรสเซอร์ทำงานเมื่อไม่มีการเติมสารทำความเย็นเข้าทางด้านแรงดันต่ำ มีผลทำให้ภายในของคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศร้อน
• ห้ามเปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นซึ่งอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นก๊าซ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาล์วทางด้านแรงดันต่ำเปิดขณะมีการเติมสารทำความเย็นในท่อด้านแรงดันสูง ทำให้สารทำความเย็นจะมีสภาพเป็นของเหลว และคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเริ่มทำงาน




เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันต่ำ
(1) ให้ทำการปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง และทำการติดเครื่องยนต์พร้อมกับเปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำของแมนิโฟลด์เกจเพื่อเติมสารทำความเย็น

สภาวะขณะเติมสารทำความเย็น
• เครื่องยนต์ทำงานที่ 1500 รอบต่อนาที
• เปิดสวิตช์พัดลมในตำแหน่งสูงสุด "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• ปรับอุณหภูมิในตำแหน่งเย็นสุด "MAX COOL"
• เปิดประตูรถออกทุกบาน
ข้อแนะนำ:
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติม
530 ± 30g (18.69 ± 1.06 ออนซ์.)
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติมในแต่ละรุ่นอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ดังนั้นให้อ้างอิงจากคู่มือซ่อม



1. ปิด
2.ถังเก็บสารทำความเย็น
3.สวิตช์ A/C
4.ปุ่มควบคุมความแรงพัดลม
5.ตัวปรับอุณหภูมิ

ข้อควรระวัง:
• ถ้าคว่ำถังบรรจุสารทำความเย็นจะเป็นการเติมในสถานะที่เป็นของเหลวเข้าไปในคอมเพรสเซอร์สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ ดังนั้นจึงควรเติมสารทำความเย็นในสถานะเป็นแก๊สเท่านั้น
• ระมัดระวังอย่าเติมสารทำความเย็นมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุให้การทำความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันและเครื่องยนต์ร้อนจัด
• เมื่อทำการเปลี่ยนสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทั้งทางด้านความดันต่ำและความดันสูง และถอดเอาวาล์วหัวถังออกจากถังบรรจุสารทำความเย็น และท่อตรงกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ (ท่อสีเขียว)

คำเตือน:
ห้ามไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานในขณะที่เปิดวาล์วด้านแรงดันสูง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ถังบรรจุสารทำความเย็นเกิดการระเบิดอาจเป็นอันตรายได้


ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นจากค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ

ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)

ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก


(4) ปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและดับเครื่องยนต์

(5) ถอดสายทำความเย็นออกจากรถยนต์และจากถังบรรจุสารทำความเย็น

ข้อแนะนำ:
• ค่าแรงดันที่เกจแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก
• ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูง การเติมสารทำความเย็นก็จะทำได้ยาก จะต้องเอาน้ำราดที่คอนเดนเซอร์เพื่อที่จะลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
• ให้ทำการแช่กระป๋องสารทำความเย็นในน้ำอุ่น (ต่ำกว่า 40°C) เมื่ออุณหภูมิภายนอกต่ำ เพื่อทำให้สามารถเติมสารทำความเย็นได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น