วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทำสาย Ground wire

:: กราวน์ไวร์ Ground Wire เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมกันมากในรถแข่ง แต่ที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นเพราะส่วนใหญ่เขาจะไม่ใช้สีสันใช้เป็นสายสีดำจนเรามองผ่านๆ เป็นส่วนช่วยให้ไฟฟ้ากระแสลบเดินครบวงจรมากขึ้นกว่าการใช้ตัวถังรถเป็นส่วนนำไฟฟ้าแบบโรงงาน

:: แล้วมันช่วยอะไรได้บ้าง
จากการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดตั้งร้อยละเก้าสิบให้ความคิดเห็นว่า อัตราเร่งดีขึ้น เครื่องยนต์เดินเรียบขึ้น
มีแนวโน้มประหยัดน้ำมันมากขึ้นแต่ไม่กินมากไปกว่าเดิมแน่ ( ยกเว้นแต่จะกระทืบคันเร่งมากกว่าเดิม )
สตารท์ง่ายขึ้น เสียงดังของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ปั้มติ๊ก พัดลมแอร์ เสียงกวนวิทยุลดลง และอีกมากมายมีแต่จะดีขึ้น
มิน่าล่ะนักแต่งรถอเมริกาและญี่ปุ่นถึงนิยมกันนัก อย่างนี้ต้องรีบหามาติดตั้งบ้าง แต่พอไปเจอราคา
แล้วแทบจะเปลี่ยนใจ เพราะราคามีตั้งแต่ 1,500 จนถึง 8,000 บาท ยิ่งเป็นของสำนักแต่งแรงๆกลับยิ่งแพงมาก
หน้าตาก็เหมือนๆกันเก็บสตางค์ไว้เติมน้ำมันดีกว่า แต่จริงๆแล้วเราสามารถทำเองได้ด้วยงบประมาณ
ไม่กี่ร้อยบาทอย่างนี้ค่อยน่าลงทุนลงแรงทำกันหน่อย

:: รู้จักประโยชน์ และ จุดที่จะติดตั้ง
ก่อนที่เราจะติดตั้งคุณต้องรู้ก่อนว่าจะติดตั้งที่ไหนเพราะอะไรจึงจะมีประโยชน์สูงสุด และ สิ้นงบประมาณ น้อยที่สุด
1. แบตเตอร์รี่ ที่ขั้วลบเป็นหัวใจหลักของงานเป็นตัวที่เราจะดึงกระแสไฟฟ้า ไปใช้ในส่วนต่างๆ ของ เครื่องยนต์ และ
ในรถนต์

2. ขั้วดินของไดชารจ์ ไดชารจ์เป็นตัวสร้างกระแสไฟไปเก็บสะสมไว้ที่แบตเตอร์รี่ ถ้าไฟชารจ์เข้า แบตเตอร์ร ี่ได้ไวขึ้น
ไดชารจ์จะตัดการทำงานเป็นการลดภาระของเครื่องยนต์ มีส่วนให้ประหยัดน้ำมัน ได้มากขึ้น

3. ขั้วกราวน์ของกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์รวมของกระแสลบที่จะต่อเข้าเซนเซอร์ต่างๆ เช่น กล่องควบคุมเครื่องยนต์
, หัวฉีด , คอยล์ , จานจ่าย ,ปั้มน้ำมัน,เซนเซอร์เครื่องยนต์ ฯลฯ ส่วนใหญ่ ่ทุกเครื่องยนต์จะมีสายรวมกราว์นที่ออกมา
จากกล่องคอมพิวเตอร์ เป็นชุดสายไฟยึดลงกราวน์รวมไว้ที่เครื่องโดยอาศัยโลหะตัวเครื่องเป็นตัวส่งกระแสไฟ
แต่ตัวเครื่องยนต์นั้นประกอบด้วยโลหะหลายชนิด รวมกันทำให้เกิดความต้านทาน ดังนั้นการต่อไฟตรงจะทำให้กล่อง
และเซนเซอร์ต่างๆ ควบคุมทำงาน ได้เต็มที่ เครื่องยนต์เดินราบเรียบขึ้น อัตราเร่งดีขึ้น

4. สายกราวน์รวมของตัวถังรถยนต์ สังเกตว่าโรงงานจะอาศัยตัวถังรถยนต์ที่เป็นเหล็กเป็นส่วนนำไฟฟ้า แต่เนื่องจาก
เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จะมีความต้านทานมากสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงควรมองหา สายดินรวมของตัวถังรถยนต์
ส่วนใหญ่แล้วมักต้องไล่ดูจากชุดสายไฟ จะทำให้ระบบไฟต่างๆ ในรถยนต์ ทำงานดีขึ้น เช่นไฟหน้าสว่างขึ้น
พัดลมไฟฟ้าทำงานแรงขึ้น และอีกมาก

5. สายดินของเครื่องยนต์ แถวๆไดสตาร์ทจะทำให้รถสตาร์ทติดได้ง่ายขึ้น

6. อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องเสียง เพาเวอร์แอมป์ ที่เพิ่มเข้าไปจะทำให้ทุกอย่าง ทำงานได้
้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
:: การเตรียมอุปกรณ์
1. สายไฟขนาด 6 mm หรือ 8 mm เลือกได้
ทุกสีตามใจชอบ หาซื้อได้ที่บ้านหม้อ หรือ
ร้านเครื่องเสียงทั่วไป ราคาเมตรละ 40 – 80 บาท

2. แผ่นทองแดง , ทองเหลือง , หรืออลูมิเนียม , เหล็ก
หนาซัก 1.5 – 2 หุน หาได้ตาม ร้านขายของเก่า
หรือร้านฮาดท์แวร์ ขายเป็น กิโลกรัม
ราคาแล้วแต่วัสดุที่เลือกใช้ เพื่อนำกระแสไฟฟ้า
( ดูจากค่านำกระแสไฟ ดีที่สุดคือ ทองคำขาว > ทองคำ >
เงิน > ทองแดง > ทองเหลือง > สแตนเลส > เหล็ก >
อลูมิเนียม ) ถ้าเป็นทองเหลืองของใหม่ ก.ก. ละ
200 – 250 บาท (ใช้ไม่เกิน 2 ขีดต่อตัวหละครับ)
3. หัวหางปลาที่จะเชื่อมกับสายไฟ ใช้หัวแบนกลม ประมาณ 10- 12 ตัว ราคาตัวละ 3 – 5 บาท
4. น็อตสแตนเลสหกเหลี่ยมยึด ใช้เป็นเบอร์ 10 ยาว 1/2 นิ้ว 6 ตัว ราคาตัวละ 5 -10 บาท / ตัว
5. อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตะกั่วบัคกรี ท่อหด เทปพันสายไฟ สายรัด

:: ขั้นตอนการทำ
1. หากระดาษแข็งมาวาดรูปแล้วตัดกระดาษแบบให้ได้รูปตามที่เราต้องการ
2. นำแบบทาบกับวัสดุ เช่นทองเหลือง หรืออลูมิเนียม ที่จะใช้เป็นเพลทยึดสายไฟให้ได้ตามแบบ แล้วตัดแผ่น
ทองเหลือง หรือ วัสดุให้ได้ตามแบบ แล้วทำการตกแต่งชิ้นงาน
3. เจาะรูวัสดุที่แผ่นเพลต ตราฟเกลียว เพื่อใช้ยึดน๊อตหกเหลี่ยม
4. วัดสายไฟในจุดที่ต้องการแต่ละจุด ตัดสายไฟออกเป็นเส้นๆ แล้วสวมหางปลา แล้วบัคกรีตะกั่ว
เพื่อความแน่นหนา
5. นำแผ่นเเพลตยึดกับจุดในตัวรถ หรือแบตเตอร์รี่ แล้วนำสายที่ใส่หางปลา แล้วมายึดติดแล้วต่อ
ไปยังจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการ

:: ข้อเเนะนำ
ควรเช็คให้ดีว่าจุดที่จะยึดเป็นจุดกราวน์แน่นอน ถ้ามีการย้ายเเบตเตอร์รี่ไว้หลังรถ ควรต่อสาย
ไปยังเเบตเตอร์รี่เลยดีที่สุด ควรหาสายรัดและเทปพันสายไฟพันสายไฟเพื่อป้องกันไฟรัดวงจร
และห่างจากจุดหมุนพวกสายพาน สายไม่จำเป็นต้องใช้สายที่มีขนาดใหญ่มาก สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
แต่ควรจะยึดในส่วนที่สำคัญและหลายๆจุดดีกว่า หรือทำไว้หลายๆตัวแล้วเดินสายให้ได้มากจุดที่สุด

วงจรต่อกระจกข้างปรับ + พับไฟฟ้า eg

แนะนำวิธีการล้างห้องเครื่อง อย่างไร ให้สวยงามและถูกวิธี

นักแต่งรถอย่างเราๆ เรื่องดูแลความสะอาดรถสุดที่รัก นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งชีพ ภายนอกต้องสะอาด ภายในต้องหอมกลุ่น จะให้ล้างให้ขัดยังไงขอให้บอก แต่พอคิดถึงเรื่องจะล้างห้องเครื่องทีไร คิดแล้วคิดอีก บางคนบอกว่า เครื่องหัวฉีดห้ามโดนน้ำบ้าง ล้างแล้วจะทำให้เครื่องรวนบ้าง หรือเครื่องพังไปเลย (เรื่องนี้ผมไม่เถียง แต่เป็นการล้างที่ผิดวิธี) ให้ร้านล้างอัดฉีดเขาทำให้ดีกว่า ร้านที่ล้างดีก็ดีไป บางร้านบอกกลัวมีปัญหา แล้วจะล้างเอาไปเปิดโชว์สาวหรือพี่ (ย้อนให้อีก) แต่ที่แย่กว่า บางร้านบอกไม่มีปัญหารับประกันเอี่ยมแน่ ผลเอี่ยมจริงแต่วิ่งไม่ได้ สตาร์ทไม่ติด สะดุดรวนไปทั้งคัน แล้วมาบอกอีกว่าเครื่องพี่ไม่ค่อยดี สงสัยหัวเทียนบอด พอจะรื้อเปลี่ยนหัวเทียน แม่งปลาแทบอยู่ได้ น้ำเต็มๆเบ้าหัวเทียนเลย ก็พวกเอาเครื่องอัดฉีด เป่าน้ำเข้าไปเต็มๆขนาดนั้น ไม่เอี่ยมอย่างไงไหว กว่าจะซ่อมมาให้กลับมาเข้าที่เข้าทางได้ก็เป็นอาทิตย์ ถ้าจะล้างห้องเครื่องยนต์ ให้สะอาดเอี่ยม ปราศจากคราบฝุ่น คราบน้ำมัน สวยงาม เปิดเครื่องโชว์ได้ไม่อายใคร ตรวจเช็คปัญหาพวกเรื่องน้ำมันรั่วซึมได้ง่าย และไม่มีปัญหามีล้างอย่างไร และต้องระวังจุดใดบ้าง

เตรียมอุปกรณ์ การทำความสะอาดล้างห้องเครื่อง
1. น้ำยาล้างเครื่องยนต์ หาซื้อได้ตามเชียงกง หรือร้านอะไหล่ ราคาไม่เกิน 500 บาท/แกลลอน ที่แนะนำลองยี่ห้อ RAZZO

2. น้ำมันผสม เลือกได้ทั้ง 2 แบบ คือน้ำมันเบนซิล 91 ก็พอ หรือจะใช้ 95 ก็ได้(มันแพงเกินไปหน่อย) หรือน้ำมันโซล่าหรือน้ำมันดีเซลนี่หละ แล้วอย่าพึ่งรีบไปผสมแล้วอยากเอี่ยมไปล้างก่อนล่ะ อ่านให้จบก่อนดีกว่า ผสมผิดคิดจนตายได้ อย่างนี้หละที่เขาเรียกว่า เคล็ดลับ

3. แปรงทาสี ขนาดพอเหมาะสัก 1 นิ้ว หรือ 1.5 นิ้ว , ฟองน้ำล้างรถ (ไม่ต้องใช้แพงๆครับ เพราะมันโดนน้ำมันทีเดียวก็อาจเหลวเสียทิ้งได้เลย) หรือสก็อตไบท์ สำหรับท่านที่คิดว่าเครื่องสกปรกมากๆ

4. ถุงพลาสติก เทปพันสายไฟ หรืออะไรก็ได้ที่ใกล้เคียง คงไม่ได้เอามาใส่ขยะแน่ จุดประสงค์ใช้เปิดตามปลั๊กไฟเพื่อกันน้ำ

5. น้ำยาเคลือบเงา พวก Waxy หรือ Carwash หรือไม่มีจริงๆ ก็พวกน้ำยาครอบจักรวาล Sonax , WD40 หรือใช้ควบคู่กันก็ดีครับ

6. เครื่องเป่าลม เครื่องปั้มลมแรงๆ หรือพวกเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถเป่าลมได้ ยิ่งแรงๆยิ่งดี ใช้ในการเป่าน้ำให้แห้ง

7. น้ำ คงไม่ต้องอธิบายกันมาก


ขั้นตอนการทำความสะอาด
1. ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ก่อน การล้างครั้งนี้เราต้องใช้น้ำ และน้ำคือสื่อไฟฟ้า อาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรต่อระบบไฟหัวฉีด กล่องคอมพิวเตอร์พังได้ (พังมาเยอะ) หรือเกิดไฟช็อตลุกติดน้ำมันผสมได้ (กลายเป็นได้ซื้อรถใหม่ทั้งคัน ) และอย่างน้อยก็ป้องกันคนหวังดี แอบไปสตาร์ทเครื่องในขณะคุณที่กำลังล้างเครื่องอยู่

2. หุ้มพลาสติกปลั๊กไฟ และพวกขั้วไฟฟ้าต่างๆ เช่น ปลั๊กจานจ่าย จานจ่าย คอยล์ ตัวช่วยจุดระเบิด ปลั๊กเซนเซอร์ หัวฉีดต่างๆ
ที่พอจะหุ้มได้ กล่องฟิวส์ และปลั๊กไฟที่สำคัญทุกๆ จุด

3. ผสมน้ำมันล้าง กับน้ำยา หาภาชนะมาเทน้ำยาล้างเครื่องลงไปก่อน แล้วใช้น้ำมันเทผสม
การเลือกใช้น้ำมันผสม
น้ำมันดีเซล โซล่า ใช้กรณีที่สกปรกน้อย พวกจุดที่มีฝุ่นผงเกาะ น้ำมันเปื้อนเล็กน้อย คอไอดีที่เป็นอะลูมิเนียม หรือพวกจุดต่างๆที่ต้องการความเงางาม และจุดที่เป็นอลูมิเนียมปัดเงา การผสมน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดความเงางามเพิ่มขึ้น อัตตราส่วนไม่ควรเกิน 2:1 (น้ำยา 2 ส่วน : น้ำมันโซล่า 1 ส่วน) ผสมมากเกินไปจะใสล้างไม่ค่อยออก ผสมน้อยไปก็ล้างไม่ค่อยออกเหมือนกัน
น้ำมันเบนซิล ใช้ในกรณีสกปรกมากๆ จุดที่จะล้างมีคราบน้ำมันเหนียว หรือเป็นคราบแข็งเป็นเวลานานๆ การผสมน้ำมันเบนซิลมีผลในการกัดที่รุนแรงมาก ไม่ควรใช้ทากับพลาสติก จุดที่เป็นสีดำ จุดที่พ่นสีด้วยสีเสปย์ หรือพวกอลูมิเนียมเงา หรือปัดเงา จะทำให้เกิดคราบกัดขาว อัตตาส่วนผสมไม่ควรเกิน 3:1 หรือ 2:1 (น้ำยา 3 ส่วน : น้ำมัน 1 ส่วน) ผสมมากการกัดก็รุนแรงมาก

4. ทาน้ำยาผสมล้างให้ทั่ว ใช้แปรงทาสี จุ่ม และค่อยๆทา ถ้าไม่ออกทาแรงๆ ถ้าไม่ออกก็ฟองน้ำ สก็อตไบท์ บรรเลงลงไปเลยครับ นี่หละเคล็ดลับ แต่การใช้สก็อตไบท์ ต้องระวังหน่อย อย่าขัดพวกสีรถ หรือพวกพลาสติก จะทำให้เกิดรอย ใช้ในจุดที่อยากให้ออกจริงๆ ต้องระวัง

5. ใช้น้ำล้างออก ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ดน้ำยาและคราบออก ตามจุดที่ควรระวังเช่น ฝาครอบสายหัวเทียน สายหัวเทียน ฝาครอบวาล์ว จานจ่าย ตัวช่วยจุดระเบิด กล่องฟิวส์ และจะสำคัญเกี่ยวกับระบบไฟทุกๆจุด และใช้น้ำค่อยๆเทราดไปในส่วนที่ต้องการล้าง ใช้แปรง และฟองน้ำ ควบคู่กันจนออกหมด

6. เป่าลมไล่น้ำให้แห้ง ใช้เครื่องปั้มลม หรือเครื่องดูดฝุ่น(ต่อให้เป็นแบบเป่าลมได้) หรือถ้าไม่มีจริงๆ ก็ไดเป่าผมเนี่ยหละครับ ต้องลงทุนกันบ้างแล้ว เป่าไล่น้ำตามจุดต่างๆ ออกให้หมด เน้นๆพวกปลั๊กไฟ จานจ่าย และหัวเทียน พร้อมแกะพลาสติกหุ้มออกให้หมด และเป่าลมจนน้ำแห้งสนิท

7. ใส่ขั้วแบตสตาร์ทเครื่องได้ เป็นการทดสอบว่ามีน้ำเข้าไปตามปลั๊กไฟหรือไม่ ถ้าเครื่องยังเดินสมบูรณ์ไม่มีปัญหาถือว่าไชโยโอเค ถ้าเกิดสตาร์ทไม่ติด หรือเดินไม่นิ่ง ต้องถอดขั้วแบต และเป่าลมไล่น้ำอีกครั้ง เน้นๆจานจ่าย คอยล์ ปลั๊กหัวเทียน และปลั๊กไฟต่างๆ ถ้าไม่แน่ใจให้ถอดมา แล้วเป่าลมให้แห้ง พ่นน้ำยากันสนิม หรือน้ำยาล้างหน้าคอนแทค ถือเป็นการทำความสะอาดขั้วไฟไปในตัว

8. เคลือบเงา หลังจากสตาร์ทเครื่องอุ่นสักพักจนน้ำแห้งดี รอให้เครื่องเย็นก่อนครับ แล้วใช้น้ำยาเคลือบเงา พวก Waxy มาจุ่มด้วยฟองน้ำ และทาในจุดที่ต้องการให้เงางาม ถือว่าดีที่สุด หรือใช้น้ำมันพวกครอบจักรวาล พ่นเคลือบในจุดที่แห้ง และจะเกิดสนิม ใช้น้ำมันเครื่องกับจารบี ทาหรือหยอดในจุดหมุนต่างๆ เป็นการป้องกันสนิม และหล่อลื่นไปในตัว การใช้น้ำมันเครื่องมาทาให้เงางาม ผลเสียคือฝุ่นจะจับตัวเร็วมาก ถ้าเป็นน้ำมันครอบจักรวาล พวกนี้จะระเหยตัวเร็ว ต้องพ่นเคลือบและเช็ดบ่อยๆ

เสร็จเรียบร้อยแล้วกับการล้างห้องเครื่อง ให้สวยงามและถูกวิธี ขอสำคัญคือทำความสะอาดบ่อยๆ และถือโอกาสตรวจเช็คส่วนต่างของประกอบต่างๆ เช่นท่อน้ำ ท่อน้ำมัน น้ำรั่ว น้ำมันเครื่องซึม สายพาน สายไฟ อื่นๆ ไปด้วยในตัวเลยนะครับ

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทำเองง่ายๆ กับการตั้งรอบเครื่องยนต์ Vtec

ขั้นตอนการตั้งรอบเดิน
1.ติดเครื่องเดินเบา จนถึงอุณหภูมิ ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน 2 ครั้ง

2.ดับเครื่อง

3.ถอดปลั๊กที่ eacv ออก แล้วติดเครื่องเดินเบา

4.รอสักพักให้รอบเดินเบาอยู่ที่รอบปกติ

5.ปรับรอบให้ได้ตามที่ต้องการ (ใช้ไขควงปากแบน ปรับตรงสกูรเหนือลิ้นปีกผีเสื้อ) ผมใช้วิธีหมุนเข้าให้สุด(ตามเข็ม) แล้วคลายออก(ทวนเข็ม) รอบครึ่ง แล้วค่อยปรับละเอียดอีกนิดหน่อย (ของผมตั้งที่รอบ 850-900)

6..เปิดไฟต่ำ ไฟสูง แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ

7.รอจนพัดลมไฟฟ้าทำงาน แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ

8.ดับเครื่อง

9.Reset ECU โดยถอด fuse back up radio 7.5 Amp. ออก 15-20 วินาที (อยู่ในกล่อง

Fuse อยู่ในห้องเครื่อง มุมซ้ายมือบน)

10.ต่อปลั๊กที่ eacv ตามเดิม แล้วใส่ fuse 7.5 Amp.คืน

11.บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง On รอไฟ check engine ดับ (ไม่ต้อง start นะ)

12.เหยียบคันเร่งลงให้สุดแล้วปล่อย

13.เหยียบแป้นเบรคลงให้สุดแล้วปล่อย

14.บิดกุญแจคืนมาตำแหน่ง Off และรอ 20 วินาที

15.ติดเครื่องอีกครั้ง รอสักพักแล้วค่อยเปิดแอร์ดู

16.รอบตอน com แอร์ทำงาน จะไม่ตก หรือตกได้นิดหน่อย ครับ

17.เสร็จ

ข้อมูลต่างๆของการระยะเวลาการเปลี่ยนอะไหล่และของเหลว

เครื่องยนต์ ทุกๆ ระยะทางหรือเวลา
ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบจุดระเบิด
ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบสายหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนสายหัวเทียน 60,000 กิโลเมตร (3 ปี)
ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว
แบตเตอรี่
ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ ทุกสัปดาห์
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ระบบหล่อเย็น
ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทุกสัปดาห์
ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนสายพาน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ล้างหม้อน้ำ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบเชื้อเพลิง
ทำความสะอาดกรองอากาศ 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)

เปลี่ยนกรองอากาศ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เครื่องปรับอากาศ
ทำความสะอาดคอยล์ร้อน 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานแอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว
ระบบถ่ายทอดกำลัง
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี)
เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20,000 กิโลเมตร (2 ปี)
อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ระบบเบรค
ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสภาพเบรค 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ปรับเบรคมือ ตามความจำเป็น
ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์
ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานขับปั้ม 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ยาง
ตรวจสภาพการสึกของยาง 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบความดันลมในยาง 2 สัปดาห์
ตรวจความลึกของดอกยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ทำความสะอาดยาง ตามความจำเป็น
อุปกรณ์ปัดน้ำฝน
ตรวตสอบใบปัดน้ำฝน 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)

แบตเตอรี่ ติด รถ

แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยาก และไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อย

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง) โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด

ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือ ระบบไดชาร์จบกพร่อง

รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมดสภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง

ทำไมแบตเตอรี่หมด

ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับเข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด

หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพก็มีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เรื่อย ๆ ก็แค่ซ่อมแซม ระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (ช้าหน่อย) ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (มักไม่ค่อยเกิดปัญหานี้) หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ท หมุนเครื่งยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่า แบตเตอรี่หมดสภาพ

ถ้าจำเป็นและพอมีกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เหลือเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ เช่นระบบหัวฉีด ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และเป็นระบบเกียร์ธรรมดา ก็สามารถเข็นใส่เกียร์ 2 พอเข็นได้เร็วค่อยถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง เครื่องยนต์ก็จะกระตุกติดทำงานได้ หากไม่มีคนช่วยเข็นรวมถึงรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติต้องใช้รถยนต์อีกคันที่ติด เครื่องยนต์ไว้หรือยกแบตเตอรี่พ่วงเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด ก็เลิกพ่วง แม้แบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟฟ้าไม่อยู่ แต่ถ้าระบบไดชาร์จเป็นปกติ และเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็จะสามารถขับต่อเนื่องไปได้ตลอด โดยควรเร่งรอบเครื่องยนต์ ตอนจอดไว้หน่อย เพื่อให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เครื่องยนต์ดับเพราะเมื่อดับแล้วก็ต้องลุ้นกันอีกครั้งว่า ไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีพอ สำหรับไดสตาร์ท หมุนเครื่องยนต์อีกครั้งหรือไม่

นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีนี้ ด้วยการเข็นกระตุกเครื่องยนต์ หรือการพ่วงแบตเตอรี่แล้ว การแก้ไขถาวรที่ดี คือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม

เมื่อแบตเตอรี่หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วค่อยคิดถึงคำถามนี้ ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดสภาพในขณะที่ยังไม่ได้เพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ การเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูง ถือเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้คำนวณ และเลือกขนาดของแบตเตอรี่ต่ำพอเหมาะอยู่แล้ว

หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่ และแบตเตอรี่ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล คือ

1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว

สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท

หากต้องจอดนิ่งเครื่องยนต์เดินเบาบนการจราจรติดขัดนาน ๆ ไดชาร์จได้น้อย ก็มีพลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น รถยนต์ทุกรุ่นอย่าเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีแอมป์ต่ำลงจาก มาตรฐาน และถ้ามีโอกาสควรเลือกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีแอมป์สูงขึ้นประมาณ 10-30 แอมป์ โดยดูจากตัวเลขที่ระบุบนตัวแบตเตอรี่

การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี

แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท

เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ

ชนิด

มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง

แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี

แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี

ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่

อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง

ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์

ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง


แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคัน

การเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้การเสียหายเกิดขึ้น ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง คือ

1. ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง (OFF)
2. ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3. และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ

จำหลักง่ายๆ "ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)" เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์แสนรักของคุณ *******



บางครั้งแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา หรือรถยนต์คันอื่นๆ เกิดการไฟหมดอาจจะต้องมีการต่อพ่วงกัน เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีไว้บ้าง

เริ่มจากจอดรถใกล้กันแต่อย่าให้สัมผัสกัน ใช้สายพ่วงที่ใหญ่แต่ไม่ยาวเกินไป จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด
2. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
3. ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
4. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด
5. เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น



การดูแลแบตเตอรี่ ให้ถูกวิธีจะช่วยให้เราใช้งานแบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่สุด ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทความเกี่ยวกับแอร์รถยนต์

รายละเอียดทั่วไป

ถ้าแอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่เต็มที่ ก่อนอื่นให้ทำการตรวจเช็คปริมาณสารทำความเย็นในระบบ ถ้าสารทำความเย็นน้อยเกินไป ให้ตรวจเช็คการรั่วและทำการซ่อมแซมก่อนเติมสารทำความเย็นใหม่
ในส่วนนี้จะอธิบายถึงวิธีการถอด ประกอบและการเติมสารทำความเย็นเข้าไปในระบบ

1. ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นและการรั่วของก๊าซ

2. การฟื้นฟูสารทำความเย็น
ฟื้นฟูสารทำความเย็นไว้เพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ข้อแนะนำ:
การฟื้นฟูสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีเครื่องสำหรับฟื้นฟูสารทำความเย็นโดยเฉพาะ

3. การถอดและประกอบคอมเพรสเซอร์ของชุดเครื่องปรับอากาศ
ทำการถอดสายพานขับ ถอดและติดตั้งคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ

4. การเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ
เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบเครื่องปรับอากาศ

ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น


การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี

1. เงื่อนไขในการตรวจเช็ค
ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้
• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที
• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)
• เปิดประตูรถทั้งหมด

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

1.คือกระจกมองน้ำยา

2.ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา

A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อย
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี

B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป

C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศ
นั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป

ข้อแนะนำ:
• โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดี
แต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป
• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด
• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

3. ตรวจสอบโดยใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ
ใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ เพื่อตรวจสอบปริมาณของน้ำยาและแรงดัน
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ

ข้อแนะนำ:
ไม่ควรต่อขั้วต่อตรงกลางของแมนนิโฟลด์เกจ

ติดตั้งชุดแมนนิโฟลด์เกจ

1. ปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
2. เปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
3. ปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
4. เปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi

1. คุณลักษณะของชุดแมนิโฟลด์เกจ
(1) เกจมี 2 ตัว คือ เกจวัดแรงดันต่ำและเกจวัดแรงดันสูง
(2) สับช่องทางเติมสารทำความเย็นโดยเปิดและปิดวาล์ว

ข้อแนะนำ:
แมนิโฟลด์เกจที่ออกแบบมาสำหรับ HFC-134a (R134a) ไม่สามารถที่จะนำไปใช้กับระบบที่เป็น CFC-12 (R12) ได้

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

(2) ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์และตรวจสอบแรงดันจากเข็มชี้ของชุดแมนนิโฟลด์เกจ ขณะระบบปรับอากาศทำงานอยู่
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)

ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก

ข้อมูลอ้างอิง:

สาเหตุของอาการผิดปกติของความดันเกินค่ากำหนด

ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ
• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ

2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว

3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง
• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป
• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ

4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และแรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ
• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
เครื่องมือทดสอบรั่ว

4. ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็น
(1) ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยใช้เครื่องมือทดสอบการรั่ว

ลักษณะการทำงาน
• ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยสังเกตจากหลอดไฟจะกะพริบ และมีเสียงดัง
• เมื่อขยับเครื่องตรวจสอบเข้าใกล้จุดตำแหน่งที่รั่วโดยมีระยะห่างพอประมาณ หลอดไฟจะกะพริบและมีเสียงดังถี่ขึ้น
• การพัฒนาความไวของเครื่องทดสอบ ทำให้ความสามารถตรวจสอบรอยรั่วเพียงเล็กน้อยได้

(2) จุดต่างๆ ที่จะต้องทำการเช็คการรั่วมีดังนี้

1.ตัวต้านทานโบล์วเวอร์
2.A/C คอมเพรสเซอร์
3.คอนเดนเซอร์
4.อีวาปอเรเตอร์
5.รีซีฟเวอร์ หรือ โมดูเลเตอร์
6.ท่อระบาย
7.ตำแหน่งการต่อท่อ
8.EPR (พร้อมตัวควบคุมแรงดันในอีวาปอเรเตอร์)
9.เครื่องมือทดสอบรั่ว

การเติมสารทำความเย็น

เริ่มจากการทำสุญญากาศ

การทำสุญญากาศก็เพื่อเป็นการไล่ความชื้นออกจากระบบแอร์ และยังเป็นการตรวจเช็คการรั่วของระบบตามข้อต่อต่างๆ ที่ขัน



1.แมนิโฟลด์เกจ
2.ปั๊มสุญญากาศ


1. การทำสุญญากาศ
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ

ข้อแนะนำ:
ต่อท่อสีเขียวตรงขั้วกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ และต่อปลายท่ออีกด้านเข้ากับปั๊มสุญญากาศ

(2) เปิดวาล์วทางด้านความดันสูงและความดันต่ำของชุดแมนิโฟลด์เกจ และทำการเปิดเครื่องทำสุญญากาศ


1. ไล่ฟองอากาศออก.
2. ปั๊มสุญญากาศ
3. เปิด

(3) ทำสุญญากาศกระทั่งแมนิโฟลด์เกจทางความดันต่ำจะแสดงค่า 750 mmHgหรือมากกว่า

(4) ขณะที่แรงดันทางด้านความดันต่ำเป็น 750 mmHgหรือมากกว่า จงทำสุญญากาศต่อไปอีก 10 นาที

(5) หมุนปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงของชุดแมนิโฟลด์เกจให้สนิทแล้วจึงปิดปั๊มสุญญากาศ


1.ปิด


ข้อควรระวัง:
ถ้าปิดปั๊มสุญญากาศวาล์วขณะวาล์วทั้งสองด้านไม่เปิด (ด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ) จะมีอากาศเข้ามาในระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบการรั่วของอากาศ
ปิดวาล์วทั้งด้านความดันต่ำและความดันสูง แล้วปิดเครื่องทำสุญญากาศทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีหรือมากกว่า แล้วให้ตรวจเช็คความเปลี่ยนแปลงของเกจวัด

ข้อแนะนำ:
เมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเข็มเกจวัดมีแรงดันสูงขึ้น แสดงว่ามีอากาศเข้ามาในระบบ ดังนั้นต้องทำการตรวจเช็คโอริงและข้อต่อต่างๆ ของระบบปรับอากาศ

ข้อควรระวัง:
ในการทำสุญญากาศหรือไล่อากาศไม่หมด จะเกิดความชื้นภายในท่อของระบบปรับอากาศ และเกิดการจับตัวแข็งภายในท่อ และทำให้สารทำความเย็นเกิดการไหลไม่สะดวก เป็นผลทำให้ภายในของระบบปรับอากาศเกิดความเสียหาย

เริ่มเติมสารทำความเย็น

1.ถังน้ำยาแอร์หรือถังสารทำความเย็น
เนื่องจากสารทำความเย็นจะบรรจุไว้โดยการอัดด้วยแรงดันสูง ดังนั้นการเติมจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ข้อควรระวังในการเติมสารทำความเย็น


คำเตือน:
• อย่าให้สารทำความเย็นกระเด็นเข้าหน้า และเข้าตาหรือโดนผิวหนังในขณะที่ถอดหรือประกอบสารทำความเย็นจึงควรสวมแว่นตาป้องกันเสมอ
• อย่าชี้ด้านท้ายของภาชนะสารทำความเย็นไปทางผู้คน เพราะมันมีโครงสร้างที่สามารถปล่อยแก๊สออกมาในกรณีฉุกเฉินได้
• ห้ามนำกระป๋องสารทำความเย็นไปเผา หรือต้มในน้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้มันระเบิด

เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันสูง
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เปิดวาล์วด้านแรงดันสูงและเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบกระทั่งเกจทางด้านแรงดันต่ำแสดงค่า 0.98 MPa
(1 kg/cm2, 14psi)
(2) หลังจากเติมสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง

ข้อควรระวัง:
• ห้ามคอมเพรสเซอร์ทำงานขณะเติมสารทำความเย็น ขณะคอมเพรสเซอร์ทำงานเมื่อไม่มีการเติมสารทำความเย็นเข้าทางด้านแรงดันต่ำ มีผลทำให้ภายในของคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศร้อน
• ห้ามเปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นซึ่งอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นก๊าซ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาล์วทางด้านแรงดันต่ำเปิดขณะมีการเติมสารทำความเย็นในท่อด้านแรงดันสูง ทำให้สารทำความเย็นจะมีสภาพเป็นของเหลว และคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเริ่มทำงาน




เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันต่ำ
(1) ให้ทำการปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง และทำการติดเครื่องยนต์พร้อมกับเปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำของแมนิโฟลด์เกจเพื่อเติมสารทำความเย็น

สภาวะขณะเติมสารทำความเย็น
• เครื่องยนต์ทำงานที่ 1500 รอบต่อนาที
• เปิดสวิตช์พัดลมในตำแหน่งสูงสุด "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• ปรับอุณหภูมิในตำแหน่งเย็นสุด "MAX COOL"
• เปิดประตูรถออกทุกบาน
ข้อแนะนำ:
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติม
530 ± 30g (18.69 ± 1.06 ออนซ์.)
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติมในแต่ละรุ่นอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ดังนั้นให้อ้างอิงจากคู่มือซ่อม



1. ปิด
2.ถังเก็บสารทำความเย็น
3.สวิตช์ A/C
4.ปุ่มควบคุมความแรงพัดลม
5.ตัวปรับอุณหภูมิ

ข้อควรระวัง:
• ถ้าคว่ำถังบรรจุสารทำความเย็นจะเป็นการเติมในสถานะที่เป็นของเหลวเข้าไปในคอมเพรสเซอร์สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ ดังนั้นจึงควรเติมสารทำความเย็นในสถานะเป็นแก๊สเท่านั้น
• ระมัดระวังอย่าเติมสารทำความเย็นมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุให้การทำความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันและเครื่องยนต์ร้อนจัด
• เมื่อทำการเปลี่ยนสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทั้งทางด้านความดันต่ำและความดันสูง และถอดเอาวาล์วหัวถังออกจากถังบรรจุสารทำความเย็น และท่อตรงกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ (ท่อสีเขียว)

คำเตือน:
ห้ามไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานในขณะที่เปิดวาล์วด้านแรงดันสูง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ถังบรรจุสารทำความเย็นเกิดการระเบิดอาจเป็นอันตรายได้


ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นจากค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ

ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)

ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก


(4) ปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและดับเครื่องยนต์

(5) ถอดสายทำความเย็นออกจากรถยนต์และจากถังบรรจุสารทำความเย็น

ข้อแนะนำ:
• ค่าแรงดันที่เกจแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก
• ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูง การเติมสารทำความเย็นก็จะทำได้ยาก จะต้องเอาน้ำราดที่คอนเดนเซอร์เพื่อที่จะลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
• ให้ทำการแช่กระป๋องสารทำความเย็นในน้ำอุ่น (ต่ำกว่า 40°C) เมื่ออุณหภูมิภายนอกต่ำ เพื่อทำให้สามารถเติมสารทำความเย็นได้ง่าย