วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ทำเองง่ายๆ กับการตั้งรอบเครื่องยนต์ Vtec

ขั้นตอนการตั้งรอบเดิน
1.ติดเครื่องเดินเบา จนถึงอุณหภูมิ ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน 2 ครั้ง

2.ดับเครื่อง

3.ถอดปลั๊กที่ eacv ออก แล้วติดเครื่องเดินเบา

4.รอสักพักให้รอบเดินเบาอยู่ที่รอบปกติ

5.ปรับรอบให้ได้ตามที่ต้องการ (ใช้ไขควงปากแบน ปรับตรงสกูรเหนือลิ้นปีกผีเสื้อ) ผมใช้วิธีหมุนเข้าให้สุด(ตามเข็ม) แล้วคลายออก(ทวนเข็ม) รอบครึ่ง แล้วค่อยปรับละเอียดอีกนิดหน่อย (ของผมตั้งที่รอบ 850-900)

6..เปิดไฟต่ำ ไฟสูง แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ

7.รอจนพัดลมไฟฟ้าทำงาน แล้วดูรอบอีกครั้ง ปรับตั้งให้รอบอยู่ที่เราต้องการ

8.ดับเครื่อง

9.Reset ECU โดยถอด fuse back up radio 7.5 Amp. ออก 15-20 วินาที (อยู่ในกล่อง

Fuse อยู่ในห้องเครื่อง มุมซ้ายมือบน)

10.ต่อปลั๊กที่ eacv ตามเดิม แล้วใส่ fuse 7.5 Amp.คืน

11.บิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง On รอไฟ check engine ดับ (ไม่ต้อง start นะ)

12.เหยียบคันเร่งลงให้สุดแล้วปล่อย

13.เหยียบแป้นเบรคลงให้สุดแล้วปล่อย

14.บิดกุญแจคืนมาตำแหน่ง Off และรอ 20 วินาที

15.ติดเครื่องอีกครั้ง รอสักพักแล้วค่อยเปิดแอร์ดู

16.รอบตอน com แอร์ทำงาน จะไม่ตก หรือตกได้นิดหน่อย ครับ

17.เสร็จ

ข้อมูลต่างๆของการระยะเวลาการเปลี่ยนอะไหล่และของเหลว

เครื่องยนต์ ทุกๆ ระยะทางหรือเวลา
ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เข้าปั๊มเติมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือสับดาห์ละครั้ง
เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น 3,000 - 5,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันหล่อลื่น ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
ตรวจสอบระยะช่องว่างของวาล์ว ถ้าไม่เหมาะสม ก็ตั้งวาล์วใหม่ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบจุดระเบิด
ตั้งระยะหน้าทองขาว และเขี้ยวหัวเทียน 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนชุดทองขาว และคอนเดนเซอร์ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบสายหัวเทียน 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนสายหัวเทียน 60,000 กิโลเมตร (3 ปี)
ตรวจสอบฝาครอบจานจ่าย และหัวนักกระจอก (หัวโรเตอร์) 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ปรับไทม์มิ่งจุดระเบิด ทุกครั้งที่ตั้งระยะหน้าทองขาว
แบตเตอรี่
ตรวจสอบระดับของเหลวในแบตเตอรี่ ทุกสัปดาห์
ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ระบบหล่อเย็น
ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ทุกสัปดาห์
ตรวจสอบสภาพท่อน้ำหล่อเย็น 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบฝาหม้อน้ำ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสายพาน และปรับความตึง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนสายพาน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปลี่ยนน้ำหล่อเย็น 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ล้างหม้อน้ำ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ระบบเชื้อเพลิง
ทำความสะอาดกรองอากาศ 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)

เปลี่ยนกรองอากาศ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เปลี่ยนกรองน้ำมันเชื้อเพลิง 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ล้าง และทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบวาล์ว พีซีวี 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
เครื่องปรับอากาศ
ทำความสะอาดคอยล์ร้อน 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบรอยรั่วที่ข้อต่อ 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบปริมาณน้ำยาทำความเย็น 5,000 กิโลมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบ และปรับสายพานแอร์ 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานแอร์ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
เปิดเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน 3-4 นาที สัปดาห์ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นฤดูหนาว
ระบบถ่ายทอดกำลัง
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ 30,000 กิโลเมตร (1 1/2 ปี)
เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20,000 กิโลเมตร (2 ปี)
อัดจาระบี ลูกปืน เพลากลาง 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนจาระบีลูกปืนล้อ 20,000 กิโลเมตร (1 ปี)
ตรวจสอบ ระยะฟรีของแป้นคลัตช์ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบน้ำมันคลัตช์ (ถ้าเป็นระบบไฮดรอลิก) 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบระดับ น้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
เปลี่ยนน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ระบบเบรค
ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรค 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
ตรวจสอบสภาพเบรค 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ปรับเบรคมือ ตามความจำเป็น
ระบบบังคับเลี้ยวเพาเวอร์
ตรวจสอบระดับน้ำมันในปั้ม 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
ตรวจสอบความตึงของสายพานขับปั้ม 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
เปลี่ยนสายพานขับปั้ม 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ยาง
ตรวจสภาพการสึกของยาง 1,500 กิโลเมตร (1 เดือน)
สับเปลี่ยนตำแหน่งของยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ตรวจสอบความดันลมในยาง 2 สัปดาห์
ตรวจความลึกของดอกยาง 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)
ทำความสะอาดยาง ตามความจำเป็น
อุปกรณ์ปัดน้ำฝน
ตรวตสอบใบปัดน้ำฝน 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน 40,000 กิโลเมตร (2 ปี)
ตรวจสอบการทำงานของหัวฉีด 5,000 กิโลเมตร (3 เดือน)
หล่อลื่นข้อต่อต่างๆ 10,000 กิโลเมตร (6 เดือน)

แบตเตอรี่ ติด รถ

แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ใช่แหล่งผลิตไฟฟ้า แต่เป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เลือกไม่ยุ่ง ดูแลไม่ยาก และไม่แพง แต่มีรายละเอียดไม่น้อย

แบตเตอรี่รถยนต์ไม่เหมือนถ่านไฟฉาย ไม่เหมือนถ่านแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ (ที่มีแต่การใช้ไฟฟ้าออกไปอย่างเดียว เมื่อหมดแล้วก็ต้องเปลี่ยนทิ้ง) โดยเป็นเพียงไฟฟ้าสำรอง เมื่อเครื่องยนต์ติดและถูกใช้งาน ก็จะมีการประจุไฟฟ้าเพิ่ม และถูกใช้งานออกไปหมุนเวียนกัน เติมประจุไฟฟ้าเข้า-ออกจากแบตเตอรี่อยู่เสมอ มิได้ใช้ออกตลอดเวลาจนกว่าไฟจะหมด

ในกรณีที่แบตเตอรี่หมดต้องนับว่าเป็นความผิดปกติ ไม่ใช่หมดแบบถ่านไฟฉายทั่วไป มี 2 กรณี คือ หมดเพราะเก็บไฟไม่อยู่-แบตเตอรี่หมดอายุ (หลังใช้แบตเตอรี่ไป 1.5-3 ปี) หรือ ระบบไดชาร์จบกพร่อง

รถยนต์ที่ใช้งานแบตเตอรี่ยังไม่หมดสภาพและระบบไดชาร์จปกติ แบตเตอรี่ไม่มีการหมดโดยมีการประจุและใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนกันตลอด แบตเตอรี่มีการใช้ไฟออกอย่างเดียวเฉพาะช่วง สตาร์ทเครื่องยนต์ ที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ไดสตาร์ทและระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้ว ไดชาร์จ (หรือยุคใหม่เป็นอัลเตอร์เนเตอร์ แต่ก็ยังเรียกรวมว่าไดชาร์จ) ก็จะทำหน้าที่ประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง โดยมีคัตเอาต์ (ทั้งแบบแยกหรือแบบรวมกับตัวไดชาร์จ) ทำหน้าที่ควบคุมการตัดการประจุ เมื่อไฟฟ้าเต็มแบตเตอรี่และประจุต่อเมื่อไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เต็มหรือพร่องลง

ทำไมแบตเตอรี่หมด

ถ้าไดชาร์จปกติแบตเตอรี่ไม่เสื่อม แล้วไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจนกินกระแส ไฟฟ้ามากเกินไปแบตเตอรี่จะไม่มีการหมด นอกจากในเครื่องยนต์รอบเดินเบา ไดชาร์จ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าการใช้อยู่มาก และจอดนิ่งนานหลายชั่วโมง แบตเตอรี่อาจหมดได้ ซึ่งไม่ค่อยพบปัญหานี้ในการใช้งานบนสภาพจราจรปกติ เพราะในการใช้รถยนต์ เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากสารพัดอุปกรณ์ เช่น เครื่องยนต์แอร์ เครื่องเสียง ไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ ก็จะมีไดชาร์จคอยส่งไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้เพิ่มกลับเข้าไปสู่แบตเตอรี่อยู่ตลอด

หากแบตเตอรี่หมด เพราะไดชาร์จผิดปกติ คือผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ แต่แบตเตอรี่ ยังไม่หมดสภาพก็มีการดึงไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ไปใช้เรื่อย ๆ ก็แค่ซ่อมแซม ระบบไดชาร์จให้เป็นปกติ ใช้เครื่องประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม หรือทำให้เครื่องยนต์ติด แล้วให้ไดชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ (ช้าหน่อย) ก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (มักไม่ค่อยเกิดปัญหานี้) หลังจอดรถยนต์ไว้ ถ้าแบตเตอรี่หมดหรือกระแสไฟฟ้าอ่อนลงมากจนไดสตาร์ท หมุนเครื่งยนต์ไม่ไหว ขณะที่ระบบไดชาร์จและเครื่องยนต์ปกติ แสดงว่า แบตเตอรี่หมดสภาพ

ถ้าจำเป็นและพอมีกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่เหลือเพียงพอสำหรับเครื่องยนต์ เช่นระบบหัวฉีด ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และเป็นระบบเกียร์ธรรมดา ก็สามารถเข็นใส่เกียร์ 2 พอเข็นได้เร็วค่อยถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง เครื่องยนต์ก็จะกระตุกติดทำงานได้ หากไม่มีคนช่วยเข็นรวมถึงรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติต้องใช้รถยนต์อีกคันที่ติด เครื่องยนต์ไว้หรือยกแบตเตอรี่พ่วงเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวังเมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติด ก็เลิกพ่วง แม้แบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟฟ้าไม่อยู่ แต่ถ้าระบบไดชาร์จเป็นปกติ และเครื่องยนต์ทำงานแล้วก็จะสามารถขับต่อเนื่องไปได้ตลอด โดยควรเร่งรอบเครื่องยนต์ ตอนจอดไว้หน่อย เพื่อให้ไดชาร์จผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้เครื่องยนต์ดับเพราะเมื่อดับแล้วก็ต้องลุ้นกันอีกครั้งว่า ไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีพอ สำหรับไดสตาร์ท หมุนเครื่องยนต์อีกครั้งหรือไม่

นอกจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีนี้ ด้วยการเข็นกระตุกเครื่องยนต์ หรือการพ่วงแบตเตอรี่แล้ว การแก้ไขถาวรที่ดี คือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม

เมื่อแบตเตอรี่หมดสภาพหรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแล้วค่อยคิดถึงคำถามนี้ ถ้าแบตเตอรี่ไม่หมดสภาพในขณะที่ยังไม่ได้เพิ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ การเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูง ถือเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ได้คำนวณ และเลือกขนาดของแบตเตอรี่ต่ำพอเหมาะอยู่แล้ว

หากแบตเตอรี่หมดสภาพแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ แล้วมีช่องพอสำหรับแบตเตอรี่ใหญ่ และแบตเตอรี่ลูกเดิมมีแอมป์ไม่สูงนักก็ควรเปลี่ยนลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น (เสมือนมีถังน้ำสำรองใหญ่ขึ้น) เพราะ 4 เหตุผล คือ

1. ราคาแพงขึ้นไม่กี่ร้อยบาท
2. มีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น
3. มีกำลังไฟฟ้าแรงขึ้น
4. ไม่ได้ทำให้ไดชาร์จทำงานหนักขึ้นหรือพังเร็ว

สรุปคือ มีแต่บวกไม่มีลบเลย นอกจากเสียเงินเพิ่มไม่กี่ร้อยบาท

หากต้องจอดนิ่งเครื่องยนต์เดินเบาบนการจราจรติดขัดนาน ๆ ไดชาร์จได้น้อย ก็มีพลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น รถยนต์ทุกรุ่นอย่าเลือกเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีแอมป์ต่ำลงจาก มาตรฐาน และถ้ามีโอกาสควรเลือกแบตเตอรี่ลูกใหม่ที่มีแอมป์สูงขึ้นประมาณ 10-30 แอมป์ โดยดูจากตัวเลขที่ระบุบนตัวแบตเตอรี่

การประจุไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ในครั้งแรกสุดหรือครั้งใด ๆ ไม่ใช่เป็นการประจุจากไดชาร์จ ควรใช้วิธีชาร์จช้า ประมาณ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้แบตเตอรี่ไม่เสื่อมสภาพง่าย แต่ทางร้านมักใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบบริการลูกค้า และจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้น มีอายุไม่มาก ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย

อายุการใช้งานแบตเตอรี่ 1.5-3 ปี

แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานประมาณ 1.5-3 ปี เท่านั้น โดยดูได้จากตัวเลขที่ตอกลง บนตัวแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าจะมีการตอกเอง โดยปกติ เมื่อเกิน 1.5-2 ปี ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วสำหรับแบตเตอรี่ทั่วไปที่ผลิตในประเทศและจำหน่ายในราคาลูกละ 1,000 กว่าบาท

เมื่อเกินอายุ 2-2.5 ปี ถ้ากังวลให้ถือโอกาสเปลี่ยนก่อนก็ไม่สิ้นเปลืองมากนัก แบตเตอรี่-แอมป์สูง มักมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงควรคำนึงถึงขนาดของฐานที่จะวางลงไป เมื่อแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงขึ้น ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากถึงกับดัดแปลงฐานที่จะวาง หากไม่ต้องการแบตเตอรี่ลูกใหญ่-แอมป์สูงมากจริง ๆ เลือกขนาดเท่าที่พอจะวางได้ก็พอ

ชนิด

มี 2 ชนิดหลัก คือ แบตเตอรี่แบบเปียก และแบบแห้ง

แบบเปียก (ใช้กันส่วนใหญ่) แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ ต้องเติมและดูแลน้ำกลั่นบ่อย (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และแบบดูแลไม่บ่อย (MAINTAINANCE FREE) กินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบจะมีฝาปิดเปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งาน ประมาณ 1.5-3 ปี

แบบแห้ง ทนทาน ราคาแพง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีอายุการใช้งานมากกว่าแบบเปียก ประมาณ 3-6 เท่าหรือประมาณ 5-10 ปี

ขี้เกลือขั้วแบตเตอรี่

อาจมีการขึ้นขี้เกลือ ซึ่งช้ามาก และทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าด้อยลง การทำความสะอาดที่ดี ต้องถอดขั้วออกและทำความสะอาดทั้งขั้วบนแบตเตอรี่และขั้วบนสายไฟฟ้า พร้อมเคลือบด้วยจาระบีหรือน้ำมันเครื่อง ถ้าไม่มีความรู้เชิงกลไก ใช้น้ำอุ่นราดผ่านก็เพียงพอในระดับหนึ่ง

ตรวจน้ำกลั่นทุกสัปดาห์

ควรตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ทุกสัปดาห์ ควรเติมให้ได้ระดับ โดยถ้าแบตเตอรี่ มีผิวด้านข้างใส ก็ส่องดูได้ แต่ถ้าผิวทึบหรือเล็งด้านข้างไม่สะดวก เติมน้ำกลั่นให้ท่วม แถบแผ่นธาตุไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร อย่าใช้น้ำกรองหรือใช้น้ำที่ไม่ใช่น้ำกลั่นเติม แบตเตอรี่เพราะจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง


แบตเตอรี่รถยนต์ ไม่แพง เสียยาก ดูแลง่าย แต่อย่ามองข้าม เพราะเป็นพลังไฟฟ้าสำรอง ในรถยนต์ทุกคัน

การเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้การเสียหายเกิดขึ้น ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง คือ

1. ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง (OFF)
2. ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3. และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ

จำหลักง่ายๆ "ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)" เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์แสนรักของคุณ *******



บางครั้งแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา หรือรถยนต์คันอื่นๆ เกิดการไฟหมดอาจจะต้องมีการต่อพ่วงกัน เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีไว้บ้าง

เริ่มจากจอดรถใกล้กันแต่อย่าให้สัมผัสกัน ใช้สายพ่วงที่ใหญ่แต่ไม่ยาวเกินไป จากนั้นปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. ต่อขั้วบวก (+) ของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด
2. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 1 เข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
3. ต่อขั้วลบ (-) ของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่ลูกที่ดี
4. ต่อขั้วอีกข้างหนึ่งของสายพ่วงเส้นที่ 2 เข้ากับโครงรถคันที่แบตเตอรี่ไฟหมด
5. เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น



การดูแลแบตเตอรี่ ให้ถูกวิธีจะช่วยให้เราใช้งานแบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่สุด ด้วยวิธีการง่ายๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทความเกี่ยวกับแอร์รถยนต์

รายละเอียดทั่วไป

ถ้าแอร์ไม่เย็นหรือเย็นไม่เต็มที่ ก่อนอื่นให้ทำการตรวจเช็คปริมาณสารทำความเย็นในระบบ ถ้าสารทำความเย็นน้อยเกินไป ให้ตรวจเช็คการรั่วและทำการซ่อมแซมก่อนเติมสารทำความเย็นใหม่
ในส่วนนี้จะอธิบายถึงวิธีการถอด ประกอบและการเติมสารทำความเย็นเข้าไปในระบบ

1. ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นและการรั่วของก๊าซ

2. การฟื้นฟูสารทำความเย็น
ฟื้นฟูสารทำความเย็นไว้เพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง

ข้อแนะนำ:
การฟื้นฟูสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศจะมีเครื่องสำหรับฟื้นฟูสารทำความเย็นโดยเฉพาะ

3. การถอดและประกอบคอมเพรสเซอร์ของชุดเครื่องปรับอากาศ
ทำการถอดสายพานขับ ถอดและติดตั้งคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ

4. การเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ
เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบเครื่องปรับอากาศ

ตรวจสอบปริมาณสารทำความเย็น
ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น


การตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็น มีด้วยกัน 2 วิธี

1. เงื่อนไขในการตรวจเช็ค
ตรวจสอบแรงดันของสารทำความเย็นภายใต้เงื่อนไขดังข้างล่างต่อไปนี้
• ติดเครื่องยนต์เร่งความเร็วรอบ 1,500 รอบ/นาที
• เปิดสวิตช์พัดลมไปที่ความเร็ว "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• เลือกปรับตัวควบคุมอุณหภูมิไปที่ "MAX COOL" (เย็นสุด)
• เปิดประตูรถทั้งหมด

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

1.คือกระจกมองน้ำยา

2.ตรวจดูสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา
ตรวจเช็คสารทำความเย็นโดยสังเกตการไหลของสารทำความเย็นที่กระจกมองน้ำยา

A.สารทำความเย็นเหมาะสม มีฟองอากาศเล็กน้อย
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบพอดี

B.สารทำความเย็นไม่เพียงพอ มีฟองอากาศอย่างต่อเนื่อง
นั่นหมายความว่าปริมาณสารทำความเย็นในระบบมีน้อยเกินไป

C.ไม่มีสารทำความเย็น หรือมีมากเกินไป ไม่มีฟองอากาศ
นั่นหมายความว่าไม่มีสารทำความเย็นในระบบหรือเติมสารทำความเย็นมากเกินไป

ข้อแนะนำ:
• โดยทั่วไป จำนวนของฟองอากาศที่มากจะยังมองว่ามีสารทำความเย็นไม่เพียงพอ แต่ถ้าสังเกตุไม่พบฟองมากไป แสดงว่ามีสารทำความเย็นพอดี
แต่ถ้ามองจากกระจกมองน้ำยาแล้วไม่มีฟอง แสดงว่าปริมาณของสารทำความเย็นไม่มีหรือมีสารทำความเย็นมากเกินไป
• สำหรับคอนเดนเซอร์ ชนิด sub-cooling ต้องเติมสารทำความเย็นสักเล็กน้อยหลังจากถึงจุดที่ฟองหายไป ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ตัดสินไปว่าเป็นปกติได้ ทั้งๆที่ปริมาณสารทำความเย็นน้อยกว่าค่ากำหนด
• ฟองอากาศอาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะมีปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งนี่เป็นผลจากการหมุนและสภาพความดันของสารทำความเย็น

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

3. ตรวจสอบโดยใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ
ใช้ชุดแมนิโฟลด์เกจ เพื่อตรวจสอบปริมาณของน้ำยาและแรงดัน
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ

ข้อแนะนำ:
ไม่ควรต่อขั้วต่อตรงกลางของแมนนิโฟลด์เกจ

ติดตั้งชุดแมนนิโฟลด์เกจ

1. ปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
2. เปิดวาล์วด้าน Lo / ปิดวาล์วด้าน Hi
3. ปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi
4. เปิดวาล์วด้าน Lo / เปิดวาล์วด้าน Hi

1. คุณลักษณะของชุดแมนิโฟลด์เกจ
(1) เกจมี 2 ตัว คือ เกจวัดแรงดันต่ำและเกจวัดแรงดันสูง
(2) สับช่องทางเติมสารทำความเย็นโดยเปิดและปิดวาล์ว

ข้อแนะนำ:
แมนิโฟลด์เกจที่ออกแบบมาสำหรับ HFC-134a (R134a) ไม่สามารถที่จะนำไปใช้กับระบบที่เป็น CFC-12 (R12) ได้

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น

(2) ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์และตรวจสอบแรงดันจากเข็มชี้ของชุดแมนนิโฟลด์เกจ ขณะระบบปรับอากาศทำงานอยู่
ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)

ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก

ข้อมูลอ้างอิง:

สาเหตุของอาการผิดปกติของความดันเกินค่ากำหนด

ตรวจสอบระบบทำความเย็นโดยใช้ชุดแมนนิโฟลด์เกจ
1. แรงดันทางด้าน LO ต่ำ
• มีความชื้นเข้าไปในระบบปรับอากาศ

2. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านอ่านค่าได้ต่ำ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบไม่เพียงพอ
• ปริมาณสารทำความเย็นในระบบรั่ว

3. แรงดันที่เกจวัดทั้งสองด้านจะอ่านค่าได้สูง
• มีปริมาณของสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป
• การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ไม่เพียงพอ

4. แรงดันที่เกจวัดด้านความดันต่ำจะอ่านค่าได้สูง และแรงดันที่เกจวัดด้านความดันสูงจะอ่านค่าได้ต่ำ
• เกิดการรั่วในคอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบปริมาณการเติมของสารทำความเย็น
เครื่องมือทดสอบรั่ว

4. ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็น
(1) ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยใช้เครื่องมือทดสอบการรั่ว

ลักษณะการทำงาน
• ตรวจสอบการรั่วของสารทำความเย็นโดยสังเกตจากหลอดไฟจะกะพริบ และมีเสียงดัง
• เมื่อขยับเครื่องตรวจสอบเข้าใกล้จุดตำแหน่งที่รั่วโดยมีระยะห่างพอประมาณ หลอดไฟจะกะพริบและมีเสียงดังถี่ขึ้น
• การพัฒนาความไวของเครื่องทดสอบ ทำให้ความสามารถตรวจสอบรอยรั่วเพียงเล็กน้อยได้

(2) จุดต่างๆ ที่จะต้องทำการเช็คการรั่วมีดังนี้

1.ตัวต้านทานโบล์วเวอร์
2.A/C คอมเพรสเซอร์
3.คอนเดนเซอร์
4.อีวาปอเรเตอร์
5.รีซีฟเวอร์ หรือ โมดูเลเตอร์
6.ท่อระบาย
7.ตำแหน่งการต่อท่อ
8.EPR (พร้อมตัวควบคุมแรงดันในอีวาปอเรเตอร์)
9.เครื่องมือทดสอบรั่ว

การเติมสารทำความเย็น

เริ่มจากการทำสุญญากาศ

การทำสุญญากาศก็เพื่อเป็นการไล่ความชื้นออกจากระบบแอร์ และยังเป็นการตรวจเช็คการรั่วของระบบตามข้อต่อต่างๆ ที่ขัน



1.แมนิโฟลด์เกจ
2.ปั๊มสุญญากาศ


1. การทำสุญญากาศ
(1) ติดตั้งแมนิโฟลด์เกจ

ข้อแนะนำ:
ต่อท่อสีเขียวตรงขั้วกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ และต่อปลายท่ออีกด้านเข้ากับปั๊มสุญญากาศ

(2) เปิดวาล์วทางด้านความดันสูงและความดันต่ำของชุดแมนิโฟลด์เกจ และทำการเปิดเครื่องทำสุญญากาศ


1. ไล่ฟองอากาศออก.
2. ปั๊มสุญญากาศ
3. เปิด

(3) ทำสุญญากาศกระทั่งแมนิโฟลด์เกจทางความดันต่ำจะแสดงค่า 750 mmHgหรือมากกว่า

(4) ขณะที่แรงดันทางด้านความดันต่ำเป็น 750 mmHgหรือมากกว่า จงทำสุญญากาศต่อไปอีก 10 นาที

(5) หมุนปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและแรงดันสูงของชุดแมนิโฟลด์เกจให้สนิทแล้วจึงปิดปั๊มสุญญากาศ


1.ปิด


ข้อควรระวัง:
ถ้าปิดปั๊มสุญญากาศวาล์วขณะวาล์วทั้งสองด้านไม่เปิด (ด้านแรงดันสูงและด้านแรงดันต่ำ) จะมีอากาศเข้ามาในระบบปรับอากาศ

ตรวจสอบการรั่วของอากาศ
ปิดวาล์วทั้งด้านความดันต่ำและความดันสูง แล้วปิดเครื่องทำสุญญากาศทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีหรือมากกว่า แล้วให้ตรวจเช็คความเปลี่ยนแปลงของเกจวัด

ข้อแนะนำ:
เมื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่าเข็มเกจวัดมีแรงดันสูงขึ้น แสดงว่ามีอากาศเข้ามาในระบบ ดังนั้นต้องทำการตรวจเช็คโอริงและข้อต่อต่างๆ ของระบบปรับอากาศ

ข้อควรระวัง:
ในการทำสุญญากาศหรือไล่อากาศไม่หมด จะเกิดความชื้นภายในท่อของระบบปรับอากาศ และเกิดการจับตัวแข็งภายในท่อ และทำให้สารทำความเย็นเกิดการไหลไม่สะดวก เป็นผลทำให้ภายในของระบบปรับอากาศเกิดความเสียหาย

เริ่มเติมสารทำความเย็น

1.ถังน้ำยาแอร์หรือถังสารทำความเย็น
เนื่องจากสารทำความเย็นจะบรรจุไว้โดยการอัดด้วยแรงดันสูง ดังนั้นการเติมจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

ข้อควรระวังในการเติมสารทำความเย็น


คำเตือน:
• อย่าให้สารทำความเย็นกระเด็นเข้าหน้า และเข้าตาหรือโดนผิวหนังในขณะที่ถอดหรือประกอบสารทำความเย็นจึงควรสวมแว่นตาป้องกันเสมอ
• อย่าชี้ด้านท้ายของภาชนะสารทำความเย็นไปทางผู้คน เพราะมันมีโครงสร้างที่สามารถปล่อยแก๊สออกมาในกรณีฉุกเฉินได้
• ห้ามนำกระป๋องสารทำความเย็นไปเผา หรือต้มในน้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้มันระเบิด

เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันสูง
(1) ขณะเครื่องยนต์ไม่ทำงาน เปิดวาล์วด้านแรงดันสูงและเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบกระทั่งเกจทางด้านแรงดันต่ำแสดงค่า 0.98 MPa
(1 kg/cm2, 14psi)
(2) หลังจากเติมสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง

ข้อควรระวัง:
• ห้ามคอมเพรสเซอร์ทำงานขณะเติมสารทำความเย็น ขณะคอมเพรสเซอร์ทำงานเมื่อไม่มีการเติมสารทำความเย็นเข้าทางด้านแรงดันต่ำ มีผลทำให้ภายในของคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศร้อน
• ห้ามเปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำ โดยปกติแล้วสารทำความเย็นซึ่งอยู่ภายในคอมเพรสเซอร์จะมีสถานะเป็นก๊าซ อย่างไรก็ตาม เมื่อวาล์วทางด้านแรงดันต่ำเปิดขณะมีการเติมสารทำความเย็นในท่อด้านแรงดันสูง ทำให้สารทำความเย็นจะมีสภาพเป็นของเหลว และคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศจะเกิดความเสียหายได้ เมื่อคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศเริ่มทำงาน




เติมสารทำความเย็นด้านแรงดันต่ำ
(1) ให้ทำการปิดวาล์วทางด้านแรงดันสูง และทำการติดเครื่องยนต์พร้อมกับเปิดสวิตช์เครื่องปรับอากาศ
(2) เปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำของแมนิโฟลด์เกจเพื่อเติมสารทำความเย็น

สภาวะขณะเติมสารทำความเย็น
• เครื่องยนต์ทำงานที่ 1500 รอบต่อนาที
• เปิดสวิตช์พัดลมในตำแหน่งสูงสุด "HI"
• เปิดสวิตช์ A/C
• ปรับอุณหภูมิในตำแหน่งเย็นสุด "MAX COOL"
• เปิดประตูรถออกทุกบาน
ข้อแนะนำ:
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติม
530 ± 30g (18.69 ± 1.06 ออนซ์.)
ปริมาณสารทำความเย็นที่เติมในแต่ละรุ่นอาจไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ดังนั้นให้อ้างอิงจากคู่มือซ่อม



1. ปิด
2.ถังเก็บสารทำความเย็น
3.สวิตช์ A/C
4.ปุ่มควบคุมความแรงพัดลม
5.ตัวปรับอุณหภูมิ

ข้อควรระวัง:
• ถ้าคว่ำถังบรรจุสารทำความเย็นจะเป็นการเติมในสถานะที่เป็นของเหลวเข้าไปในคอมเพรสเซอร์สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ ดังนั้นจึงควรเติมสารทำความเย็นในสถานะเป็นแก๊สเท่านั้น
• ระมัดระวังอย่าเติมสารทำความเย็นมากเกินไป เพราะจะเป็นสาเหตุให้การทำความเย็นไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันและเครื่องยนต์ร้อนจัด
• เมื่อทำการเปลี่ยนสารทำความเย็น ให้ปิดวาล์วทั้งทางด้านความดันต่ำและความดันสูง และถอดเอาวาล์วหัวถังออกจากถังบรรจุสารทำความเย็น และท่อตรงกลางของชุดแมนิโฟลด์เกจ (ท่อสีเขียว)

คำเตือน:
ห้ามไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานในขณะที่เปิดวาล์วด้านแรงดันสูง ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ถังบรรจุสารทำความเย็นเกิดการระเบิดอาจเป็นอันตรายได้


ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นจากค่าแรงดันที่แสดงบนชุดแมนิโฟลด์เกจ

ค่าแรงดันที่กำหนด:
• ด้านแรงดันต่ำ
0.15-0.25 MPa
(1.5-2.5 กก/ซม², 21-36 ปอนด์/นิ้ว ²)
• ด้านแรงดันสูง
1.37-1.57 MPa
(14-16 กก/ซม², 199-228 ปอนด์/นิ้ว²)

ข้อแนะนำ:
ค่าแรงดันที่แสดงที่เกจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศภายนอก


(4) ปิดวาล์วทางด้านแรงดันต่ำและดับเครื่องยนต์

(5) ถอดสายทำความเย็นออกจากรถยนต์และจากถังบรรจุสารทำความเย็น

ข้อแนะนำ:
• ค่าแรงดันที่เกจแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอก
• ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูง การเติมสารทำความเย็นก็จะทำได้ยาก จะต้องเอาน้ำราดที่คอนเดนเซอร์เพื่อที่จะลดอุณหภูมิให้ต่ำลง
• ให้ทำการแช่กระป๋องสารทำความเย็นในน้ำอุ่น (ต่ำกว่า 40°C) เมื่ออุณหภูมิภายนอกต่ำ เพื่อทำให้สามารถเติมสารทำความเย็นได้ง่าย

Color code

Aztec Green Pearl Clearcoat BG-29P 1993-1994
Camellia Red Pearl Clearcoat R-86P 1993-1995
Captiva Blue Pearl Clearcoat B-62P 1992-1994
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1992-1993
Champion White Clearcoat NH-0 1992-1995
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1992-1993
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1992
Fiesta Green Pearl Clearcoat GY-15P 1992-1994
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1992
Frost White NH-538 1992-1995
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1992-1993
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1992-1995
Harvard Blue Pearl Clearcoat B-63P 1992-1995
Horizon Gray Metallic Clearcoat RP-21M 1992-1995
Lausanne Green Pearl Clearcoat G-71P 1992-1995
Malachite Green Pearl Clearcoat BG-31P ? 1995 ?
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1992-1995
Opal Green Metallic Clearcoat G-73M 1992-1993
Pardadise Blue Green Pearl Clearcoat BG-33P 1995
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1992-1992
Phantom Gray Pearl Clearcoat NH-561P 1992-1995
Rosewood Brown Metallic Clearcoat YR-503M 1992-1993
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1992
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1992
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1992-1995
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1992-1995
B-74P Adriatic Blue Pearl
B-90P Supersonic Blue Pearl
G-82P Cypress Green Pearl
NH-0 Championship White
NH-583M Vouge Silver Metallic
NH-538M New Vouge Silver Metallic
NH-592P Flamenco Black Pearl
Y-56 Phoenix Yellow...............................................เหลือง Type R
B-92P NIGHTHAWK BLACK PEARL
NH-592P (CAN) Starlight Black Pearl
NH-597M Citrus Silver Metallic
R-505p Cyan Red Pearl
R-81 Milano Red
B-97M Voltage Blue Metallic Clearcoat
G-95P Clover Green Pearl Clearcoat
BG-33P Paradise Blue-green Pearl
G-71P Isle Green Pearl
NH-503P Granada Black Pearl Pearl
YR-506M Desert Mist Metallic
RP-24P Stealth Grey Pearl
NH-538 Frost White................................................ขาว Jazz
R-72P Torino Red Pearl
R-93P Matador Red Pearl
NH-575M Thunder Gray Metallic
Y-52P Spa Yellow
NH-547 Berlina Black
G-70P Brooklands Green Pearl
NH-629M Dark Charcoal (Europe)
R-77 Formula Red
NH-565 Grand Prix White
G-96P Hockenheim Green Pearl (Japan)
NH-546M Kaiser Silver Metallic
PB-73P Midnight Pearl
B-501P Monaco Blue Pearl
B-66P Monte Carlo Blue Pearl
R-510 New Formula Red
NH-552M Sebring Silver Metallic
NH-630M Silverstone Metallic
Y-52P Spa Yellow Pearl (as noted above)
GY-19M Lime Green Metallic (Japan only, thank goodness)
R-508P Monza Red Pearl (Japan)
NH-609P Platinum White Pearl (Japan)
YR-514P Imola Orange Pearl
B-510P Long Beach Blue Pearl


HONDA CIVIC 4th GENERATION (1988-1991)
-------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Almond Cream YR-88 1988-1989
Asturias Gray Metallic Clearcoat NH-502M 1990 (1990 Canadian only)
Barbados Yellow Y-49 1988-1990
Blade Silver Metallic Clearcoat NH-95M 1988-1989
Blue Metallic Clearcoat B37M 1988-1989
Buckingham Blue Pearl Clearcoat B-59P 1991
Cappucino Brown Metallic Clearcoat YR-501M 1990-1991
Cardinal Red Metallic Clearcoat R-66M 1988-1989
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1990-1991 (1990 U.S. only)
Charcoal Granite Metallic Clearcoat NH-531M 1990-1991 (1990 U.S. only)
Chateau Red Metallic Clearcoat R-61M 1988
Chianti Red Metallic R-67M 1989-1990
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1991
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1991
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1988-1990
Florence Blue Metallic Clearcoat B-37M 1988-1989 (1990 Canadian only)
Frost White NH-538 1991
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1991
Gold Metallic Clearcoat YR-87M 1988-1989
Gothic Gray Metallic Clearcoat NH-92M 1988
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1991
Grayish Blue Metallic Clearcoat B-35M 1988
Laguna Gold Metallic YR-87M 1988-1990
Laurel Blue Metallic B-49M 1990 (1990 U.S. only)
Madison Blue Pearl Clearcoat B-45P 1991
Medium Blue Metallic Clearcoat B-49M 1989
Montreal Blue Metallic Clearcoat B-35 1988
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1990-1991
Phoenix Red R-51 1988-1991 (1990 U.S. only)
Polar White NH-512 1988-1991
Polar White Z NH-512Z 1990 (1990 Canadian only)
Rio Red R-63 1988-1991 (Si)
Saxony Blue Metallic Clearcoat B-56M 1991
Sirius White Pearl Clearcoat NH-515P 1990 (1990 Canadian only)
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1990-1991 (1990 U.S. only)
Stout Silver Metallic Clearcoat (Wheel) NH-75 1988-
Superior Blue Metallic B-47M 1988-1991 (1990 Canadian only)
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1991
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1990-1991
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1991
Wein Blue Pearl Clearcoat B-52P 1991

HONDA CIVIC 5th GENERATION (1992-1995)
--------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Aztec Green Pearl Clearcoat BG-29P 1993-1994
Camellia Red Pearl Clearcoat R-86P 1993-1995
Captiva Blue Pearl Clearcoat B-62P 1992-1994
Celestial Blue Pearl Clearcoat B-53P 1992-1993
Champion White Clearcoat NH-0 1992-1995
Cobalt Blue Pearl Clearcoat B-54P 1992-1993
Concord Blue Metallic Clearcoat B-58M 1992
Fiesta Green Pearl Clearcoat GY-15P 1992-1994
Flint Black Metallic Clearcoat NH-526M 1992
Frost White NH-538 1992-1995
Geneva Green Pearl Clearcoat G-62P 1992-1993
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1992-1995
Harvard Blue Pearl Clearcoat B-63P 1992-1995
Horizon Gray Metallic Clearcoat RP-21M 1994-1995
Lausanne Green Pearl Clearcoat G-71P 1994-1995
Malachite Green Pearl Clearcoat BG-31P -1995-?
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1992-1995
Opal Green Metallic Clearcoat G-73M 1992-1993
Pardadise Blue Green Pearl Clearcoat BG-33P 1995
Pewter Gray Metallic Clearcoat NH-537M 1992-1992
Phantom Gray Pearl Clearcoat NH-561P 1992-1995
Rosewood Brown Metallic Clearcoat YR-503M 1992-1993
Sonoma Red Pearl Clearcoat R-75P 1992
Tahitian Green Pearl Clearcoat BG-28P 1992
Torino Red Pearl Clearcoat R-72P 1992-1995
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1992-1995

HONDA CIVIC 6th GENERATION (1996-2000)
-------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Adriatic Blue Pri Metallic Clearcoat B-74P 1997
Athlete Grey Metallic Clearcoat NH-611M 1997
Baikal Green Pearl Clearcoat G-86P -1998-?
Bordeaux Red Pearl Clearcoat R-78P 1997
Champagne Beige Metallic Clearcoat YR-523M 1999
Champion White Clearcoat NH-0 1996-2000
Clover Green Pearl Metallic Clearcoat G-95P 1999-2000
Cyclone (Gray) Blue Metallic Clearcoat B-73M 1996-1998
Cypress Green Pearl Clearcoat G-82P 1996-1998
Dark Amethyst Pearl Clearcoat PB-74P 1997-1999
Electron Blue Pearl Clearcoat B-95P 1999-2000
Eternal Blue Pearl Clearcoat B-96P 2000
Flamenco Black Pearl Metallic Clearcoat NH-592P 1998-2000
Frost White NH-538 1996-1997
Granada Black Metallic Clearcoat NH-503P 1996-1997
Iced Teal Pearl Clearcoat BG-41P 1999-2000
Island Coral Pearl Clearcoat R-95P 1996
Inza Red Pearl Clearcoat R-96P 1997-1999
Lightning Silver Metallic NH-617M 1996-1998
Midori Green Pearl Clearcoat GY-16P 1996
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 1996-2000
Orange Pri Metallic Clearcoat YR-513M 1997
Phoenix Yellow Y-56 2000
Rallye Red R-513 1997-2000
Roma Red Clearcoat R-97 1996-2000
Royal Grape Pearl Clearcoat ---- 1998 (Vi-RS)
Sequia Green Pri Metallic G-89P 2000
Super Sonic Blue Pearl Clearcoat B-90P 1999
Taffeta White NH-578 1998-2000
Titanium Metallic Clearcoat YR-525M 2000
Vintage Plum Pearl Clearcoat RP-32P 2000
Vogue Silver Metallic Clearcoat NH-583M 1996-2000

HONDA CIVIC 7th GENERATION (2001-2004)
----------------------------------------------------------------------
DESCRIPTION CODE YEARS
Clover Green Pearl Metallic Clearcoat G-95P 2001-2002
Eternal Blue Pearl Clearcoat B-96P 2001-2004
Euro Yellow Pearl Metallic Clearcoat Y-62P 2002
Fiji Blue Pearl B-529P 2004
Firepepper Red Pearl Clearcoat R-507P 2002
Fluorite Silver Metallic ----- 2004 (Hybrid)
Galapagos Green Metallic Clearcoat G-511M 2003-2004
Inca Pearl Clearcoat Y-61P 2001-2002
Magnesium Metallic NH-675M 2004
Milano Red Tricoat/Clearcoat R-81 2003
Naples Gold Metallic Clearcoat YR-524M 2002
Nighthawk Black Pearl Clearcoat B-92P 2001-2004
Noble Green Pearl Clearcoat G-508P 2002
Opal Silver Blue Metallic Clearcoat BG-51M 2002-2004
Radiant Ruby Pearl ----- 2002-2004
Rallye Red R-513 2001-2004
San Marino Red Clearcoat R-94 2002
Satin Silver Metallic Clearcoat NH-623M 2001-2004
Shoreline Mist Metallic YR-528M 2003-2004
Taffeta White NH-578 2001-2004
Titanium Metallic Clearcoat YR-525M 2001-2003
Vivid Blue Pearl Clearcoat B-520P 2003-2004
Vintage Plum Pearl Clearcoat RP-32P 2000-2002

มาตรวจเช็คสภาพหัวเทียน ด้วยตนเองกันดีกว่า


เอาใจคอคนรักเครื่องยนต์เบนซินกันหน่อย ซึ่งเรื่องที่จะนำเสนอสำหรับฉบับเปิดหัวปีนี้ ขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของ "การบำรุงรักษา การตรวจเช็ค และการถอดเปลี่ยนหัวเทียนด้วยตัวท่านเอง"


หัวเทียน หรือชื่อภาษาอังกฤษที่หลายท่านรู้จักคุ้นตาจากข้างกล่องบรรจุในนาม SPARK PLUG มันคือชิ้นส่วนสำคัญของระบบจุดระเบิดสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน โดยการทำงานของเจ้าหัวเทียนนี้ จะทำการรับกระแสไฟแรงเคลื่อนสูงระดับแสนโวลต์ที่รับการแปลงเพิ่มแรงเคลื่อนจาก ชุดคอนเดนเซอร์ (CDI) จ่ายต่อมายัง ชุดจานจ่าย เพื่อทำการจัดส่งกระแสไฟให้ถูกต้องตามลำดับขั้น การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ (FIREDING ORDER) ส่งผ่านกระแสไฟมาตามสายหัวเทียนผ่านสู่ ขั้วหัวเทียน ส่งตรงลงตามแกนหัวเทียนจนสุดปลาย จากนั้นกระแสไฟแรงเคลื่อนสูงนี้จะกระโดดข้ามส่ง ประกายไฟ SPARK ลงที่ เขี้ยวหัวเทียน (เขี้ยวดิน) เป็นอันว่าการเดินทางของกระแสไฟสามารถไหลลงสู่ GROUND ได้ครบวงจร ซึ่งเจ้าประกายไฟไฟที่สปาร์คกระแสไฟกระโดดข้ามจากแกนหัวเทียนสู่เขี้ยวดินนี่หล่ะคือ ตัวการทำหน้าที่จุดระเบิดส่วนผสมของน้ำมันและอากาศ (ไอดี) ให้เกิดการสันดาปภายในเครื่องยนต์


หัวเทียน นั้นมีอายุการใช้งานเช่นกัน โดยทั่วไปควรทำการเปลี่ยนหัวเทียนชุดใหม่เมื่ออายุการใช้งานครบ 100,000 กิโลเมตร ทั้งนี้เพื่อตัดกังวลเรื่องการเสื่อมคุณภาพของหัวเทียนขณะขับขี่ (หัวเทียนบอด) และในระหว่างการใช้งานตามระยะ 100,000 กิโลเมตร ท่านผู้ใช้รถควรทำการตรวจสอบเช็คสภาพหัวเทียนให้มีความสมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการตรวจสภาพหัวเทียน สามารถบอกลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ได้ ตั้งแต่การบ่งชี้ว่าอัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงสัมพันธ์กันเพียงไร อัตราส่วนผสมหนาหรืออัตราส่วนผสมบางหรือไม่ รวมถึงหัวเทียนยังสามารถบอกได้ถึงลักษณะการปรับองศาไฟจุดระเบิดว่า เครื่องยนต์นั้นๆ ปรับตั้งค่าองศาไฟจุดระเบิดอยู่ในตำแหน่งก่อนถึงศูนย์ตายบน (ไฟแก่) หรือหัวเทียนจุดระเบิดส่วนผสมไอดีหลังจากลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบน (ไฟอ่อน) ซึ่งสีของหัวเทียนสามารถบอกลักษณะต่างๆ ได้อย่างดี จุดนี้ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการวินิจฉัยการทำงานของเครื่องยนต์ เพื่อทำการปรับแก้ไขระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

เพื่อกันการสับสนก่อนการถอดหัวเทียนออกมาตรวจเช็ค สิ่งที่ควรกระทำมีดังนี้ -


ก่อนทำการถอดหัวเทียนทุกครั้ง เพื่อป้องกันความสับสนของการใส่สายหัวเทียนสลับสูบ วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรทำสัญลักษณ์บอกตำแหน่งที่สายหัวเทียนแต่ละสูบ ซึ่งท่านผู้อ่านอาจเลือกใช้การมาร์คด้วยกระดาษกาวพันที่สาย แล้วเขียนหมายเลข กำกับก็สามารถช่วยจดจำไม่สับสน -


เมื่อทำการถอดหัวเทียนออกจากเบ้า ควรทำการมาร์คระบุหัวเทียนแต่ละหัวให้ชัดเจนว่าเป็นของสูบใด ทั้งนี้เนื่องจาก การทำงานของเครื่องยนต์ในแต่ละสูบจะมีลักษณะการสึกหรอที่แตกต่างกัน ซึ่งในบางครั้งเมื่อเราทำการถอดหัวเทียน ออกจนหมดแล้วสังเกตที่สีหัวเทียน ในบางรายอาจพบว่าสีของหัวเทียนของแต่ละสูบนั้นแตกต่างกัน การสังเกตสีของหัวเทียน และลักษณะหัวเทียน เพื่อทำการวินิจฉัยก่อนการปรับแต่งที่เหมาะสมทำได้ดังนี้ - ถ้าหัวเทียนมีสภาพแห้ง คราบที่เกาะบริเวณเขี้ยวหัวเทียนมีสีน้ำตาลอ่อนๆ สภาพเช่นนี้ เป็นลักษณะของการเผาไหม้ ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์แบบ การทำงานของระบบต่างๆ ในเครื่องยนต์อยู่ในสภาพปกติ -

ถ้าหัวเทียนมีสภาพดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้บอกให้เราได้ทราบว่า ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราส่วนผสมที่มากกว่าอากาศ (ส่วนผสมหนา) ซึ่งคราบที่พบคือ ส่วนที่เหลือตกค้างของละอองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาก เกินกว่าความต้องการของเครื่องยนต์ การแก้ไขเบื้องต้นคือ ทำการปรับซ่อมของระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ใหม่

หัวเทียนมีสภาพชุ่มน้ำมันเครื่อง ลักษณะเช่นนี้คือ อาการที่บ่งบอกว่าเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอ และมีการเล็ดลอดของน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ สาเหตุอาจเกิดจากลูกสูบและแหวนลูกสูบเกิดการสึกหรอ กระบอกสูบ อาจมีรอยขูดขีดที่ลึกเป็นร่องบริเวณผนังกระบอกสูบ หรืออาจเกิดการเสื่อมสภาพของซีลไกด์วาล์วบนฝาสูบ อาการเช่นนี้ ควรนำรถส่งให้ช่างทำการตรวจสอบและซ่อมบำรุง


หัวเทียนมีลักษณะกร่อน และไหม้ เมื่อพบหัวเทียนลักษณะเช่นนี้แสดงว่าการทำงานของเครื่องยนต์อยู่ใน อุณหภูมิที่สูงเกินไป สาเหตุอาจเนื่องมาจากการเลือกใช้เบอร์ของหัวเทียนไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน การระบายความ ร้อนสะสมที่เกิดขึ้นกับส่วนปลายของหัวเทียนไม่สามารถคายความร้อนออกสู่ภายนอกได้อย่างรวดเร็ว หรืออาจเกิดจาก การชิงจุดระเบิด (PRE-IGNITION) เนื่องจากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิร้อนจัด จนส่วนปลายของเขี้ยวระอุจนเป็น สีแดงเกือบหลอมละลายนั่นเอง

หากพบคราบเขม่าสีขาวหรือสีเหลืองจับอยู่ ลักษณะเช่นนี้บ่งชี้ให้ทราบว่าองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ เกิดขึ้นภายหลังลูกสูบเลื่อนพ้นศูนย์ตายบน หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า ไฟอ่อน การแก้ไขที่ควรทำคือ ปรับตั้งตำแหน่งองศาการ จ่ายไฟของระบบจุดระเบิดใหม่ให้มีองศาไฟที่แก่ขึ้น นอกจากนี้หลังการปรับองศาการจุดระเบิดใหม่ ควรทำการเปลี่ยนหัวเทียน ใหม่ให้มีขนาดเบอร์ที่ร้อนขึ้น

หลังจากที่เราทำการตรวจวิเคราะห์ และปรับแก้ไขระบบต่างๆ ให้เหมาะสม ก่อนทำการประกอบหัวเทียนกลับเข้าสู่เครื่องยนต์ ควรล้างทำความสะอาดหัวเทียนให้เรียบร้อยด้วยน้ำมันเบนซิน ควบคู่ไปกับการใช้แปรงทาสีขนาดเล็ก แปรงลวดทองเหลือง เบอร์ละเอียดแบบด้ามจับ และกระดาษทรายเบอร์ละเอียดทำความสะอาดคราบต่างๆ ที่เกาะอยู่รอบหัวเทียนให้มีสภาพพร้อมใช้

อีกสิ่งที่ควรทำคือ วัดค่าระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนทุกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพของการเกิดประกายไฟจุดระเบิดที่ เต็มเปี่ยม โดยค่าระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนมาตรฐานจะประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร (0.024-0.031 นิ้ว) ซึ่งการตั้งค่าระยะห่างที่แม่นยำถูกต้องควรใช้ฟิลเลอร์เกจชนิดลวดกลม (ROUND WIRE GAGE)

ไม่ยากเลยใช่มั๊ยครับกับการดูแลรักษาหัวเทียนด้วยตัวคุณเอง นอกเหนือจากเป็นการใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดให้คุ้มค่า พาเพลิดเพลินไปกับการรักษารถที่คุณรักด้วยเองแล้ว คุณผู้อ่านยังสามารถทราบถึงอาการผิดปกติที่กำลังเกิดกับเครื่องยนต์ เพื่อทำการปรับแก้แต่เนิ่นๆ อย่างถูกต้อง ซึ่งการได้ขลุกอยู่กับรถเช่นนี้ ยังช่วยป้องกันเงินในกระเป๋ากระเด็นออกเกินความจำเป็น เพราะจะได้ไม่ถูกกลุ่ม ช่างไร้จรรยาบรรณบางรายหลอกอีกด้วย

เห็นประโยชน์ขนาดนี้แล้ว วันหยุดที่จะถึงนี้ ลองเปิดฝากระโปรงหน้ารถตรวจเช็ครถด้วยตัวคุณเองดูก็ดีนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารออฟโรด
ฉบับที่ 141
ประจำเดือน มกราคม 2550